วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

วัสดุอุดฟันมีกี่แบบ ข้อดีข้อเสีย ราคาประมาณเท่าไหร่

รวมข้อมูลอุปกรณ์อุดฟัน แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียยังไง ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 4 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วัสดุอุดฟันมีกี่แบบ ข้อดีข้อเสีย ราคาประมาณเท่าไหร่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การอุดฟันเป็นการนำวัสดุเข้าไปอุดทดแทนเนื้อฟันส่วนที่เสียหาย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคฟันผุ เนื้อฟันสึก ฟันแตก บิ่น 
  • วัสดุในการอุดฟันหลักๆ จะมี 2 แบบ ได้แก่ อะมัลกัม และวัสดุเรซินคอมโพสิต 
  • อะมัลกัมเป็นวัสดุสีเทาเงิน ทำจากโลหะเจือผสมปรอท มีความคงทนแข็งแรง แต่สีจะไม่กลมกลืนไปกับเนื้อฟัน ส่วนวัสดุเรซินคอมโพสิตจะมีสีกลมกลืนไปกับเนื้อฟัน มีหลายเฉดสีให้เลือด แต่จะไม่แข็งแรงเท่ากับวัสดุอะมัลกัม
  • วัสดุคอมโพสิตจะราคาสูงกว่าวัสดุอะมัลกัม 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจอุดฟัน

การอุดฟันเป็นอีกการทำทันตกรรมประเภทหนึ่งที่หลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยและได้เข้ารับบริการมาบ้างแล้ว เพราะเป็นการทำทันตกรรมเพื่อเติมเต็มเนื้อฟันส่วนที่หายไปจากสาเหตุต่างๆ ให้ฟันซี่นั้นกลับมามีรูปร่างสมบูรณ์อีกครั้ง 

การอุดฟันมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ป้องกันไม่ให้เศษอาหารไม่เข้าไปติดในฟันซี่นั้นอีก เป็นการลดการสะสมของเศษอาหาร แบคทีเรีย ตัดวงจรฟันผุ และลดความรุนแรงของฟันผุไปด้วยในตัว ทำให้เคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ 

แล้ววัสดุสำหรับอุดฟันมีกี่แบบ แบบไหนที่มีสีกลมกลืนไปกับฟันบ้าง แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร บทความนี้จะพาไปดูกัน

ความหมายของการอุดฟัน

การอุดฟัน (Dental filling) คือ การใช้วัสดุเข้าไปอุดทดแทนเนื้อฟันส่วนที่เสียหาย โดยสาเหตุที่มักทำให้ทำต้องอุดฟัน ได้แก่

  • โรคฟันผุ
  • เนื้อฟันสึก หรือกร่อน
  • ฟันแตก บิ่น หัก จากการเกิดอุบัติเหตุ
  • วัสดุอุดฟันเก่าแตกหัก หรือเสียหาย ทำให้ต้องอุดซ่อมแซมเนื้อฟันใหม่อีกครั้ง

วัสดุในการอุดฟัน

วัสดุสำหรับอุดฟันที่นิยมใช้กันแบ่งออกได้หลักๆ 2 ชนิด ได้แก่

1. วัสดุอะมัลกัม

วัสดุอะมัลกัม (Amalgam) เป็นวัสดุอุดฟันสีเทาเงิน ทำขึ้นมาจากโลหะเจือผสมปรอท โดยโลหะที่นำมาผสมจะเป็นเงินกับดีบุก การอุดฟันด้วยวัสดุอะมัลกัมจะเริ่มจากบดผงโลหะกับปรอทจนมีลักษณะนุ่มสามารถปั้นได้ แล้วนำไปอุดบริเวณโพรงฟันที่ต้องซ่อมแซม

ข้อดีของวัสดุอะมัลกัมคือ มีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน ทนทาน แข็งแรง โดยจะอยู่ที่ประมาณ 10-25 ปี นอกจากนี้ยังมีราคาถูกกว่าวัสดุชนิดอื่นด้วย

ข้อเสียของวัสดุอะมัลกัมคือ มีสีไม่กลมกลืนไปกับเนื้อฟัน สามารถเห็นได้ชัด นอกจากนี้ผู้ที่อุดฟันด้วยวัสดุอะมัลกัมยังมักต้องกรอเนื้อฟันบางส่วนออกมากกว่าการใช้วัสดุชนิดอื่น เพื่อให้สามารถใส่วัสดุอุดฟันชนิดนี้ได้

วัสดุอะมัลกัมแม้จะมีความคงทนแข็งแรง แต่หากผู้อุดฟันใช้ฟันอย่างไม่ระมัดระวัง เช่น บดเคี้ยวอาหารอย่างรุนแรงบ่อยๆ หรือรับประทานอาหารเนื้อแข็ง มีความเหนียว เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง วัสดุอะมัลกัมก็สามารถแตกหักได้ โดยเฉพาะหากโพรงฟันที่อุดด้วยอะมัลกัมมีความบาง

อีกข้อเสียของวัสดุอะมัลกัมที่พบได้แต่น้อยก็คือ ผู้เข้ารับบริการมีอาการแพ้สารปรอทที่อยู่ในวัสดุ แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อยมากๆ

ราคาการอุดฟันด้วยวัสดุอะมัลกัมจะอยู่ที่ประมาณซี่ละ 400-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับราคา โปรโมชั่น ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าทำทันตกรรมอื่นๆ ที่อาจยังไม่ครอบคลุมอยู่ในราคานี้ เช่น ค่าขูดหินปูน ค่าเอกซเรย์ช่องปาก

2. วัสดุเรซินคอมโพสิต

วัสดุเรซินคอมโพสิต (Resin composite) คือ วัสดุอุดฟันที่มีสีเหมือนเนื้อฟัน ทำขึ้นมาจากเรซินผสมกับสารเคมีอื่นๆ เช่น สารยูริเทน ไดเมทาไครเลต (Urethane Dimethacrylate: UDMA) สารไตรเอทิลีน ไกลคอล (Triethylglycol Dimethacrylate: TEGDMA)

ทันตแพทย์จะอุดฟันโดยใช้วัสดุเรซินคอมโพสิตมาปั้นแต่งให้ได้รูปตามต้องการ แล้วนำไปอุดบริเวณเนื้อฟันที่หายไป แล้วบ่มด้วยคลื่นแสงสีฟ้า (Visible light) เพื่อให้วัสดุแข็งตัว

จุดเด่นของวัสดุเรซินคอมโพสิตคือ มีสีกลมกลืนไปกับเนื้อฟัน ทั้งยังมีอยู่หลายเฉดสี สามารถปรับแต่งให้เข้ากับสีฟันของผู้เข้ารับบริการแต่ละคนที่แตกต่างกัน รวมถึงตามส่วนต่างๆ ของฟันซึ่งมักมีเฉดสีต่างกันด้วย เช่น บริเวณปลายฟัน ตัว หรือคอฟัน

นอกจากนี้วัสดุเรซินคอมโพสิตยังมีให้เลือกทั้งแบบใสและแบบทึบ โดยแบบใสมักใช้สำหรับอุดบริเวณผิวเคลือบฟัน ส่วนแบบทึบมักใช้สำหรับอุดบริเวณชั้นเนื้อฟันด้านใน และยังสามารถขัดให้เรียบ คงความเงางามให้กับเนื้อฟันบริเวณที่อุดได้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม วัสดุเรซินคอมโพสิตก็มีข้อเสียในเรื่องความแข็งและความทนทานที่ไม่มากเท่ากับวัสดุอะมัลกัม โดยมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 5-15 ปี และหากบริเวณที่อุดฟันมีการบดเคี้ยว หรือใช้งานรุนแรง วัสดุอาจหลุดออกได้ง่าย และมีราคาสูงกว่าวัสดุอะมัลกัม

ราคาการจัดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตจะสูงกว่าวัสดุอะมัลกัม โดยจะอยู่ที่ประมาณซี่ละ 500-3,500 บาท โดยราคานี้อาจยังไม่รวมบริการทางการแพทย์ ค่าทำทันตกรรมอื่นๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามโรงพยาบาล และคลินิกทำทันตกรรมแต่ละแห่ง

โดยปกติทันตแพทย์จะเลือกวัสดุที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับบริเวณที่อุดฟันให้กับผู้เข้ารับบริการ แต่อีกสิ่งสำคัญที่ผู้เข้ารับบริการจะต้องระมัดระวัง คือ การเลือกคลินิกทำทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน มีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการ เพื่อที่จะคุณจะได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึง

หากพบว่า ตนเองฟันผุ หรือเนื้อฟันเสียหายควรต้องไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป ในบางกรณีอาจสามารถอุดฟันได้ แต่ในบางกรณีก็อาจจำเป็นต้องรักษารากฟัน หรือถอนฟันซี่นั้นออกไป  

หากปล่อยให้ระยะเวลาผ่านไปเรื่อยๆ เนื้อฟันส่วนที่ยังคงอยู่ก็อาจเสี่ยงได้รับความเสียหายมากกว่าเดิมได้ เศษอาหารไม่เข้าไปติดในฟันซี่ทำให้เกิดการสะสมของเศษอาหาร แบคทีเรีย ตัดวงจรฟันผุ และลดความรุนแรงของฟันผุไปด้วยในตัว รวมทั้งทำให้เคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจอุดฟัน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อุดฟันเพื่ออะไร? ใช้วัสดุอะไร?, (https://hdmall.co.th/c/what-is-a-dental-filling).
MedicineNet, What is a tooth filling? (https://www.medicinenet.com/fillings/article.htm), 16 November 2020.
มหาวิทยาลัยบูรพา, วัสดุบูรณะฟันอมัลกัม (http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/00662/chapter2.pdf), 16 พฤศจิกายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)