กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

กระวาน

สรรพคุณของกระวานมีอะไรบ้าง? มีวิธีใช้ที่ถูกต้องอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กระวาน

คนไทยเรานอกจากใช้กระวานเป็นเครื่องยารักษาโรคแล้ว ยังนำกระวานมาเป็นเครื่องเทศในการทำอาหารด้วยเพราะมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์และมีสรรพคุณมากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง กระวานจึงกลายมาเป็นที่รู้จักมาอย่างช้านาน 

รู้จักกระวาน

กระวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด หลักๆ ได้แก่ 

  1. กระวานไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Amomum krervanh Pierre ex Gagnep  ชื่อที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไป ได้แก่ กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ (ภาคกลาง) 

  2. กระวานเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ชื่อที่ใช้เรียกกัน ได้แก่ กระวานแท้ ลูกเอล (Ela) ลูกเอน ลูกเอ็น กระวานขาว กะวาน

ลักษณะของกระวาน

กระวานทั้ง 2 นี้ มีลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนคือ ลักษณะของผลแก่

  • กระวานไทย ลักษณะผลกลม ออกเป็นพวงราว 10-20 ผลต่อพวง เมื่อแห้งจะมีริ้วตามยาว ภายในแบ่งได้เป็น 3 พลู มีเมล็ดจำนวนมาก 
  • กระวานเทศ ลักษณะผลจะเป็นรูปวงรี รูปไข่ หัวท้ายแหลมเม็ดด้านในสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะเป็นสามเหลี่ยม และมีกลิ่นเฉพาะตัว เป็นต้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่

ช่วงเวลาที่เก็บยา : ตั้งแต่เริ่มปลูกจนมีอายุ 4 – 5 ปี จึงจะเริ่มเก็บผลได้ ผลแก่เก็บในช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนมีนาคม

กระวานไทย

รสและสรรพคุณยาไทย: รสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม เป็นยาขับลมและเสมหะ ส่วนมากมักใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุก เสียด แน่น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลมในไส้ ในอก แก้รำมะนาด แก้เบื่ออาหาร ขับเสมหะ ใช้ผสมกับยาถ่ายเพื่อลดอาการปวดท้องจากผลข้างเคียงนั่นเอง 

บัญชียาสมุนไพร : ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ผลกระวานไทยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ตำรับยา “ยาธาตุบรรจบ” ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ

วิธีใช้

  1. ผลกระวาน แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยเอาผลแก่จัดตากแห้งและบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนครึ่ง - 3 ช้อนชา (หนัก 1 - 2 กรัม) ชงกับน้ำอุ่น
  2. ผลกระวาน ยังใช้ผสมกับยาถ่าย เช่น มะขามแขก เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องได้

กระวานเทศ

สรรพคุณ : ตำรายาไทยใช้คล้ายกับกระวานไทย ผล บำรุงธาตุ กระจายโลหิต เสมหะ ขับลม ช่วยเจริญอาหาร และระบาย แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้อาการเกร็งของลำไส้
สำหรับในทางสุคนธบำบัด น้ำมันกระวานเทศ ช่วยกระตุ้นจิตใจในผู้ที่มีภาวะอ่อนล้า  กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แก้เกร็ง ช่วยเจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ท้องอืดเฟ้อได้

อันตรายของกระวาน

ยังไม่มีการศึกษาใดพบว่า การใช้กระวานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ แต่ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะน้ำมันหอมระเหยในกระวานก็มีสารบางชนิดที่หากสะสมในร่างกายมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัชรพงษ์ ทสะสังคินทร์, องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพ-ของเหง้าเร่วหอม และเมล็ดกระวาน (http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=285808), 2556
ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=10)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป