อาหารตามวัยสำหรับทารก (แรกเกิดถึง 1 ปี)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหารตามวัยสำหรับทารก (แรกเกิดถึง 1 ปี)

วัยทารกเป็นช่วงที่เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารที่เหมาะสมทั้งชนิดและปริมาณมีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทารกอายุ 5 เดือนควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด และเพิ่มเป็น 3 เท่าเมื่ออายุ 1 ปี

ในช่วงอายุ 6 เดือน ทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอจากนมแม่ แต่หลังจากนั้นจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารบางชนิดเพิ่มขึ้น โดยผู้ดูแลอาจเริ่มให้ทารกรับประทานอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semisolid Food) ฝึกทักษะในการกลืนอาหาร ให้ทารกคุ้นเคยกับรสชาติอาหารและลักษณะอาหารที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาไปสู่การรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน จะให้อาหารทดแทนนมได้ 1 มื้อ อายุ 8-9 เดือน ให้อาหารทดแทนนมได้ 2 มื้อ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ลักษณะอาหารประกอบด้วยข้าว แป้ง ผัก ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ สลับกันไป ควรมีเนื้อค่อนข้างละเอียด โดยใช้วิธีการบดเพื่อให้กลืนได้ง่าย และเพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องบดละเอียดมาก และสามารถให้ผลไม้ต่างๆ เนื้อนิ่มในระหว่างมื้ออาหาร เช่น กล้วย ส้ม มะละกอสุก เมื่อทารกอายุครบ 12 เดือนขึ้นไปจะสามารถรับประทานอาหารเหมือนผู้ใหญ่ได้ โดยเลือกอาหารที่นิ่ม เคี้ยวง่าย

ข้อแนะนำในการให้อาหารทารก

  • เตรียมอาหารให้เหมาะกับอายุของเด็ก โดยบดอาหารให้ละเอียดในช่วงแรก และหยาบขึ้นเมื่อเด็กเริ่มมีฟัน
  • ให้อาหารครั้งละน้อยๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้น
  • ให้รับประทานอาหารรสธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการปรุงแต่งอาหารด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง ผงชูรส และผงปรุงรส หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด มัน เค็ม
  • ให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้
  • เลือกอาหารว่างที่มีคุณภาพ เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล หลีกเลี่ยงขนมที่มีรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด และขนมที่เหนียวติดฟัน
  • ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม น้ำหวาน ชา กาแฟ และน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล

แนวทางการให้นมแม่ และอาหารตามวัยสำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

ช่วงอายุ

ปริมาณอาหารที่ทารกแรกเกิดถึง 1 ปีควรได้รับใน 1 วัน

แรกเกิด - 6 เดือน

แนะนำให้ทารกรับประทานนมแม่

6-7 เดือน

ให้อาหารเสริม 1 มื้อ ประกอบด้วย (บดละเอียด)

  • ข้าวบดละเอียด 3-4 ช้อนกินข้าว
  • เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ต้ม ½ ฟอง หรือ เนื้อปลา หมู ไก่ ตับบด 1 ช้อนกินข้าว
  • ผักสีเขียว หรือผักสีเหลืองส้ม เช่น ตำลึง ฟักทอง แครอท ½-1 ช้อนกินข้าว
  • น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
  • ผลไม้ เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก 1-2 ชิ้น

8-9 เดือน

ให้อาหารเสริม 2 มื้อ ประกอบด้วย (บดหยาบ)

  • ข้าวสวยนิ่มๆ 4 ช้อนกินข้าว
  • เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ต้ม ½ ฟอง หรือ เนื้อปลา หมู ไก่ ตับบด 1 ช้อนกินข้าว
  • ผักสีเขียว หรือผักสีเหลืองส้ม เช่น ตำลึง ฟักทอง แครอท ½ - 1 ช้อนกินข้าว
  • น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
  • ผลไม้ เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก 3 ชิ้น

10-12 เดือน

ให้อาหารเสริม 3 มื้อ ประกอบด้วย

  • ข้าวสวยนิ่มๆ 4 ช้อนกินข้าว
  • เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ต้ม ½ ฟอง หรือ เนื้อปลา หมู ไก่ ตับบด 1 ช้อนกินข้าว
  • ผักสีเขียว หรือผักสีเหลืองส้ม เช่น ตำลึง ฟักทอง แคร์รอต 1½ ช้อนกินข้าว
  • น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
  • ผลไม้ เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก 3-4 ชิ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กินตามวัยให้พอดี , มปป.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ,องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย , 2559
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ,คู่มืออาหารตามวัย สำหรับทารกและเด็กเล็ก ,2552

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

แนะนำ 3 สูตรอาหารสำหรับการให้อาหารทางสายยางที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
อาหารทั่วไปในโรงพยาบาล (General Diet)
อาหารทั่วไปในโรงพยาบาล (General Diet)

หลักการและตัวอย่างอาหารในโรงพยาบาล ทั้งอาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารน้ำใส และอาหารน้ำข้น แต่ละอย่างคืออะไร ดีต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม