เนื้องอกไขมันคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เนื้องอกไขมันคืออะไร?

เนื้องอกไขมันนั้นเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเนื้อเยื่อไขมันที่โตอย่างช้าๆ ใต้ผิวหนัง โรคนี้สามารถพบได้ในคนทุกวันแต่มักไม่พบในเด็ก และสามารถเกิดที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่มักจะพบที่

  • คอ
  • ไหล่
  • หลัง
  • ท้อง
  • แขน
  • ต้นขา

เนื้องอกกลุ่มนี้เป็นเนื้อดีซึ่งหมายความว่ามันไม่ใช่มะเร็งและมักไม่มีอันตราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการที่พบ

แม้ว่าเนื้องอกที่ผิวหนังนั้นมีหลายแบบแต่เนื้องอกไขมันนั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะ โดยมักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • นุ่มเวลาคลำ
  • เมื่อใช้นิ้วจิ้มที่ก้อน ก้อนสามารถเลื่อนไหด้
  • อยู่ใต้ผิวหนังตื้นๆ
  • มีสีซีด
  • ไม่มีสี
  • โตช้า

เนื้องอกชนิดนี้มักจะพบที่คอ หลังและไหล่ แต่สามารถพบได้ที่ท้อง ต้นขาและแขนเช่นกัน เนื้องอกชนิดนี้จะมีอาการเจ็บได้เฉพาะเวลาที่เนื้องอกนั้นเจริญเข้าไปในเส้นประสาทที่อยู่ใต้ผิวหนัง

คุณควรไปพบแพทย์หากสังเกตความผิดปกติที่ผิวหนัง เพราะเนื้องอกชนิดนี้นั้นสามารถมีรูปร่างและลักษณะที่เหมือนกับเนื้อร้ายที่เป็นเนื้องอกของเซลล์ไขมันเช่นเดียวกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ไม่มีใครทราบว่าเนื้องอกเหล่านี้เกิดจากอะไร ความเสี่ยงในการเกิดของคุณจะเพิ่มขึ้น หากคุณมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวที่มีเนื้องอกลักษณะเดียวกัน โรคนี้มักจะพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี

มีบางโรคที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกไขมันเช่นกัน เช่น Adiposis dolorosa (เป็นโรคที่พบได้น้อยซึ่งมีเนื้องอกไขมันหลายๆ ก้อนและเจ็บ)

  • Cowden syndrome
  • Gardner’s syndrome
  • Madelung’s disease

การวินิจฉัย

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยเนื้องอกชนิดนี้ได้จากการตรวจร่างกาย มันมักจะมีลักษณะนุ่มและไม่เจ็บ และเนื่องจากมันเกิดจากเนื้อเยื่อไขมัน ทำให้สามารถจับเลื่อนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางกรณีอาจจะมีการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่มะเร็ง เพราะถึงแม้ว่าเนื้องอกชนิดนี้จะไม่ใช่มะเร็งแต่มันก็มีลักษณะเหมือนกับเนื้องอกไขมันอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นมะเร็ง แต่มักจะทำให้เจ็บและมักจะโตใต้ผิวหนังอย่างรวดเร็ว

หากชิ้นเนื้อที่ตัดไปนั้นสงสัยว่าจะเป็นเนื้อร้าย อาจจะต้องมีการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติม

การรักษา

ส่วนมากเนื้องอกเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาใดๆ แต่หากคุณรู้สึกว่ามันรบกวนชีวิตคุณก็อาจจะให้การรักษาโดยพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างเช่น

  • ขนาดของก้อน
  • จำนวนของก้อน
  • ประวัติเกี่ยวกับการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
  • ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
  • ก้อนนี้ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือไม่

การผ่าตัด

วิธีการรักษาที่ใช้บ่อยที่สุดก็คือการผ่าตัดเอาก้อนออกซึ่งมักจะช่วยได้มากหากมีเนื้องอกขนาดใหญ่ที่ยังโตขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อผ่าตัดออกแล้วมันมักจะไม่กลับเป็นว้ำ

การดูดไขมัน

อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ก็คือการดูดไขมัน เนื่องจากเนื้องอกชนิดนี้นั้นเป็นเนื้องอกของเซลล์ไขมัน ดังนั้นการดูดไขมันจึงสามารถช่วยลดขนาดของก้อนได้ วิธีนี้เป็นการใช้เข็มต่อกับไซริงก์ขนาดใหญ่และมักจะใช้ยาชาก่อนที่จะเริ่มทำ

การฉีดสเตียรอยด์

การฉีดสเตียรอยด์ที่บริเวณที่เป็นเนื้องอกนั้นจะช่วยลดขนาดของก้อนได้แต่ไม่ได้เป็นการกำจัดก้อนออกทั้งหมด

ผลลัพธ์

เนื้องอกชนิดนี้นั้นเป็นเนื้อดี และไม่ทำให้มีการแพร่กระจายอย่างแน่นอน และไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต คุณไม่สามารถใช้วิธีอื่นๆ ในการลดขนาดเนื้องอกได้ การประคบเย็นและร้อนนั้นอาจจะช่วยได้ในกรณีที่เป็นเนื้องอกของผิวหนังชนิดอื่น แต่ไม่ช่วยในกรณีนี้เนื่องจากพวกมันเป็นเนื้องอกของเซลล์ผิวหนัง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาหากคุณต้องการกำจัดก้อนดังกล่าว


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lipoma: Causes, symptoms, diagnosis, and removal. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322551)
Lipoma (Fatty Tumor): Causes, Symptoms, Diagnosis, and Removal. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-is-a-lipoma)
Lipoma: Causes & Treatment - Everyday Health (https://www.everydayhealth.com/lipoma/guide/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)