แผลที่ขา (Leg Ulcers)

การเกิดแผลที่ขา มักเกิดจากปัญหาการไหลเวียนของเลือด ที่อาจเกิดจากโรคหรือภาวะบางชนิด ดังนั้นหากพบแผลที่ขามีขนาดใหญ่ มีหนองไหล และมีอาการปวด ก็ควรไปพบแพทย์ทันที
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แผลที่ขา (Leg Ulcers)

แผลที่ขา หมายถึง การเป็นแผลเปิดบริเวณขา หากไม่ได้รับการรักษาที่ดี ก็มีโอกาสที่จะทำให้แผลชนิดนี้กลับมาเป็นซ้ำ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในอนาคต แผลชนิดนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดจากปัญหาการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของแผลที่ขา

อาการของแผลที่ขาจะแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุ หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่ขาแล้วรักษาแผลไม่ดี ก็มักจะมีอาการปวดที่เกิดขึ้นจากความเสียหายของเส้นประสาทร่วมอยู่ด้วย

หากเกิดแผลที่ขาก แล้วมีอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีแผลเปิดที่ขา
  • มีหนองไหลออกมาจากแผล
  • มีอาการปวดที่บริเวณที่เป็นแผล
  • แผลมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม
  • ขาบวม และเส้นเลือดดำบวม
  • อาการปวดกินบริเวณกว้าง หรือรู้สึกหนักที่บริเวณขา

สาเหตุของแผลที่ขา

โอกาสของการเกิดแผลที่ขาจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และมักถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วนสาเหตุอื่นๆ ทำให้เกิดแผลที่ขา ได้แก่

การวินิจฉัยแผลที่ขา

แพทย์จะตรวจบาดแผลร่วมกับตรวจอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยแผลที่ขา และประเมินสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น โดยแพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • ซีทีสแกน (CT Scan) : เป็นการถ่ายภาพทางการแพทย์เพื่อให้ได้รายละเอียดของภาพแบบภาคตัดขวาง
  • เอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) : เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ สร้างภาพที่มีรายละเอียดของบริเวณที่มีอาการ
  • การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงอัลตราซาวด์ (Non-invasive Vascular Studies Using Ultrasound) : เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและการอุดตันที่เกิดขึ้นในเส้นเลือด
  • การเอกซเรย์ (X-rays)

การรักษาแผลที่ขา

การรักษาแผลที่ขา มักมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการปวด ป้องกันการติดเชื้อ และยับยั้งไม่ให้แผลมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยแพทย์จะรักษาตามอาการที่เป็น พร้อมกับรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่ขาขึ้น (หากสาเหตุเกิดจากภาวะทางการแพทย์)

หากแผลมีหนองไหล ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต และอาจมีการปิดแผลไม่ให้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือแพทย์อาจจ่ายยา Pentoxifylline เพื่อช่วยให้การไหลเวียนเลือดในขาดีขึ้น ในผู้ที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือดไม่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับคำแนะนำเรื่องการทำแผลที่บ้าน สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำสะอาดทุกวัน เปลี่ยนผ้าพันแผลและตกแต่งแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้บริเวณแผลแห้งสนิท เมื่ออยู่ในช่วงพักผ่อน ให้ยกขาสูงกว่าศีรษะเพื่อลดอาการบวม

ในผู้ที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้ใช้อุปกรณ์พยุงขาเพื่อช่วยให้เดินได้ง่ายขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดแผลใหม่ในอนาคต ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเดินไม่สะดวก

ที่มาของข้อมูล

Kristeen Moore, What Causes Leg Ulcers? (https://www.healthline.com/symptom/leg-ulcers), March 15, 2018.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Venous ulcers - self-care. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000744.htm)
Venous leg ulcer. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/leg-ulcer/)
Venous leg ulcers. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4714578/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)