ความกังวลที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด : ทารกสำลัก

ทำความเข้าใจว่าทำไมทารกแรกเกิดจึงอยากอาเจียนและสำลัก
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ความกังวลที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด : ทารกสำลัก

หนึ่งในความกังวลที่พบบ่อยในช่วงสัปดาห์แรกของทารกก็คืออาการสำลัก ปอดของทารกเต็มไปด้วยสารน้ำเมื่อพวกเขายังอยู่ในท้องแม่ ดังนั้นสารน้ำเหล่านั้นอาจยังคงติดมาด้วยในช่วงแรกหลังคลอด และแม้ว่าการที่ทารกสำลักนั้นอาจเป็นเรื่องที่คุณต้องตื่นตัว แต่วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการเรื่องนี้ก็คือการมีสติและช่วยให้ปอดของทารกโล่ง 

ทำไมทารกแรกเกิดจึงสำลัก ? 

สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือเมื่อทารกถูกบีบตัวขณะที่ผ่านช่องคลอดออกมานั้น สารน้ำที่เคยอยู่รอบตัวพวกเขาก็จะถูกบีบจากท้องที่แข็งและการเบ่งของแม่เช่นกัน 

หลังจากคลอด ผู้ทำคลอดจะดูดสารน้ำออกจากทารก อย่างไรก็ตามสำหรับทารกบางคนนั้น สารน้ำเหล่านี้อาจจะยังตกค้างอยู่ในปอดได้ 

เมื่อพวกเขาไอ สารน้ำ และมูกก็จะออกไปสะสมอยู่ที่ด้านหลังของลำคอ มันเป็นสิ่งที่ทารกไม่ชอบ ดังนั้นเมื่อพวกเขาลองกลืนสิ่งที่พวกเขาเพิ่งไอออกมานั้น มันก็มีโอกาสที่จะคลื่นไส้หรือสำลักได้ หากคุณคลอดลูกด้วยการผ่าตัดหรือคลอดอย่างรวดเร็ว ลูกของคุณอาจมีแนวโน้มในการเกิดการสำลักมากขึ้นเนื่องจากทรวงอกของพวกเขาอาจไม่ได้ผ่านการบีบตัวเอาสารน้ำเหล่านั้นออกมามากเหมือนกับการคลอดทางช่องคลอดทั่วไป 

ฉันจะช่วยทารกที่กำลังสำลักได้อย่างไร ? 

เมื่อลูกของคุณเริ่มคลื่นไส้หรือสำลัก ให้จับตัวพวกเขาอุ้มขึ้นให้ท้องวางแนบอยู่กับท่อนแขนด้านล่างของคุณ โดยศีรษะอยู่ด้านข้างเพื่อให้มูกต่าง ๆ สามารถไหลออกมาได้ แทนการตกกลับเข้าไปอยู่ด้านหลังลำคอ 

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกสำลัก 

หากทารกสำลักระหว่างการดื่มนม มันอาจเกิดจากการไหลของนม 

หากคุณให้ลูกดื่มนมจากขวด ควรเลือกขวดและจุกที่ให้นมไหลอย่างช้า ๆ ลองจำเวลาขณะให้นม และอย่าลืมให้ลูกของคุณพักเป็นช่วง ๆ หากคุณให้ลูกดื่มนมจากเต้า ลูกอาจจะมีปัญหากับน้ำนมที่มากเกินไปหรือไหลแรงเกินไปได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)