วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) เพื่อรักษาโรคมะเร็งสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างผมร่วงได้ (Hair loss) แต่อย่ากังวล เพราะหลังจากที่เสร็จสิ้นการรักษาแล้ว เส้นผมก็จะงอกขึ้นมาใหม่เหมือนเดิมภายในระยะเวลา 2-3 เดือน แต่ในระหว่างที่รักษาอยู่นั้น ก็ควรเตรียมอุปกรณ์คลุมศีรษะเอาไว้ใช้สำหรับป้องกันแสงแดด หรือเสริมสร้างความมั่นใจไม่ให้ผู้ป่วยเครียดจนเกินไปนัก  

คุณสามารถหาความช่วยเหลือได้จากประกันสุขภาพ (Health insurance) สำหรับจ่ายค่าวิกผม นอกจากนี้ยังสามารถประดิษฐ์อุปกรณ์คลุมศีรษะจากเสื้อผ้าแบบง่ายๆ เพื่อเอามาทำผ้าโพกหัวได้ด้วย โดยขอแนะนำให้เลือกผ้าที่มีความนิ่มและหยืดหยุ่นสูง เช่น ผ้าซาติน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความระคายเคือง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิกผมสำหรับผู้เข้ารับการเคมีบำบัด

การใส่วิกผมระหว่างการรักษามะเร็ง (Cancer treatment) เป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมที่ผู้เข้ารับการเคมีบำบัดเลือกใช้ เพื่ออำพรางศีรษะล้านจากการทำเคมีบำบัด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของการทำเคมีบำบัดนั่นเอง

วิกที่เหมาะกับผู้ป่วยนอกจากจะช่วยรักษาภาพลักษ์ทางกาย ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแปลกแยกไปจากคนรอบข้างแล้ว ก็ยังทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถซื้อวิกมาใส่ได้ เนื่องจากวิกผมที่มีคุณภาพมักมีราคาสูง แต่อย่ากังวล เพราะผู้ป่วยสามารถขอรับบริจาควิกผมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National cancer institute)

สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเส้นผม หรือเงินสำหรับทำวิกผมก็สามารถติดต่อไปที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เช่นกัน หรือโทร 02-2026800 ต่อ 1509

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบริจาคเส้นผม

  • ไม่ว่าจะผมตรง ผมหยิก ผมดัด หรือผมทำสี หากเป็นเส้นผมที่มีสภาพดีความยาวตั้งแต่ 10 นิ้วขึ้นไป สามารถบริจาคได้หมด
  • เส้นผมที่ไม่ควรบริจาค เช่น เส้นผมที่มีความยาวไม่ถึง 10 นิ้ว ผมแห้งเสียแตกปลายมากๆ ผมฟอก ผมมีเหา ผมทำเดทร็อค หรือผมต่อ เป็นต้น
  • ก่อนบริจาคเส้นผม ควรทำความสะอาดผมให้เรียบร้อย เป่าให้แห้งสนิท และต้องทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความชื้น
  • หากสระผม เป่าผม และตัดผมเพื่อบริจาคเลยทันที เส้นผมจะยังคงมีความชื้นอยู่ เมื่อนำมาเก็บไว้ก็จะทำให้เกิดเชื้อราจนไม่สามารถนำมาทำวิกให้กับผู้ป่วยได้
  • การทำวิกผมหนึ่งชิ้นมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500 บาทขึ้นไป นอกจากการบริจาคเส้นผมแล้ว ก็สามารถบริจาคค่าทำวิกผมได้เช่นกัน

how-to-get-free-headgear
รูปภาพ หมวกในแบบต่างๆ

หมวกจำเป็นสำหรับผู้เข้ารับการเคมีบำบัดอย่างไร

ในวันที่การใส่วิกผมนั้นร้อนเกินไป หรือไม่มีเวลานานในการจัดแต่งทรงผม การหันมาสวมหมวกก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะหมวกนั้นสามารถสร้างป้องกันแสงแดดได้ หรือป้องกันความเย็นในขณะที่นอนหลับ หรือป้องกันการกระแทกสิ่งของต่างๆ เป็นต้น

สาเหตุที่หมวกจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำเคมีบำบัด เพราะผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้แสงแดดจากการทำเคมีบำบัดได้ (Photosensitive from chemotherapy) โดยทรงที่แนะนำคือ หมวกปีกกว้าง เพราะสามารถป้องกันแสงแดดได้ดี

หมวกไหมพรมสำหรับผู้ที่ทำเคมีบำบัด

ถึงแม้ว่าหมวกไหมพรมจะปกป้องแสงแดดได้ไม่ดีเท่าหมวกปีกกว้าง แต่ก็มีข้อดีคือไม่หลุดง่าย ทำให้สามารถใส่ได้แม้จะอยู่ในสถานที่ที่มีลมแรงก็ตาม นอกจากนี้หมวกไหมพรมที่นิ่มและมีขนาดพอดีกับศีรษะก็ยังช่วยปกป้องผู้ที่ทำเคมีบำบัดจากความหนาวเย็น และทำให้นอนหลับสบายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

หมวกไหมพรมยังมีข้อดีคือ ราคาไม่แพง และสามารถประดิษฐ์ได้เองที่บ้าน โดยการไปซื้อไหมพรมมาถักในรูปแบบต่างๆ ตามความชื่นชอบ แต่ถ้าคุณไม่อยากถักไหมพรมก็สามารถหันไปใช้ผ้าพันคอแทนได้ โดยใช้ผ้าที่มีอยู่แล้วมาตัดเป็นผ้าพันคอ หรือผ้าโพกหัวก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่แพ้กัน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%

อ่านเพิ่ม
วิธีตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
วิธีตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สำรวจตัวเองอยู่เสมอว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่? ด้วยการคลำตรวจก้อนเนื้อด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม