การติดเชื้อราหรือยีสต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การติดเชื้อราหรือยีสต์เกิดขึ้นได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การติดเชื้อราหรือยีสต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เชื้อรา Candida หรือ "ยีสต์"  เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะในร่างกาย เช่น 

  • เมื่อร่างกายเป็นกรดมากขึ้นจากการติดเชื้อ 
  • มีการใช้ถุงยาง 
  • มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 
  • เป็นเบาหวาน ทำให้สมดุลระหว่างเชื้อ Candida ผิดปกติไป และเกิดการแบ่งตัวมากขึ้นโดยไม่มีคู่แข่ง ทำให้เกิดเป็นการติดเชื้อขึ้นได้

ทำไมผู้หญิงที่เป็นเบาหวานจึงมีแนวโน้มเกิดการติดเชื้อราที่ช่องคลอด

ถึงแม้ว่าผู้หญิงส่วนมากโดยทั่วไปมักจะมีการติดเชื้อราได้อย่างน้อย 1 ครั้งตลอดชีวิต แต่พบว่าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยปกติยีสต์ซึ่งมักอาศัยอยู่ภายในช่องคลอด จะถูกควบคุมจำนวนโดยปริมาณสารอาหารภายใต้ความเป็นกรดของช่องคลอด แต่ในผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน สารคัดหลั่งในช่องคลอดจะมีน้ำตาลกลูโคสมากกว่าปกติจากการที่มีน้ำตาลสูงในกระแสเลือด ทำให้ยีสต์เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก จนกลายเป็นการติดเชื้อ 

นอกจากนั้นการมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงยังขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ช่วยป้องกันการ ติดเชื้อยีสต์ การที่มีการติดเชื้อยีสต์ในผู้หญิงที่เป็นเบาหวานจึงอาจแปลความได้ว่ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หรือแสดงถึงการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอด

การติดเชื้อยีสต์มักทำให้มีอาการต่อไปนี้

  • คัน และรู้สึกไม่สบายบริเวณช่องคลอด 
  • มีตกขาวเป็นมูกข้นเหมือนชีส 
  • มีกลิ่นเหม็น 
  • รู้สึกเจ็บระหว่างการปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ 

แต่ในผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดเลยก็ได้ และการติดเชื้อยีสต์นี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น 

  • บริเวณที่ชุ่มชื้นตามเท้า
  • ข้อพับส่วนต่างๆ 
  • บริเวณที่ใช้ฟอกไต 
  • ในปาก 

การติดเชื้อยีสต์จะทำให้มีอาการไม่สบายตัว และอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงกว่าได้

การวินิจฉัยการติดเชื้อรา

หากมีอาการที่สงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ ไม่ใช่จากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะทำการตรวจโดยใช้การส่องใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามียีสต์หรือไม่ และในบางครั้งอาจต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การติดเชื้อยีสต์ส่งผลต่อโรคเบาหวานอย่างไร

การมีเชื้อยีสต์อยู่ภายในช่องคลอด หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายทำให้กลไกการป้องกันการติดเชื้อของร่างกายเสียไป โดยในผู้หญิงที่เป็นเบาหวาน และมีการติดเชื้อยีสต์ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่นๆ เช่นกัน เนื่องจากการที่มียีสต์ และระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้นจะยับยั้งความสามารถในการต่อสู้กับแบคทีเรีย และไวรัสชนิดอื่น 

ทางเลือกในการรักษามีอะไรบ้าง

การใช้ยาฆ่าเชื้อราซึ่งสามารถซื้อได้ทั้งตามร้านขายยยา และจากแพทย์สั่ง สามารถใช้รักษาการติดเชื้อยีสต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ผลดี โดยควรปรึกษาทีมแพทย์ผู้ดูแลก่อนการเริ่มใช้ยาประเภทใหม่ทุกชนิดเนื่องจากยาฆ่าเชื้อราชนิดกิน สามารถส่งผลต่อยาที่ใช้เป็นประจำได้ ผู้ป่วยบางคนอาจอยากใช้การรักษาด้วยยาในช่องคลอด 

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้หญิงที่มีการติดเชื้อยีสต์ อาจต้องการการรักษาต่อเนื่องนานถึง 2 สัปดาห์ โดยใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดทา หรือชนิดกินอื่นๆ เช่น nystatin ซึ่งสามารถใช้รักษาการติดเชื้อยีสต์ในบริเวณอื่นนอกจากช่องคลอดได้เช่นกัน

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการรักษาการติดเชื้อยีสต์ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นเบาหวาน คือการรับประทานยาที่แพทย์ให้จนหมด เนื่องจากหากหยุดยาก่อนในช่วงที่เริ่มรู้สึกดีขึ้น อาจทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นซ้ำ และอาจรุนแรงกว่าเดิมได้

คำถามที่ผู้ป่วยไม่ควรพลาด

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อแล้ว ผู้ป่วยควรสอบถามทีมแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการรักษาที่แนะนำ เช่น ควรใช้ครีมทาที่ช่องคลอด หรือใช้ยารูปแบบกินหรือไม่ 

ผู้ที่มีการติดเชื้อยีสต์มากกว่า 4 ครั้งต่อปี ควรถามทีมแพทย์เพื่อให้ทำการตรวจระดับน้ำตาลว่าคุมได้ดีหรือไม่ และสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยอาจไม่ได้เกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Type 2 Diabetes and Yeast Infections. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/yeast-infections/)
Diabetes and yeast infections (candidiasis): Risk, symptoms, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317824)
Why does diabetes cause more yeast infections?. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/qa/why-does-diabetes-cause-more-yeast-infections)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)