การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคืออะไร?

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็น 1 ใน 5 วิธีการหลักในการสร้างวินัยให้กับเด็ก ซึ่งมีที่มาจากทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำของ คุณบี เอฟ สกินเนอร์ แม้ว่าเดิมทีทฤษฎีดังกล่าวจะใช้ได้ผลกับหนูทดลอง แต่วิธีนี้ก็สามารถใช้ในคนได้เช่นกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดปัญหาพฤติกรรมได้หลายหลาย โดยมักจะค่อยๆ ปรับพฤติกรรมให้เข้าร่องเข้ารอยไปทีละขั้นๆ และจะใช้ได้ดีเป็นพิเศษกับการสร้างวินัยให้กับเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น ออทิซึม หรือโรคดื้อ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ 4 อย่าง ได้แก่

  • การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)
  • การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)
  • การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
  • การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)

การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)

การลงโทษทางบวกใช้หยุดพฤติกรรมที่ไม่ดี แม้ว่าชื่ออาจฟังดูงงๆจากการสื่อถึงการลงโทษไปในทางที่เป็นบวก แต่บวกในทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำจะหมายถึงการเพิ่ม ดังนั้นการลงโทษทางบวกจึงเป็นการเพิ่มผลของการกระทำที่จะยับยั้งเด็กจากการทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมของการลงโทษทางบวก คือการตีก้น มีการทดลองมากมายพบว่าการตีก้นสามารถส่งผลร้ายกับตัวเด็กและจะยิ่งทำให้เพิ่มปัญหาพฤติกรรมมากขึ้น แต่ก็ยังมีทางเลือกอื่นอีกมากมายที่สามารถแทนการตีก้นที่ไม่ต้องใช้การสร้างวินัยทางกายภาพ

ตัวอย่างเฉพาะสำหรับการลงโทษทางบวก มีดังนี้

  • ผู้ปกครองคนหนึ่งจะให้เด็กทำงานบ้านเพิ่มเติมหากจับได้ว่าเด็กคนนั้นโกหกว่าเขาทำความสะอาดห้องนอนตัวเองแล้ว
  • เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งมักจะได้รับผลการกระทำของตัวเองอยู่แล้วจากการที่ผู้ปกครองปล่อยให้เขาไปโรงเรียนโดยไม่มีการบ้านไปด้วย สรุปแล้วเขาก็จะไม่ได้คะแนนนั่นเอง
  • เมื่อเด็กคนหนึ่งกล่าวคำหยาบแล้วผู้ปกครองบอกให้เขาคัดประโยคว่าเขาจะไม่พูดคำหยาบอีก เป็นจำนวน 100 จบ

การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)

การลงโทษทางลบเป็นการยึดสิ่งบางอย่างไปจากตัวเด็ก เช่น ยึดสิทธิพิเศษหรือไม่ให้ความสนใจในทางบวก วิธีเหล่านี้สามารถช่วยเด็กให้เรียนรู้จากความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเฉพาะสำหรับการลงโทษทางลบ มีดังนี้

  • เด็กคนหนึ่งถูกลงโทษให้เข้ามุมจากการพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยเขาจะถูกแยกตัวจากสิ่งแวดล้อมที่เขาชอบ
  • ผู้ปกครองคนหนึ่งตั้งใจไม่ให้ความสนใจเด็ก เมื่อเด็กร้องอาละวาด
  • เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งถูกยึดมือถือเมื่อกลับบ้านช้ากว่ากำหนด 1 ชั่วโมง

การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)

การเสริมแรงทางบวก จะกล่าวถึงการให้บางอย่างกับเด็กเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีของเขา การสร้างวินัยโดยพึ่งการเสริมแรงทางบวกเป็นหลักมักเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างของการเสริมแรงทางบวก ได้แก่ การชม การให้รางวัล

ตัวอย่างเฉพาะสำหรับการเสริมแรงทางบวก มีดังนี้

  • หลังจากเด็กคนหนึ่งเอาจานไปเก็บในอ่างหลังทานข้าวเสร็จ แม่ของเขาพูดว่า "ดีมากลูก เก็บจานไปโดยไม่ต้องรอให้แม่บอกเลย!"
  • เด็กคนหนึ่งได้เวลาเล่นวีดิโอเกมมากขึ้นหลังจากทำการบ้านเสร็จโดยไม่อิดออด
  • เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งได้ A ในใบเกรด เป็นการให้กำลังใจสนับสนุนให้เขาตั้งใจเรียนต่อไป

การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)

การเสริมแรงทางลบ คือการที่เด็กถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะการกระทำดังกล่าวจะกำจัดสิ่งที่ไม่ดีบางอย่างออกไป เด็กที่หยุดทำพฤติกรรมนั้นๆเพราะโดนผู้ปกครองด่ากำลังพยายามกำจัดแรงเสริมทางลบ (การด่า) แต่วิธีการนี้ควรใช้แต่เท่าที่จำเป็นกับเด็ก เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าการเสริมแรงทางบวก

ตัวอย่างเฉพาะสำหรับการเสริมแรงทางลบ มีดังนี้

  • แม่คนหนึ่งบ่นจู้จี้กับลูกชายว่าให้เขาทำงานบ้านทุกคืน คืนหนึ่งเขาจึงตัดสินใจทำงานบ้านหลังกลับมาจากโรงเรียน เพื่อเลี่ยงที่จะฟังแม่บ่นอีก
  • เด็กคนหนึ่งมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนๆที่ป้ายรถบัสอยู่หลายครั้ง ดังนั้นแม่ของเขาจึงตัดสินใจไปรอที่ป้ายรถบัสกับเขาทุกวัน เขาจึงเริ่มปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น เพื่อให้แม่ไม่ไปรอรถบัสด้วยพร้อมเขา
  • เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งบ่นไม่อยากไปโรงเรียนตลอดทั้งทางขณะนั่งรถไปโรงเรียน พ่อของเขาจึงเปิดวิทยุเสียงดังมากๆ เพื่อกลบเสียงบ่น วันต่อมาเขาเลิกบ่นเพื่อไม่ให้พ่อเขาเปิดเสียงวิทยุอีก

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป