โรคร่าเริง เสี่ยงตายเร็ว! ถ้าคุณอดหลับอดนอน ชอบทำงานกลางคืน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคร่าเริง เสี่ยงตายเร็ว! ถ้าคุณอดหลับอดนอน ชอบทำงานกลางคืน

สังคมก้มหน้า หรือ ยุคที่คนติดโลกเสมือน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ต้องก้มหน้าลงไปเชคข่าว แชท หรืออ่านข้อความจากจอสมาร์ทโฟนอย่างเช่นทุกวันนี้ เป็นการกระตุ้นให้โรคร่าเริงแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว คนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีทั้งที่ยังเป็นนักเรียนและที่ทำงานแล้ว

โรคร่าเริง คือ โรคที่เกิดกับพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ที่ผิดธรรมชาติ เช่น ทำงานกลางคืน กลางวันง่วงนอน ส่งผลต่อการทำงานของระบบภายในร่างกาย อันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา ทำให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยน เพราะวงจรชีวิตที่ผิดไปจากปกติ พฤติกรรมเสี่ยงของคนที่เป็นโรคร่าเริงมีดังนี้...

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. นอนดึก

คนที่เป็นโรคร่าเริงมักจะนอนดึกหรืออาจจะนอนเช้าเลยทีเดียว เพราะสมองถูกกระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าที่ถูกส่งออกมาจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์ หรือจอแทปเล็ท ว่ากันว่าแสงสีฟ้าเหล่านี้จะกระตั้นให้ประสาทตื่นตัว ทางทีดีควรงดใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอนประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพล้วจะได้หลับสนิท

2. ตื่นสาย

นอนดึกก็ต้องตื่นสายอยู่แล้ว พอตื่นสายก็ต้องรีบเร่งไปโรงเรียนหรือไปทำงาน ถ้าวันไหนสายมากก็ต้องอดกินข้าวเช้า เป็นเหตุให้มีอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะแทรกซ้อนขึ้นมาได้ การนอนตื่นสายนอกจากจะทำให้ร่างกายไม่สดชื่นเท่าที่ควรแล้ว ยังเป็นเหตุให้เราต้องเผชิญหน้ากับความเครียด เนื่องจากการจราจรติดขัดมากกว่าปกติอีกด้วย ทีนี้เจอทั้งแดดทั้งมลภาวะ สิ่งที่อาจจะตามมาได้ก็คือสิวและริ้วรอยนั่นเอง

3. ง่วงในเวลากลางวัน

เมื่อนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในช่วงเวลากกลางคืน ก็จะมาง่วงนอนในตอนกลางวัน ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อคุณแน่ การนอนหลับในชั้นเรียนนอกจากจะเป็นการเสียมารยาท และไม่เคารพครูอาจารย์ของคุณแล้ว ยังทำให้เสียโอกาสที่จะเรียนรู้ภายในชั่วโมงเรียนที่คุณต้องจ่ายค่าเทอมแพงๆ มาเรียนอีกด้วย ส่วนใครทำงานแล้วยิ่งหนักไปกันใหญ่ เพราะถ้าหากเจ้านายของคุณรู้ว่าคุณแอบอู้ในเวลางาน อาจจะโดนหักเงินเดือน หรือที่หนักไปกว่านั้น เขาอาจจะเชิญคุณให้ไปหลับยาวที่บ้าน แล้วตื่นมาเตะฝุ่นทีหลังก็เป็นได้

4. มีสมาธิในช่วงกลางคืน

ถ้าคุณเป็นโรคร่าเริง แน่นอนว่าในช่วงกลางคืนคุณจะมีสมาธิดีกว่าปกติ จะอ่านหนังสือ ทำงานเอกสารต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพสูง ถึงแม้จะมีผลดีต่องาน แต่ว่าส่งผลเสียต่อสมองในระยะยาว เพราะในร่างกายของคนเรานั้นมีนาฬิกาชีวิตอยู่ หากใช้เวลาทำกิจกรรมแต่ละอย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้ร่างกายสึกหรอมากกว่าปกติ โดยทั่วไปเราควรนอนหลับในช่วง 22.00-6.00 น. ทั้งนี้ในเวลาดังกล่าว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกมาเพิ่มเผาพลาญอาหารและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าไม่นอนในเวลาดังกล่าว มีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคอ้วนแถมมาด้วยอีกหนึ่งอย่าง อีกทั้งร่างกายจะอ่อนเพลียกว่าปกติด้วย

ถ้าใครไม่อยากเป็นโรคร่าเริง แนะนำให้ปรับตารางเวลาการใช้ชีวิตใหม่อย่างสมดุล แต่ถ้านอนไม่หลับในช่วงเวลาดังกล่าวจริงๆ ก็ไม่ควรฝืนร่างกายโดยการรัยประทานยานอนหลับ แต่ควรออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็น แล้วอาบน้ำนอน วิธีการนี้จะทำให้ร่างกายนอนหลับได้สนิทมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การไม่เล่นคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิส์ที่ผลิตแสงสีฟ้าอาจช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นอีกเล็กน้อย และไม่ควรดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนหลังเวลา 15.00 น. ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดคาเฟอีนออกไปทางปัสสาวะให้หมดก่อน จึงจะนอนหลับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Less than 6 hours of sleep a night linked to increased risk of early death. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/lifestyle-and-exercise/less-6-hours-sleep-night-linked-increased-risk-early-death/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)