กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยารักษาสิวในร้านขายยาทั่วไป

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยารักษาสิวในร้านขายยาทั่วไป

หากเราเป็นสิวที่ไม่ได้รุนแรง หรือว่าไม่ได้มีอาการสิวเห่อเต็มใบหน้าหรือเต็มหลัง เราทุกคนสามารถจัดการมันได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปนั่นเอง แต่หากเป็นสิวที่มีอาการเห่อและอักเสบมากไป ก็แนะนำให้ไปพบแพทย์ผิวหนังจะดีกว่านะครับ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวจากร้านขายยาทั่วไป เราทุกคนก็ควรจะศึกษาให้เป็นอย่างดีก่อน เพราะผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็มีส่วนผสมที่มากมายและแตกต่างกันไป ดังนั้น เรามาศึกษาการใช้ยารักษาสิวในร้านขายยาทั่วไปพร้อม ๆ กันเลย

การรักษาด้วยผลิตภัณฑ์รักษาสิวจากร้านขายยาทั่วไป

แม้ว่าเราจะพยายามมีพฤติกรรมการดูแลผิวที่ดีแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะอาบน้ำและล้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการเอามือและผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันมาสัมผัสกับใบหน้า แต่ไม่ว่าอย่างไร สิว ก็ยังเกิดขึ้นกับเราอยู่ดี หากเรามีปัญหาสิวเกิดขึ้นเป็นประจำ ลองปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลผิวเสียใหม่ เพราะเมื่อมีปัญหาสิวเราทุกคนก็ต้องหาหนทางรักษาให้ได้ ไม่ใช่ให้อยู่ร่วมกับมันหรือหลบหน้าผู้คนจนรอให้สิวหายไปเอง แบบนั้นไม่ใช่หนทางรักษาที่ดีแน่นอน ลองหาซื้อผลิตภัณฑ์รักษาสิวจากร้านขายยาทั่วไปมารักษาในเบื้องต้นจะดีกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยารักษาสิวที่หาได้จากร้านขายยาทั่วไป

ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่มีอยู่ตามร้านขายยาทั่วไปมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ และมีระดับความแรงของตัวยาที่หลากหลาย ได้แก่ แผ่นทำความสะอาดหน้าที่ผสมยารักษา สบู่และผลิตภัณฑ์ล้างหน้าพิเศษ เจล ครีม และโลชั่นต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาข้างต้นนี้ เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีปัญหาสิวที่ไม่รุนแรง เช่น สิวเม็ดเล็ก ๆ ที่มาเป็นครั้งคราว สิวหัวดำ หรือสิวอุดตันหัวขาว โดยเราจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดไหนก็ต้องเลือกให้ถูกตามอาการของสิวและผิวหน้าของเรานั่นเอง

ส่วนผสมที่มีอยู่ในตัวยารักษาสิว

ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่มีอยู่ตามร้านขายยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย เบนซอยล์ เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) กรดซาลิซิลิค (Salicylic acid) รีซอซินอล (Resorcinol) และ ซัลเฟอร์ (Sulfur)

ส่วนผสมที่พบมากที่สุด ก็คือ เบนซอยล์ เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) และกรดซาลิซิลิค ซึ่งจะช่วยในการกำจัดปริมาณไขมันส่วนเกินและทำลายแบคทีเรียบนผิวออกไป ทำให้สิวค่อย ๆ แห้งและลอกออกไปในที่สุด นอกจากนี้ Benzoyl peroxide ยังช่วยลดขนาดของสิว ลดอาการบวมและการอักเสบของสิวได้อีกด้วย ส่วน Resorcinol Sulfur และกรดซาลิซิลิค ช่วยทำให้สิวสลายตัวไป

(ยารักษาสิวที่แพทย์สั่งจะมีความรุนแรงที่มากกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า เช่น เรตินอยด์ (retinoids) หรือการฉีด corticosteroids ซึ่งไม่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป)

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวในร้านขายยาทั่วไป

ต้องบอกเลยว่าผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่จำหน่ายอยู่ในร้านขายยาทั่วไป มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินออกไปเท่านั้น จึงทำให้ผิวของเราแห้ง ซึ่งถ้าใช้บ่อยไปก็พบอาการผิวแดง ผิวระคายเคือง และรู้สึกแสบร้อนที่ผิว

การใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวควรใช้ตามวิธีใช้ที่ระบุไว้ข้างกล่องอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงขึ้น และที่สำคัญต้องเข้าใจด้วยว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์รักษาสิวใดที่จะเห็นผลการรักษาได้ทันที ผลิตภัณฑ์รักษาสิวในร้านขายยาทั่วไปบางตัวอาจจะใช้เวลามากถึง 8 อาทิตย์กว่าจะเห็นผล แต่ถ้าหากเราใช้แล้วและไม่สามารถแก้ปัญหาสิวได้ หรือได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ก็ควรจะไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อหาวิธีอื่น ๆ ในการักษา


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Best Oral Acne Medication Options. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/oral-acne-medications-15633)
List of Acne Medications (306 Compared). Drugs.com. (https://www.drugs.com/condition/acne.html)
Acne Treatment & Medication for Pimples, Blackheads, & Whiteheads (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/understanding-acne-treatment#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ฉีดสิว ดีไหม? รวมข้อมูลทั้งหมดที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจไป ฉีดสิว
ฉีดสิว ดีไหม? รวมข้อมูลทั้งหมดที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจไป ฉีดสิว

ฉีดสิวเหมาะกับสิวแบบไหน ฉีดเสร็จแล้วดูแลตัวเองยังไง

อ่านเพิ่ม
รวมวิธีรักษาสิวที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
รวมวิธีรักษาสิวที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

รวมวิธีรักษาสิว ทั้งแบบสิวอุดตันและสิวอักเสบ เพื่อให้สิวหายอย่างปลอดภัย ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

อ่านเพิ่ม