กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

9 เรื่องเกี่ยวกับ HPV ไวรัสร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องรู้!

รวม 9 เรื่องเกี่ยวกับเชื้อ HPV ที่ผู้ปกครองต้องรู้
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2023 อัปเดตล่าสุด 5 ต.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
9 เรื่องเกี่ยวกับ HPV ไวรัสร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องรู้!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ และในบางสายพันธุ์ก็ก่อให้เกิดโรคที่บริเวณอวัยวะเพศและพัฒนาเป็นมะเร็งได้
  • เชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่ายจากการมีเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสโดนผิวหนังบริเวณที่มีแผลของผู้ติดเชื้อ
  • วัคซีน HPV สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป โดยช่วงที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV มากที่สุดคือช่วงอายุ 9-26 ปี เพราะร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
    • ดูรายละเอียดการฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

เด็กหรือวัยรุ่น ถือเป็นอีกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ การเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับเชื้อ HPV ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้เพื่อจะได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานเข้าใจ

เพราะเชื้อ HPV มีหลายสายพันธุ์และสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้กับทุกคน และนี่คือ 9 เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้เกี่ยวกับ HPV เพื่อป้องกันเชื้อให้ห่างไกลจากลูก

1. เชื้อ HPV อันตรายกว่าคิด

หลายคนมองว่าเชื้อ HPV ไม่อันตราย แต่ในความจริง เชื้อ HPV อันตรายกว่าที่คิด

เพราะเชื้อ HPV ที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ และในบางสายพันธุ์ก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและสามารถพัฒนาเป็นโรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด โรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ โรคมะเร็งอวัยวะเพศชาย และโรคหูดหงอนไก่

2. เชื้อ HPV มีหลายสายพันธุ์

เชื้อ HPV ที่ทำให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักมีประมาณ 40 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงสูง ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 16, 18, 33, 45, 52, 58 เป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ โรคมะเร็งทวารหนัก
  • สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงต่ำ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่

3. เชื้อ HPV ติดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

เชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยการติดเชื้อ HPV มักจะติดต่อได้ง่ายจากการมีเพศสัมพันธ์ และถ้าหากสัมผัสโดนผิวหนังบริเวณที่มีแผลของผู้ติดเชื้อ ก็อาจทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ในเพศชายและเพศหญิง มีดังนี้

  • ในเพศชาย สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ โรคมะเร็งองคชาต และโรคหูดหงอนไก่
  • ในเพศหญิง สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด โรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ และโรคหูดหงอนไก่

4. เชื้อ HPV เป็นภัยเงียบ

เมื่อติดเชื้อ HPV เชื้ออาจซ่อนตัวอยู่และยังไม่แสดงอาการกว่า 10 ปี โดยจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อลุกลามไปแล้ว ทำให้เราไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมาและอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

แม้ว่าการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่ก็มีบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ทำให้เชื้อจะคงที่อยู่นานและพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ในอนาคต

5. เชื้อ HPV อยู่ใกล้ตัวเรา

HPV เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยและอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ดังนั้นจึงควรป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเด็กที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน

สำหรับวิธีการป้องกันเชื้อ HPV ก็มีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป

6. วัคซีน HPV มี 3 ชนิด

ปัจจุบัน วัคซีน HPV มีด้วยกัน 3 ชนิด โดยแต่ละชนิดสามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ครอบคลุมสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

วัคซีน HPV มีกี่ชนิด?
  • วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด โรคมะเร็งปากช่องคลอด และโรคมะเร็งทวารหนัก
  • วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 โดยสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด โรคมะเร็งปากช่องคลอด โรคมะเร็งทวารหนัก และโรคหูดหงอนไก่
  • วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ ช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 โดยสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ โรคมะเร็งช่องคลอด โรคมะเร็งปากช่องคลอด โรคมะเร็งทวารหนัก และโรคหูดหงอนไก่

* อย่างไรก็ตาม มะเร็งองคชาติก็เกิดจากเชื้อ HPV ได้เหมือนกัน

ประสิทธิภาพวัคซีน HPV

*วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ เพิ่มการป้องกันมะเร็งช่องปากและลำคอ

7. วัคซีน HPV ปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ผลิตจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มของเชื้อ HPV จึงเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงและไม่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนใดๆ

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากรับวัคซีน HPV ได้แก่ อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด หรืออาจมีไข้ต่ำๆ เวียนศีรษะ และคลื่นไส้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองภายใน 2-3 วัน

8. คำแนะนำในการฉีดวัคซีน HPV

การฉีดวัคซีน HPV สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป แต่ช่วงอายุที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV มากที่สุดคือช่วงอายุ 9-26 ปี เพราะร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

โดยจำนวนเข็มในการฉีดวัคซีน HPV จะขึ้นอยู่กับอายุของผู้รับบริการ ดังนี้

  • อายุ 9-14 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV 2 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 6-12 เดือน
  • อายุ 15 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีน HPV 3 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 2 เดือน และฉีดเข็มที่ 3 นับจากเข็มแรก 6 เดือน
ราคาฉีดวัคซีน HPV

9. ทำไมควรฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็ก?

การฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เด็กจะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะเด็กยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนและเป็นช่วงที่ร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

นอกจากนี้ การรับวัคซีน HPV ก่อนอายุ 15 ปี จะฉีดวัคซีนเพียงแค่ 2 เข็มเท่านั้น จึงช่วยให้เด็กเจ็บตัวน้อยลงและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ได้อีกด้วย

เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

แหล่งที่มาของข้อมูล

  • รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
TH-HPV-00431 09/2023

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)