แพทย์เฉพาะทาง

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
แพทย์เฉพาะทาง

ทางที่อยากไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับการจะเป็นแพทย์เฉพาะทางนั้น หลังจากน้องเรียนจบทำงานใช้ทุนคืนให้ประเทศแล้ว 3 ปี หลังจากนั้นก็ไปศึกษาต่อแพทย์สาขาเฉพาะทางอีก 3-5 ปี ก็จะได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง หากดูเวลาอาจจะหลายปี แต่ทุกเส้นทางหากเดินได้สะดวกราบเรียบ ก็ไม่มีสีสันในชีวิต แต่การเรียนหมอ ช่างเป็นอะไรที่ท้าทาย ทั้งสมอง ร่างกาย จิตใจ เวลา ฯลฯ หลาย ๆ อย่าง กว่าจะมาถึงจุดที่มีเกียรติ ย่อมต้องเสี่ยงกับอะไรหลายอย่างเป็นธรรมดา สู้ ๆ เข้าไว้ เพื่ออนาคต หากท้อถอย จงย้อนกลับไปนึกถึงจุดแรกที่คิดสมัครเรียนว่าอยากมาถึงจุดนี้เพราะอะไร บ่นมาเสียตั้งนาน มาดูกันว่าสาขาเฉพาะทางมีอะไรบ้าง ผู้เขียนแนะนำมาคร่าว ๆ เพราะกว่าน้องจะมาถึงจุดนี้จริง ๆ อาจจะเปลี่ยนความคิดไปเสียหลายทาง

และ การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้าน ตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษามา

แพทย์ประจำบ้าน (อังกฤษ : Residency) 

เป็นลำดับชั้นหนึ่งของการศึกษาหลังปริญญาของแพทยศาสตรศึกษา แพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วและกำลังปฏิบัติงานด้านการแพทย์เฉพาะทางภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านต่าง ๆ การศึกษาในระดับแพทย์ประจำบ้านมักต้องผ่านการเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะหรือแพทย์ใช้ทุน (internship) มาก่อน หรืออาจผนวกระยะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นชั้นปีแรกของการศึกษาระดับแพทย์ประจำบ้านก็ได้ หลังจากการศึกษาระดับนี้แล้วผู้เรียนมักศึกษาต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellowship) เพื่อศึกษาการแพทย์เฉพาะทางย่อยต่อไป

แม้ว่าโรงเรียนแพทย์จะได้สอนแพทย์ให้รู้กว้างขวางเกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์ทั่วไป ทักษะทางคลินิกพื้นฐาน และประสบการณ์ทางการแพทย์ก็ตาม แต่การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านนี้จะฝึกใน

เชิงลึกเกี่ยวกับการแพทย์เฉพาะทาง อันได้แก่ วิสัญญีวิทยา อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นิติเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เป็นต้น หลักสูตรในประเทศไทยของแพทย์ประจำบ้านนั้นโดยทั่วไปมักมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี ตามแต่ละสถาบันและแต่ละสาขาวิชา หลังจากนั้นต้องเข้าสอบเพื่อรับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากราชวิทยาลัยต่าง ๆ ตามสาขาของแพทย์เฉพาะทางนั้น

สถาบันที่เปิดอบรมแพทย์ประจำบ้านในประเทศไทย

สถาบันที่เปิดอบรมแพทย์ประจำบ้านในประเทศไทยมีหลายแห่ง บางแห่งเปิดอบรมเฉพาะบางสาขาขึ้นอยู่กับขอบเขตงานบริการและศักยภาพของแต่ละสถาบัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลสิริกิติ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลเลิดสิน
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  • สถาบันพยาธิวิทยา
  • สถาบันประสาทวิทยา
  • สถาบันโรคผิวหนัง
  • สถาบันสมเด็จเจ้าพระยา
  • สถาบันยุวประสารทไวทโยปถัมภ์
  • สำนักระบาดวิทยา
  • สถาบันโรคทรวงอก
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์
  • โรงพยาบาลศรีธัญญา
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาลชลบุรี
  • โรงพยาบาลพระปกเกล้า
  • โรงพยาบาลพุทธชินราช
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • โรงพยาบาลลำปาง
  • โรงพยาบาลขอนแก่น
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • โรงพยาบาลราชบุรี
  • โรงพยาบาลสระบุรี
  • โรงพยาบาลอุดรธานี
  • โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

แพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย

 แพทยสภาดะบุสาขาของแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทยเอาไว้ดังต่อไปนี้

 กุมารเวชศาสตร์

กุมารเวชศาสตร์ (อังกฤษ : Pediatrics, Paediatrics) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทย์ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แค่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (Pediatrics) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แต่ได้การสอบได้วุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

  • กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ
  • กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ
  • กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา
  •  กุมารเวชศาสตร์โรคภูมแพ้และภูมิต้านทาน
  •  กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
  •  กุมารเวชศาสตร์โรคไต
  • กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
  •  กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ
  •  กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา
  • โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
  • กุมารเวชศาสตร์โรคเลือด

จักษุวิทยา

จักษุวิทยา (อังกฤษ: Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทย์สาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์

  • เลนส์สัมผัส (Contact Lens)
  • กระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา (Cornea and Refractive Surgery)
  • จักษุวิทยาการตรวจคลื่นไฟฟ้า (Electrophysiology)
  • จักษุวิทยาโรคต้อหิน (Glaucoma)
  • สายตาเลือนราง (Low Vision)
  • ประสาทจักษุวิทยา (Neuro-Ophthalmology)
  • จักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ (Ocular Immunology and Inflammation)
  • ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง (Ocouloplastic and Re-contactive Surgery)
  •  จักษุวิทยาเด็กและตาเข (Pediatric Ophthalmology and strabismus)
  •  จักษุวิทยาสาธารณสุข (Public Health Ophthalmology)
  • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา (Retina and vitreous)
  • จิตเวชศาสตร์
  • จิตเวชเด็กและวัยรุ่น

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์ (อังกฤษ: Forensic Medicine) มาจากคำว่า “Forensic” ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า ”Medicine” หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอบครั้งแรกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2456 โดยถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการแพทย์ วุฒิประกาศนียบัตรของโรงเรียนแพทย์สำหรับสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นปีที่ 4 ต่อมามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาของคณะแพทย์ศาสตร์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับการเรียนการสอนในชั้นปริญญาตรี

พยาธิวิทยา

 พยาธิวิทยา (อังกฤษ: Pathology) เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เซลล์, สารคัดคลั่ง, ปละจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical Pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย

 วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าในผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำพ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพทย์

  • พยาธิวิทยาทั่วไป
  • พยาธิวิทยากายวิภาค
  •  พยาธิวิทยาคลินิก          

รังสีวิทยา  (Radiology)

รังสีวิทยาเป็นสาขาทางแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพในส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยเรื่องมือ พิเศษต่างๆ ในทางการแพทย์โดยเฉพาะการใช้ รังสีเอกซ์ (x-ray) รังสีแกมมา (Gamma ray) จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging) เป็นต้น และ/หรือใช้ในการรักษาได้

แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในสาขานี้เรามักเรียกกันว่า รังสีแพทย์ โดยทั่วไปบุคคลใดที่ต้องการจะเป็นรังสีแพทย์ต้องเรียนจนได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต ตามกฎของแพทย์สภาเสียก่อนจึงจะสามารถมาขอสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชานี้ได้โดยใช้เวลาศึกษาต่ออีก 3 ปี ในกรณีที่เป็นแพทย์ประจำบ้านหรือที่เรามักเรียกกันว่า residency training และสามารถศึกษาต่อยอดเป็นอนุสาขาหรือที่เรียกว่า fellowship training ได้อีก 1-2 ปีแล้วแต่กรณี

รังสีวิทยาทั่วไปแบ่งได้เป็น

  • ภาพวินิจฉัยระบบประสาท
  • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
  • รังสีร่วมรักษาของลำตัว
  • ภาพวินิจฉัยชั้นสูง
  • รังสีวิทยาวินิจฉัย
  • ภาพวินิจฉัยชั้นสูง
  • รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 

วิสัญญีวิทยา

  • วิสัญญีวิทยา
  • วิสัญญีวิทยาเพื่อการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่และทรวงอก
  • วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท
  • การระงับปวด

เวชปฏิบัติทั่วไป

  • เวชปฏิบัติทั่วไป
  • เวชศาสตร์ครอบครัว
  • เวชศาสตร์ป้องกัน
  • สาธารณสุขศาสตร์
  • ระบาดวิทยา
  • เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก
  • เวชศาสตร์การบิน
  • อาชีวเวชศาสตร์
  • สุขภาพจิตชุมชน
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (อังกฤษ: surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่นโรค หรือการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือ

รูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgcn)

ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของรายวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

ศัลยศาสตร์แบ่งได้เป็น

  • ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
  • ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ
  • ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • ประสาทศัลยศาสตร์
  • ศัลยศาสตร์ตกแต่ง
  • ศัลยศาสตร์ทรวงอก
  • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
  • กุมารศัลยศาสตร์

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

สูติศาสตร์ (อังกฤษ:  Obstetrics) มาจากภาษาละติน  obstare การเตรียมพร้อม) เป็นศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการดูแลผู้หญิง

และทารกระหว่างการตั้งครรภ์, การคลอด, และระยะหลังคลอด ส่วนการผดุงครรภ์ (Midwifery) มันจะไม่อาศัยทักษะการศัลยศาสตร์ สูติแพทย์ส่วนมากมักจะเป็นแพทย์นรีเวชวิทยาด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา ( obstetrics and gynaecology)

 นรีเวชศาสตร์ หรือ นรีเวชวิทยา หรือ วิทยาเพศหญิง (อังกฤษ:  Gynaecology,  Gynecology)  หมายถึง ศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของระบบสัมพันธุ์เพศหญิง เช่น มดลูกช่องคลอดและรังไข่ แพทย์นรีศาสตร์วิทยาส่วนมากมักเป็นสูติแพทย์ด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (obstetrics and gynaecology)

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาแบ่งเป็น

  • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
  • มะเร็งนรีเวชวิทยา
  • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

โสด ศอ นาสิกวิทยา

  • โสด / ศอ / นาสิกวิทยา
  • ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า

ออร์โอปิดิกส์

  • ออร์โอปิดิกส์

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์ (อังกฤษ: Internal  medicine;  เรียกโดยย่อๆ ว่า Medicine) เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการป้องกันการวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต  และสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ได้ผ่านการสอบเพื่อประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆ ทางอายุรศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา 

อายุรศาสตร์แบ่งได้เป็น

  • อายุรศาสตร์โรคติดต่อ
  • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
  • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาคลินิก
  • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
  • อายุรศาสตร์โรคไต
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • เวชบำบัดวิกฤต
  • อายุรศาสตร์โรคเลือด
  • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • ประสาทวิทยา
  • ตจวิทยา
  • เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • อายุรศาสตร์โรคทรวงอก
  • เวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Types of Doctors: the Most Common Physician Specialties. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/types-of-doctors-1736311)
Different Types of Doctors & Medical Specialists Explained. WebMD. (https://www.webmd.com/health-insurance/insurance-doctor-types#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)