CDC ทำการค้นหาการระบาดที่เกิดจากอาหารได้อย่างไร

บทนำต่อโครงการสืบสวนการระบาดของโรค 7 ขั้นตอนของ CDC
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
CDC ทำการค้นหาการระบาดที่เกิดจากอาหารได้อย่างไร

เมื่อไหร่ที่การระบาดที่เกิดจากอาหารจึงจะเรียกว่าเป็นการระบาดได้อย่างเป็นทางการ? ศูนย์ควรคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ให้คำนิยามการระบาดที่เกิดจากอาหารนั้นว่าเป็นภาวะที่มีผู้ป่วยอย่างน้อย 2 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดการเจ็บป่วยชนิดเดียวกันที่มีสาเหตุมาจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนชนิดเดียวกัน ดังนั้นการระบาดที่เกิดจากอาหารจึงเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แต่โชคร้ายที่มักจะต้องมีผู้ป่วยมากกว่า 2 คนก่อนจึงจะเริ่มมีการสืบสวนการระบาดและหาแหล่งปนเปื้อน

การสืบสวนการระบาดในหลายรัฐและทั่วประเทศ

การระบาดที่เกิดจากอาหารนั้นจะถูกประกาศอย่างเป็นทางการหลังจากที่ CDC และหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำการสืบสวน นอกเหนือจากหน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ แล้วนั้นยังต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อระบุว่าการระบาดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมจึงเกิดขึ้น รวมถึงการป้องกันในอนาคต องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) และ Food Safety and Inspection Service (FSIS) นั้นยังต้องมีส่วนร่วมในการระบุต้นกำเนิดของความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร เป็นแกนนำในการสืบค้นที่ไร่ และประกาศเรียกคืนอาหารที่ปนเปื้อน และแม้ว่าการระบาดที่เกิดจากอาหารนั้นจะต้องมีการสืบสวนอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ CDC ต้องปฏิบัติตามเมื่อทำการสืบค้นในหลายรัฐ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โครงการสืบสวน 7 ขั้นตอนของ CDC

CDC ได้กำหนด 7 ขั้นตอนในการตรวจหาและควบคุมการระบาด, ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมและกำหนดวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในอนาคต

และเนื่องจากในการสืบสวนนั้นมีหลายหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันในเวลาเดียวกัน ขั้นตอนต่อไปนี้จึงอาจทำไปพร้อมกันได้

ขั้นแรก : ค้นหาการระบาด

CDC และหน่วยงานเครือข่ายได้ทำการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถค้นหาการระบาดได้อย่างต่อเนื่อง

  • การสำรวจทางสาธารณสุข : เป็นการรวบรวมรายงานความเจ็บป่วยทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ CDC สามารถกำหนดตัวเลขของความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่หรือเวลาดังกล่าวได้
  • ติดตามกลุ่มต่างๆ และการระบาด : กลุ่มของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยแบบเดียวกันในสถานที่เดียวกันและเวลาเดียวกันนั้นเรียกว่า cluster เมื่อตรวจพบว่ามีคนใดคนหนึ่งใน cluster นี้ที่อาจเกี่ยวข้องกับกันเนื่องจากมีการเจ็บป่วยแบบเดียวกัน กลุ่มผู้ที่เจ็บป่วยนั้นก็จะเรียกว่าการระบาด
  • ตรวจสอบ cluster และการระบาดทั้งโดยการใช้รายงานแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ : รายงานแบบไม่เป็นทางการนั้นรวมถึงข้อมูลทรี่ได้จากสมาชิกในชุมชนที่แจ้งหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นว่าสงสัยการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร ในขณะที่รายงานอย่างเป็นทางการนั้นจะมาจากแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ

ขั้นที่ 2 : ในคำนิยามและค้นหาผู้ป่วย

โดยทั่วไปแล้วนั้นรายงานชิ้นแรกของการระบาดมักจะมีผู้ที่เจ็บป่วยจำนวนไม่มาก การที่สร้างคำนิยามสำหรับการระบาดในครั้งนี้ขึ้นมานั้นจะทำให้ CDC สามารถกำหนดผู้ป่วยที่จะถูกเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการระบาดได้

การกำหนดคำนิยามของการระบาดนั้นอาจประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้

  • เชื้อก่อโรคหรือสารพิษหากทราบข้อมูล
  • อาการที่พบได้จากการติดเชื้อหรือได้รับสารพิษดังกล่าว
  • ช่วงเวลาที่อาการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้น
  • สถานที่ที่อาจเกิดการระบาด เช่นในรัฐหรือเขตใดๆ
  • ตัวชี้วัดอย่างอื่นเช่นรหัสพันธุกรรม

และเมื่อสามารถกำหนดนิยามของการระบาดได้แล้วจะทำให้ผู้สืบสวนนั้นสามารถค้นหาผู้เจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวข้องกับการระบาดในครั้งนี้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขั้นที่ 3 : สร้างทฤษฎีของสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาด

การสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลนั้นจะทำให้ผู้สืบสวนสามารถตั้งทฤษฎีว่าสาเหตุของการระบาดนั้นเกิดจากอะไร

ขั้นที่ 4 : ทดสอบสมมติฐาน

เมื่อมีการกำหนดสมมติฐานขึ้นแล้วนั้นจะต้องมีการทดสอบ การทดสอบสมมติฐานเพื่อระบุว่าสาเหตุของการระบาดนั้นคืออะไรนั้นมักทำด้วย 2 วิธีคือ Analytic Epidemiologic Study และการทดสอบอาหาร

Analytic Epidemiologic Study : วิธีการนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเพื่อกำหนดบทบาทของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา ตัวอย่างเช่น

  • ความถี่ของการได้รับอาหารชนิดนั้น
  • ความเกี่ยวข้องทางสถิติ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่ได้รับกับปฏิกิริยาที่ตอบสนอง
  • กระบวนการผลิตอาหาร
  • กระบวนการแจกจ่ายอาหาร

การทดสอบอาหาร : เป็นการค้นหาเชื้อก่อโรคที่มีรหัสพันธุกรรมจากผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับประทานมาเปรียบเทียบกับตัวอย่างจากอุจจาระ การทดสอบนี้อาจเพิ่มความสามารถในการระบุสาเหตุของการเจ็บป่วยได้อย่างชัดเจน

ในขณะที่นักวิจัยอาจคิดว่าข้อมูลที่ได้จากการทดสอบอาหารนี้เป็นข้อมูลที่มีปนะโยชน์ แต่มันก็อาจทำให้เกิดผลที่ไม่ช่วยในการสืบสวนหรือทำให้สับสนได้มากขึ้นจากหลายสาเหตุ

  • ไม่สามารถทำการทดสอบอาหารที่มีระยะเวลาในการวางขายสั้นๆ ได้เมื่อพบว่ามีการระบาดเพราะไม่พบสินค้าอีกต่อไป
  • หรือหากพบว่ามีอาหารที่น่าสงสัยแต่ก็อาจจะตรวจพบเชื้อก่อโรคได้ยาก เนื่องจากเชื้อก่อโรคนั้นอาจจะมีจำนวนลดลงตั้งแต่ที่เริ่มมีการระบาด หรืออาจมีเชื้ออื่นที่เจริญขึ้นแทนที่เชื้อนั้นเมื่ออาหารเริ่มมีการปนเปื้อน
  • เชื้อก่อโรคอาจอยู่ที่อาหารเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างอาหารที่ไม่ได้นำมาจากส่วนดังกล่าวจะให้ผลการทดสอบเป็นลบ ดังนั้นการทดสอบที่ได้ผลลบจึงไม่ได้บอกว่าอาหารดังกล่าวนั้นไม่ใช่สาเหตุของการระบาดหรือการเจ็บป่วย
  • อาหารที่เหลือหรืออาหารที่อยู่ในภาชนะที่เปิดแล้วอาจปนเปื้อนหลังจากการระบาดหรืออาจจะเกิดจากการสัมผัสอาหารที่เป็นต้นเหตุของการระบาดที่แท้จริง
  • เชื้อก่อโรคบางชนิดไม่สามารถตรวจได้ในอาหารเนื่องจากไม่มีการทดสอบที่สามารถตรวจพบเชื้อดังกล่าวได้

ขั้นที่ 5 : ค้นหาตำแหน่งที่มีการปนเปื้อนและแหล่งกำเนิดอาหาร

ตำแหน่งที่มีการปนเปื้อนนั้นจะถูกค้นพบได้จากการประเมินสิ่งแวดล้อมเพื่อระบุว่าอาหารมีการปนเปื้อนได้อย่างไร ผู้สืบสวนมักเน้นที่ประเด็นต่อไปนี้

  • การสัมภาษณ์ผู้ที่ติดเชื้อเพื่อระบุว่าอาหารนั้นมาจากไหน จัดการอย่างไร และเตรียมอย่างไร อาหารนั้นอยู่ที่อุณหภูมิเท่าไหร่
  • สืบสวนทางการแพทย์และวิธีการฝึกสอนลูกจ้างและลักษณะของห้องครัว (เช่นความสะอาด)
  • สุขภาพของลูกจ้างในขณะที่อาหารน่าจะมีการปนเปื้อน
  • ค้นหาผลการสืบสวนครั้งก่อน
  • ทำการสืบสวนย้อนหลัง

ขั้นที่ 6 : ควบคุมการระบาด

เมื่อสามารถกำหนดอาหารที่เป็นแหล่งของการระบาดได้แล้ว ต้องมีการออกมาตรการควบคุมซึ่งอาจประกอบด้วย

  • มาตรการเฉพาะเพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่มีการสัมผัสกับอาหารเช่นร้านอาหารหรือโรงงานแปรรูป
  • ปิดแหล่งผลิตอาหารหรือร้านอาหาร
  • เรียกคืนอาหาร
  • เผยแพร่ปัญหาให้กับสาธารณชน รวมถึงวิธีการป้องกัน และอาการที่อาจพบได้เป็นต้น

ขั้นที่ 7 : ระบุว่าการระบาดนั้นได้ยุติลง

เมื่อตัวเลขของการเจ็บป่วยนั้นลดลงจนเข้าสู่ในระดับปกติแล้วก็จะระบุได้ว่าการระบาดนั้นได้สิ้นสุดแล้วเช่นกัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะยังทำการติดตามสถานการณ์ต่อไปหลังจากนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการระบาดซ้ำอีก และสามารถกำจัดแหล่งปนเปื้อนไปได้ทั้งหมด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Outbreaks of Foodborne Illness. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/food/recalls-outbreaks-emergencies/outbreaks-foodborne-illness)
2018 saw the most multistate outbreaks of foodborne illness in more than a decade, CDC says. Washington Post. (https://www.washingtonpost.com/business/2019/04/25/cdc-releases-its-annual-report-card-foodborne-illness-did-not-have-passing-grade/)
Investigating Outbreaks | Foodborne Outbreaks. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/foodsafety/outbreaks/investigating-outbreaks/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)