กินยาคุมแล้วอ้วนจริงหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 2 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กินยาคุมแล้วอ้วนจริงหรือไม่

ว่าด้วยเรื่องของ “ยาคุมกำเนิด” มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิธีการวางแผนชีวิตครอบครัวได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งไม่ใช้แค่ส่งผลดีต่อครอบครัวที่ยังไม่พร้อม แต่ยังส่งผลต่อการควบคุมประชากรโลกให้มีอัตราการเกิดที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นต้องเกิดภาวะประชากรล้นโลก เกิดการแก่งแย่งอาหารและทรัพยากรโลกเป็นแน่ แต่เค้าว่ากันว่าการกินยาคุมแล้วอ้วนขึ้น จริงหรือไม่!

ทำไมกินยาคุมแล้วรู้สึกว่าอ้วนขึ้น

หลายคนรู้สึกว่ากินยาคุมแล้วอ้วนขึ้น ตัวบวมขึ้น พอประจำเดือนมาน้ำหนักก็หายไป แต่บางคนอาจขึ้นแล้วไม่ลดเลย จึงเห็นพ้องต้องกันว่าที่อ้วนขึ้นนั้นเป็นเพราะผลจากการทานยาลดน้ำหนักหรือเปล่า?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาคุมกำเนิด ทำงานโดยการยับยั้งการตกไข่ของผู้หญิง และยังช่วยสร้างอุปสรรค์บางอย่างทำให้เชื้ออสุจิที่ผ่านเข้ามานั้นยากที่จะปฏิสนธิได้สำเร็จ ทั้งนี้ต้องอาศัยการทานที่ถูกต้องด้วยนั่นก็คือต้องทานให้ครบทุกเม็ดและควรทานในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันจะทำให้การคุมกำเนิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ยาคุมกำเนิด อาจเกิดผลข้างเคียงบ้างแต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เป็นยาอีกประเภทหนึ่งที่สามารถทานต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี (แต่ทั้งนี้หากทานครบ 3 ปีแล้วควรเว้นอย่างน้อยครึ่งปีแล้วค่อยกลับมาทานใหม่ โดยอาศัยการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นเข้าช่วย) อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการบวมน้ำ

สาเหตุที่แท้จริงของการอ้วนขึ้นเพราะยาคุมกำเนิด

โดยปกติของร่างกายผู้หญิงนั้น จะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งคือหลังเป็นประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์ ร่างกายจะเกิดการสะสมน้ำและอาหารไว้ในร่างกายอัตโนมัติเพื่อให้เตรียมตัวให้พร้อมหากเกิดการปฏิสนธิ น้ำและอาหารเหล่านั้นจะกลายมาเป็นที่อยู่และแหล่งอาหารสำคัญของทารกในครรภ์ แต่ถ้าหากไม่เกิดการตั้งครรภ์สิ่งที่สะสมนี้จะค่อย ๆ ลดลงและกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

และนี่เองเป็นที่มาของอาการบวมน้ำของคนที่กินยาคุม ทำให้รู้สึกว่าเมื่อกินยาคุมแล้วอ้วนขึ้น สภาวะบวมน้ำนี้อาจเกิดขึ้นได้สำหรับบางคนค่ะ หลายคนเรียกว่าการถูกกับยาคุมกำเนิด เพราะยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะเป็นการคุมฮอร์โมนในระดับที่สูง ผลที่เกิดขึ้นอาจมีอาการบวมน้ำหรือไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มขึ้น แต่โดยปกติจะหายไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ทำให้เราอ้วนแต่อย่างใด

กลัวว่ากินยาคุมแล้วอ้วน จะควบคุมอย่างไรดี

  • กินยาคุมฮอร์โมนแบบต่ำ ยาคุมมีหลากหลายประเภท หากพูดถึงในระดับของฮอร์โมนนั้นจะมีฮอร์โมนปริมาณที่สูงและต่ำ หากสาว ๆ กลัวกินยาคุมแล้วอ้วนแนะนำให้เลือกยี่ห้อที่มีปริมาณฮอร์โมนแบบต่ำ คือมีเอสโตรเจนในปริมาณ 0.02 mg ซึ่งจะช่วยลดภาวะข้างเคียงจากอาการบวมน้ำเพราะยาคุมได้
  • ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ต้องยอมรับว่าผู้หญิงหลายคนที่เมื่อมีครอบครัวแล้วมักจะเริ่มปล่อยตัวอีกครั้ง ไม่เหมือนกับช่วงแรกที่เป็นแฟนกัน ประกอบกับช่วงกินยาคุมจึงทำให้รู้สึกว่าอ้วนขึ้น แม้แต่แพทย์ยังแนะนำว่าให้ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเพราะไม่ได้เป็นเพียงการควบคุมน้ำหนักเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาวซึ่งสำคัญมาก
  • คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น สำหรับบางคนที่เกิดอาการบวมเพราะยาคุมอย่างมากจนกังวล แนะนำให้ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การใส่ห่วง หรือถ้าหากเป็นคนที่ความจำดีก็ใช้วิธีการนับรอบเดือนก็ถือเป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติได้วิธีหนึ่ง

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ก็คงจะช่วยให้สาว ๆ หลายคนสรุปประเด็นที่ถกเถียงกันมานานได้ว่าการใช้ยาลดความอ้วนไม่ได้ทำให้ผู้หญิงน้ำหนักขึ้นแต่อย่างใด จะมีบ้างก็แค่ช่วงสั้น ๆ ซึ่งเป็นเพียงแค่การบวมน้ำไม่ใช่การสะสมของแป้งหรือไขมัน ฉะนั้นสาว ๆ ที่กลัวอ้วนแนะนำให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายด้วยซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหลายคนก็เผลอปล่อยตัวทำตามใจอยาก ทำให้น้ำหนักขึ้นแล้วไม่ค่อยอยากจะลงนั่นเอง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to lose weight on birth control. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322448)
Contraception: Do hormonal contraceptives cause weight gain?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK441582/)
Do Birth Control Pills Cause Weight Gain? We Asked Doctors to Explain. Health.com. (https://www.health.com/condition/birth-control/birth-control-weight-gain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)