กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Aortic Aneurysm (หลอดเลือดโป่งพอง)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ผู้หญิงอายุระหว่าง 30-60 ปีมีความเสี่ยงมากที่สุดในการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองโป่งพอง ในขณะที่ผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองสูงที่สุด

หลอดเลือดโป่งพองเป็นจุดที่เส้นเลือดแดงมีความอ่อนแอโดยมักจะเกิดกับเส้นเลือดแดงในสมิงหรือในเส้นเลือดแดงใหญ่ของร่างกายเช่นเส้นเลือดแดงใหญ่ (aorta) ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองนั้นสามารถเกิดขึ้นภายในช่องอกหรือภายในช่องท้องก็ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้มักจะไม่รู้ว่าตนเป็น อย่างไรก็ตาม หากหลอดเลือดมีการโตขึ้นมากเกินไป ผนังของเส้นเลือดแดงอาจจะบางขึ้นจนเริ่มมีเลือดไหลออกนอกผนังเส้นเลือด หรือออกไปยังเนื้อเยื่อหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ จุดที่เกิดการโป่งพองนี้เป็นจุดที่อ่อนแอมากและอาจเกิดการแตกได้ หากเส้นเลือดสมองที่มีการโป่งพองเกิดการแตก จะทำให้มีบริเวณบางส่วนของสมองที่ไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยงมากเพียงพอ และเมื่อสมองไม่ได้รับเลือด (และออกซิเจน) ที่มากเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาในกรณีอื่นๆ การที่เกิดการสะสมของเลือดที่ไหลออกนอกเส้นเลือดที่โป่งพองที่สมองอาจไปกดบริเวณต่างๆ ของสมอง ทำให้เกิดการทำลายเนื้อสมองได้ในขณะที่หากเส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีการโป่งพองเกิดมีเลือดไหลออกด้านนอกหรือเกิดการแตกออกจะทำให้เกิดเลือดออกอย่างรุนแรง ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใครเสี่ยงเกิดหลอดเลือดโป่งพองบ้าง?

ในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ที่มีเส้นเลือดโป่งพองที่สมองคิดเป็น 1 คนในทุกๆ 50 คน แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่เคยมีอาการหรือเกิดปัญหาขึ้นก็ตาม มีผู้ป่วยประมาณ 27,000 คนต่อปีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากการที่เส้นเลือดสมองที่โป่งพองเกิดการแตกออก และมีผู้ที่เสียชีวิจากเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองประมาณ 14,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้ 75% เกิดจากเส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีการโป่งพองในช่องท้อง ผู้หญิงอายุระหว่าง 30-60 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองโป่งพองมากที่สุด ในขณะที่ผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากที่สุด

กลุ่มอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงโป่งพองก็คือผู้ที่

  • สูบบุหรี่
  • มีประวัติครอบครัวที่มีเส้นเลือดโป่งพอง
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
  • เป็นกลุ่มอาการ Marfan (เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)
  • เนโรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษา
  • มีการติดเชื้อ
  • เกิดอุบัติเหตุ

อาการแสดงของการมีเส้นเลือดโป่งพอง

บางครั้งการที่เส้นเลือดมีการโป่งพองมากอาจทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นประสาทหรือเนื้อเยื่อข้างเคียงทำให้เกิดอาการปวด ชา หรือสูญเสียการทำงานอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วการมีเส้นเลือดโป่งพองนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าเริ่มมีเลือดออกหรือกำลังจะแตก อาการแสดงนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับตำแหน่งที่มีเส้นเลือดโป่งพอง เช่นปวดมาก (ปวดหัวรุนแรง ปวดตึบๆ หรือปวดขึ้นฉับพลันที่ท้อง ทรวงอก และ/หรือหลัง) เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน และหมดสติ

การวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพอง

การวินิจฉัยภาวะนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเกี่ยวกับโรคอื่น การตรวจที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้ได้อาจประกอบด้วยการทำเอกซเรย์ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการใส่สารทึบรังสีเพื่อให้มองเห็นเส้นเลือดแดง

การรักษาภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

เส้นเลือดโป่งพองขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ต้องติดตามว่ามีการโตขึ้นหรือไม่ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการใช้ยาเพื่อช่วยลดความดันโลหิตและขยายหลอดเลือดเพื่อลดโอกาสที่บริเวณที่โป่งพองจะเกิดการแตกออก เส้นเลือดโป่งพองที่สมองอาจสามารถรักษาได้โดยการใส่คลิปตัวเล็กๆ เข้าไปยังบริเวณที่มีการโป่งพอง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือดเข้าไปยังบริเวณนั้นและทำให้โป่งพองมากขึ้น เส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีการโป่งพองที่มีขนาดใหญ่ หรือเริ่มมีเลือดออกเข้ามายังผนังของเส้นเลือดแดงอาจจะต้องใช้การผ่าตัดรักษา การผ่าตัดอาจทำผ่านแผลผ่าตัดเปิดหรือโดยการใส่เครื่องมือผ่านเส้นเลือดเข้าไปยังบริเวณที่โป่งพองก็ได้


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการ
อาการ
ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)