ยากลุ่ม MAOI คืออะไร?

ยาต้านเศร้าหรือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม MAOI กับผลข้างเคียงและคำเตือนการใช้ยา
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยากลุ่ม MAOI คืออะไร?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยากลุ่ม MAOI (Monoamine oxidase inhibitor) เป็นยาต้านเศร้า หรือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มแรก มีการใช้อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ในช่วงยุค ค.ศ. 1950 แต่ในปัจจุบันแพทย์มักสั่งจ่ายยาในกลุ่มนี้ก็ต่อเมื่อใช้ยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล เนื่องจากยาต้านซึมเศร้ากลุ่มใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นนั้นมักมีประสิทธิภาพดีกว่าและผลข้างเคียงน้อยกว่า

นอกจากจะใช้รักษาอาการซึมเศร้าแล้ว ยากลุ่มนี้ยังอาจใช้รักษาภาวะความผิดปกติดังต่อไปนี้ได้ด้วยเช่นกัน

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม MAOI

ยากลุ่ม MAOIS จะควบคุมสมดุลของสารเคมีบางชนิดในสมองโดยการยับยั้งเอนไซม์ที่ชื่อว่า Monoamine oxidase 

ตัวอย่างยาในกลุ่ม MAOI

  • ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid)
  • ฟีเนลซีน (Phenelzine)
  • เซเลจิลีน (Selegiline)
  • ทรานิลไซโปรมีน (Tranylcypromine)

ผลข้างเคียงของยากลุ่ม MAOI

ยากลุ่ม MAOI มีความเสี่ยงทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารหรือยาบางชนิด ตัวอย่างผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย

  • ปากแห้ง
  • คลื่นไส้
  • ท้องเสียหรือท้องผูก
  • ง่วงนอน
  • ปวดหัว
  • นอนไม่หลับหรือมีปัญหาด้านการนอนอื่นๆ
  • กระสับกระส่าย
  • มีผื่นที่ผิวหนัง
  • เวียนหัว
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • กล้ามเนื้อกระตุกโดยไม่ตั้งใจ หรือปวดกล้ามเนื้อ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • น้ำหนักเพิ่ม
  • ปัสสาวะลำบาก
  • รู้สึกแปล๊บๆ ที่ผิวหนัง

นอกจากนี้ยังมีคำเตือนว่ายากลุ่ม MAOI นั้นอาจทำให้เกิดความคิดอยากฆ่าตัวตายได้เช่นเดียวกับยาต้านเศร้ากลุ่มอื่นๆ โดยจากการศึกษาระยะสั้นพบว่า ยาต้านเศร้าจะเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กและผู้ใหญ่ตอนต้นที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเวชมีความคิดฆ่าตัวตายได้

การใช้ยากลุ่ม MAOI ร่วมกับยาตัวอื่น

การรับประทานยากลุ่ม MAOI ร่วมกับยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงได้ ก่อนเริ่มใช้ยานี้ ควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบถึงยาทุกชนิดที่กำลังรับประทานอยู่ ให้แพทย์และเภสัชกรได้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคอื่นๆ ที่แพทย์สั่งจ่าย ยาที่ซื้อรับประทานเอง วิตามิน อาหารเสริม ยาสมุนไพร หรือยาเสพติดที่ผิดกฎหมายก็ตาม

การใช้ยากลุ่ม MAOIs ร่วมกับการกินอาหารบางชนิด

อาหารและเครื่องดื่มบางชนิดทำปฏิกิริยารุนแรงกับยากลุ่ม MAOI และทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ โดยในระหว่างที่รับประทานยาในกลุ่ม MAOI แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไทรามีน (Tyramine) โดปามีน (Dopamine) และทริพโตเฟน (Tryptophan) ในระดับสูง เช่น

  • ชีสที่ผลิตมานานแล้ว
  • โยเกิร์ต
  • ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
  • ไส้กรอกที่ผ่านการหมัก
  • ตับวัวหรือตับไก่
  • ปลาแอนโชวี
  • ปลาคาเวียร์
  • ปลาแฮร์ริ่ง
  • ครีมกุ้ง
  • เบียร์สดและไวน์แดง
  • แอลกอฮอล์บางชนิด
  • ผลิตภัณฑ์จากการหมักถั่วเหลือง เช่น ซีอิ้วขาว มิโซะ หรือเต้าหู้
  • กะหล่ำปลีหมัก
  • ผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย ราสเบอร์รี่ ผลไม้แห้ง หรือผลไม้ที่สุกเกินไป
  • ช็อกโกแลต
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา หรือโค้ก

เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ควรงดเหล่านี้ก่อนเริ่มรับประทานยากลุ่ม MAOI

ยากลุ่ม MAOIs กับการตั้งครรภ์

เนื่องจากผลของการใช้ยา MAOIs ต่อทารกในครรภ์นั้นยังมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย แพทย์จึงมักแนะนำให้ใช้ยานี้ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และผลเสียของยานี้ให้แน่ใจก่อนใช้ทุกครั้ง รวมทั้งสอบถามเกี่ยวกับการใช้ยากลุ่ม MAOIs ร่วมกับยาอื่นๆ ที่ต้องรับประทานระหว่างกระบวนการคลอด เพราะยาอาจทำปฏิกิริยาต่อกันจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd, What are monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)? (https://www.webmd.com/bipolar-disorder/qa/what-are-monoamine-oxidase-inhibitors-maois), 7 December 2018.
Lynn Marks, What Is an MAOI? (https://www.everydayhealth.com/maoi/guide/), 16 October 2015.
Brian Krans, What Are MAO Inhibitors? (https://www.healthline.com/health/depression/what-are-mao-inhibitors), 5 September 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม