กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อ้วนมากส่งผลต่อ ภาวะการมีลูกยาก

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อ้วนมากส่งผลต่อ ภาวะการมีลูกยาก

 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งในสหรัฐฯ ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับคุณภาพของสเปิร์ม โดยชี้ว่าการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วนลงพุง) อาจส่งผลให้ความแข็งแรงของสเปิร์มลดลง จนไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้

 หัวหน้าทีมวิจัยจากศูนย์ให้คำปรึกษาแก่ผู้มีบุตรยากในเมืองแอตแลนตา ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “ดัชนีมวลกายมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพและปริมาณของสเปิร์ม คนที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน อาจประสบปัญหาจำนวนสเปิร์มลดต่ำลง จนไม่เพียงต่อการปฏิสนธิ และอาจทำให้เกิดการแท้งในภายหลัง เนื่องจากตัวอ่อนไม่แข็งแรงพอ” พร้อมกันนี้หัวหน้านักวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ในกลุ่มผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินเพียงเล็กน้อย ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นคำตอบก็ได้ว่า เพราะเหตุใดอัตราชายที่มีบุตรยากจึงสูงขึ้นตามสัดส่วนของผู้มีน้ำหนักเกินในประเทศทางซีกโลกตะวันตก และกำลังแพร่ระบาดมาทางซีกโลกตะวันออก
 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นใครอยากมีลูก ทางหนึ่งซึ่งช่วยได้คือหมั่นออกกำลังกายให้แข็งแรง...และห้ามอ้วน!

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Does Being Overweight Affect Your Chances of Getting Pregnant?. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/does-being-overweight-affect-your-changes-of-getting-pregnant/)
Overweight and pregnant. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/overweight-pregnant/)
Do obesity & overweight affect pregnancy?. NICHD - Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. (https://www.nichd.nih.gov/health/topics/obesity/conditioninfo/FAQs_pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)