ความรู้เรื่องยาคุมกับการตั้งครรภ์

อยากตั้งครรภ์แล้วแต่กินยาคุมกำเนิดมานานต้องเตรียมตัวอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความรู้เรื่องยาคุมกับการตั้งครรภ์

สำหรับผู้ที่เคยกินยาคุมกำเนิดมานาน เมื่อถึงเวลาที่พร้อมที่จะตั้งครรภ์นั้น หลายคนอาจจะส่งสัยว่า หลังจากหยุดกินยาคุมแล้ว สามารถปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้เลยหรือไม่ แล้วกินยาคุมมานานจะมีผลอะไรกับการตั้งครรภ์ไหม หรือกินยาคุมมานานจะมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

ปล่อยให้ตั้งครรภ์หลังจากหยุดกินยาคุมกำเนิดได้หรือไม่?

หลังจากที่คุณหยุดกินยาคุมกำเนิดแล้วยังไม่แนะนำให้ปล่อยให้ตั้งครรภ์ทันที ควรจะปล่อยให้ผ่านไปสัก 3 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้ระหว่าง 3 เดือนนี้ก็ควรจะคุมกำเนิดด้วยวิธีการอื่นๆ แทนเช่น ใส่ถุงยางอนามัย ซึ่งในช่วง 1-2 เดือนแรก คุณอาจจะไม่มีประจำเดือนก็ไม่ต้องตกใจนะค่ะเพราะคุณไม่ได้ตั้งครรภ์หรอกค่ะ เพียงแต่หลังจากหยุดกินยาคุมกำเนิดแล้ว ประจำเดือนอาจจะมาล่าช้ากว่าเดิม เมื่อประจำเดือนเริ่มมาเป็นปกติ (ประจำเดือนเริ่มมาเป็นปกติ 3 เดือนขึ้นไป) ค่อยปล่อยให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติค่ะ ระหว่างนี้ก็คงต้องให้ว่าที่คุณพ่อมือใหม่คุมกำเนิดตัวเองไปก่อน จากการสำรวจพบว่าผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่งจะท้องได้หลังหยุดกินยาคุมกำเนิด 3 เดือนและผู้หญิงส่วนใหญ่จะท้องได้ภายใน 12 เดือนหลังหยุดกินยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กินยาคุมกำเนิดมานานๆ จะตั้งครรภ์ยากจริงไหม?

ถ้าเป็นการกินยาคุมกำเนิดสมัยก่อน หากกินนานๆ จะมีผลทำให้ผนังมดลูกบาง ทำให้การตั้งครรภ์ (การฝังตัวอ่อน) เป็นไปได้ยาก อันนี้จริงค่ะ แต่ถ้าเป็นยาคุมกำเนิดสมัยใหม่เดี๋ยวนี้ปัญหาแบบนี้ไม่เป็นแล้วค่ะ แต่หากคุณใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อย อันนี้มีผลต่อการตั้งครรภ์จริงค่ะ ดังนั้นหากคุณกินยาคุมกำเนิดแบบธรรมดา (21 หรือ 28 เม็ด) มานาน ก็ไม่ต้องกังวลไปนะค่ะว่าจะตั้งครรภ์ยาก

กินยาคุมกำเนิดมานานๆ จะมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

อันนี้เป็นอีกคำถามที่อยู่ในหัวของว่าที่คุณแม่มือใหม่ทุกคน และคงจะกังวลมากๆ เวลาที่จะเริ่มปล่อยให้ตั้งครรภ์ ความจริงแล้วการกินยาคุมกำเนิดนั้น หากเราหยุดกิน (หลังจากกินหมดแผงอย่างถูกต้อง) แล้วปล่อยระยะไว้ 3 เดือนขึ้นไป รอให้ประจำเดือนมาปรกติตามรอบเดือน แค่นี้ร่างกายของคุณก็พร้อมที่จะตั้งครรภ์แล้ว

ต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่อพร้อมจะตั้งครรภ์?

อย่างที่บอกไปค่ะ หลังจากหยุดกินยาคุมแล้ว เมื่อพร้อมจะตั้งครรภ์ ให้ปล่อยให้ประจำเดือนมาก่อนสัก 3 เดือน จากนั้นค่อยให้ตั้งครรภ์ ส่วนเรื่องการเตรียมตัวก็เหมือนคนทั่วๆ ไปค่ะ คือ การออกกำลังกายให้พอเหมาะ นอนหลับพักผ่อนให้มาก กินอาหารให้ครบ ดื่มน้ำให้มาก และอย่าเครียด ที่เหลือก็อาจจะใช้เครื่องมือเข้าช่วย เช่น ชุดทดสอบวันตกไข่ (ทดสอบจากน้ำปัสสาวะ) หรือถ้าไม่อยากกังวลหรือเครียดขนาดนั้น ก็บอกว่าที่คุณพ่อให้ส่งการบ้านบ่อยๆ ก็ได้นะค่ะ

สรุปแล้ว ความเชื่อที่ว่ากินยาคุมกำเนิดมานานๆ จะตั้งครรภ์ยากนั้น ไม่ถูกต้องทีเดียวค่ะ ถ้าคุณกินยาคุมกำเนิดแบบปกติ ก็แค่หยุดรอให้ประจำเดือนมา 3 เดือนขึ้นไปแล้วค่อยปล่อยตามธรรมชาติ ส่วนความเชื่อที่ว่ากินยาคุมกำเนิดมานานๆ แล้วทารกในครรภ์จะพิการ สมองไม่ดี ฯลฯ อันนี้ก็ไม่เป็นความจริง คุณแม่สามารถสบายใจได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Getting Pregnant After Stopping Birth Control (https://www.healthlinkbc.ca/he...), 21 November 2017.
Barnhart KT, Return to fertility following discontinuation of oral contraceptives. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), March 2009.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
IUI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง
IUI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

IUI คืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร ข้อดีข้อเสีย สถานที่ให้บริการรวมราคาด้วย

อ่านเพิ่ม