กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Vocal Nodule (ตุ่มเนื้อที่สายเสียง)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ตุ่มเนื้อที่สายเสียง (Vocal nodule) เป็นตุ่มที่เกิดขึ้นที่สายเสียงแท้ สาเหตุเกิดจากการระคายเคืองเนื่องจากการใช้เสียงดังนานๆ หรือใช้เสียงไม่ถูกวิธี เช่น ตะโกน ตะเบ็งเสียงพูด ร้องเพลงเสียงดัง ไอเรื้อรัง เป็นต้น ภาวะนี้มักพบในบุคคลที่ต้องใช้เสียง เช่น ครู นักร้อง พ่อค้าแม่ค้า เป็นต้น

อาการของตุ่มเนื้อที่สายเสียง 

เมื่อมีการออกเสียงดังมาก ตะเบ็งเสียง หรือใช้เสียงนานๆ สายเสียงจะบวมและอักเสบ อาจเห็นเป็นตุ่มแดง ต่อมาสายเสียงจะมีตุ่มสีขาวทั้งสองข้าง ตุ่มอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ หากตุ่มเล็กจะไม่มีอาการ แต่หากตุ่มใหญ่จะขัดขวางทำให้สายเสียงไม่ชิดกันขณะออกเสียง ทำให้เสียงแหบโดยเฉพาะเวลาใช้เสียงสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยตุ่มเนื้อที่สายเสียง 

ผู้ป่วยโรคนี้มักมีประวัติเสียงแหบแบบเป็นๆ หายๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการใช้เสียง และอาการจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลัง โดยผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องพูดเป็นเวลานาน ในการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะใช้กระจกเล็กๆ ส่องผ่านเข้าไปในปากเพื่อตรวจดูลักษณะของสายเสียงหรือดูตุ่มที่สายเสียง ซึ่งสังเกตได้จากการพบตุ่มที่สายเสียงทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาตรงกัน ที่ระดับ 1/3 ของสายเสียงส่วนหน้า หรืออาจตรวจพบว่าสายเสียงบวม แต่ไม่มีอาการปวด

การรักษาตุ่มเนื้อที่สายเสียง 

แพทย์จะแนะนำให้พักการใช้เสียง เพื่อช่วยให้สายเสียงได้พักและอาการบวมลดลง นอกจากนี้อาจมีการให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการบวมของสายเสียง หรือต้องผ่าตัดนำตุ่มเนื้อออกหากตุ่มไม่ยุบหรือยังมีเสียงแหบอยู่ ซึ่งปัจจุบันนิยมตัดออกโดยใช้เลเซอร์ หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องพักเสียง 1 สัปดาห์ ในระหว่างนี้ต้องติดต่อกับผู้อื่นโดยใช้วิธีเขียนแทน และหลังจากแผลหายแล้วจะต้องฝึกการออกเสียงใหม่

การดูแลตนเองเมื่อเกิดตุ่มเนื้อที่สายเสียง

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เมื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น 

  • พักการใช้เสียงทุกชนิด ให้พูดเท่าที่จำเป็น หรือใช้วิธีสื่อสารด้วยการเขียน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันคอแห้งและช่วยละลายเสมหะ ใช้ยาลดอาการบวมของสายเสียงตามที่แพทย์แนะนำ
  • หลีกเลี่ยงฝุ่น ควันไฟ ควันบุหรี่ และงดการสูบบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ไอและไม่ได้พักเสียง 
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ชุมชน เพราะอาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ไอมากขึ้นและจะทำให้เหนื่อยมาก
  • ปรับการพูดและฝึกพูดกับนักแก้ไขการพูด เพื่อให้ออกเสียงได้ถูกวิธี และป้องกันการเกิดตุ่มเนื้อซ้ำ

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sara Minnis, MS, CCC-SLP, Caring for and Preventing Vocal Nodules (https://www.healthline.com/health/vocal-nodules), October 29, 2018
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน, สายเสียงอักเสบ และวิธีถนอมเสียง (ตอนที่ 1) (https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=813), 21 สิงหาคม 2560
แพทย์หญิงปวีณา พิทักษ์สุรชัย, แพทย์หญิงฉันทิชา โชติกวณิชย์, แพทย์หญิงจีระสุข จงกลวัฒนา, การผ่าตัดรักษารอยโรคที่สายเสียง (Surgical Management of Vocal Fold Lesion) (http://www.rcot.org/datafile/_file/_doctor/9e00e5822b8d87337133f4c04480ea4b.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)