การตรวจระบบทางเดินหายใจ

ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจอาจส่งผลอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่มีการป้องกันและรักษาที่ถูกต้องทันเวลา
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การตรวจระบบทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิต หากเกิดความผิดปกติอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ โดยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคปอด เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด และยังเป็นในอันดับต้นๆ ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลก ดังนั้นการตรวจเพื่อประเมินระบบทางเดินหายใจอย่างละเอียดและถูกต้อง จะช่วยลดความอันตราย ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

โรคในระบบทางเดินหายใจเกิดจากอะไร?

สาเหตุหลักๆ ของการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา โปรตัวซัว และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการแพ้
  • การหายใจเอาสารพิษหรือสารเคมี เช่น ไอระเหยของกรด ไอระเหยของโลหะหนัก เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่หรือสารเสพติดผ่านทางระบบหายใจ
  • การเกิดอุบัติเหตุที่เกิดการกระแทกอย่างแรงบริเวณอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดทะลุจากอุบัติเหตุ

อาการเบื้องต้นของโรคระบบทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง?

อาการเบื้องต้นที่พบเมื่อเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

สิ่งที่ควรได้รับเมื่อตรวจประเมินระบบทางเดินหายใจ

โดยทั่วไปการตรวจระบบทางเดินหายใจเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของระบบทางเดินหายใจ มีขั้นตอนดังนี้

  1. การพูดคุยซักประวัติ เกี่ยวกับอาการสำคัญ ประวัติสุขภาพในปัจจุบัน ประวัติเจ็บป่วยในอดีต ประวัติสุขภาพครอบครัว ประวัติส่วนตัว สิ่งแวดล้อม และการเดินทาง
  2. การสังเกตอาการอื่นๆ ประกอบการวินิจฉัยโรค เช่น สังเกตสีผิว ลักษณะของนิ้วปุ่ม เป็นต้น
  3. การตรวจร่างกาย โดยใช้เทคนิคการดู คลำ เคาะ และฟัง ตามลำดับ รวมถึงมีการตรวจจมูกจากลักษณะภายนอก แพทย์จะใช้ไฟฉายส่องดูลักษณะภายในรูจมูก ตรวจหลอดลมโดยใช้การคลํากลางคอด้านหน้า และตรวจทรวงอกและปอด โดยใช้เทคนิคการดู คลำ เคาะ และฟัง ตามลำดับ เริ่มจากส่วนบนลงมาส่วนล่างของทรวงอก เปรียบเทียบความแตกต่างของทรวงอกและปอด
  4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเสมหะ การตรวจโลหิตวิทยา
  5. การตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่บ่อยๆ ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพปอด การส่องกล้องเข้าทางหลอดลม และเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)

การตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง?

การตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เพื่อวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคในระบบทางเดินหายใจ ดังนี้

  • การตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
    เป็นการตรวจความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องอก ได้แก่ ปอด หัวใจ และกระดูก รวมถึงร่องรอยความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วย เช่น อาการไอเรื้อรัง อาการไอออกมาเป็นเลือด อาการหายใจลำบากหรือติดขัด อาการปวดภายในช่องอก อาการบาดเจ็บภายในช่องอก เป็นต้น
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
    เป็นการตรวจเพื่อหาการบาดเจ็บ ความเสียหายของอวัยวะภายใน ภาวะเลือดออก การไหลเวียนของเลือด การเกิดลิ่มเลือด รอยแตกร้าวของกระดูก ภาวะสมองขาดเลือด รวมถึงเนื้องอกและเนื้อร้าย วิธีนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose computed tomography หรือ LDCT)
    เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้แสงเอกซเรย์น้อยกว่าปกติ เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี และทำให้เห็นภาพชัดเจนแบบ 3 มิติ วิธีนี้เหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด และยังสามารถระบุจุดหรือก้อนเนื้อที่อยู่ในปอดได้
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (Biopsy)
    เป็นการตัดชิ้นเนื้อจากเนื้องอกหรืออวัยวะที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยว่าชิ้นเนื้อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยการตัดชิ้นเนื้อสามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อจนถึงการทำการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวทางการรักษาของแพทย์
  • การส่องกล้องตรวจหลอดลมและการตัดชิ้นเนื้อ (Bronchoscopy)
    เป็นการตรวจดูกล่องเสียง หลอดลมคอ และหลอดลม โดยส่องกล้องผ่านทางจมูก หรือปาก ซึ่งยังสามารถตัดเนื้อเยื่อออกมาเพื่อตรวจดูลักษณะของเซลล์ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป วิธีนี้เหมาะสำหรับการดูก้อนเนื้องอก ดูการอุดกั้น ตำแหน่งเลือดออก หรือสิ่งแปลกปลอมในท่อหลอดลม ช่วยวินิจฉัยมะเร็งหลอดลม วัณโรคปอด และความผิดปกติอื่นๆ และรักษาภาวะถุงลมปอดรั่วได้
  • การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function testing)
    ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของปอดและทางเดินหายใจ โดยสามารถบอกปริมาณอากาศที่ผ่านเข้าออกปอด และปริมาณของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายโดยสามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขและกราฟ วิธีนี้เหมาะสำหรับการตรวจหาความผิดปกติของระบบหายใจ ประเมินความรุนแรงของโรคปอด เฝ้าติดตามโรค ประเมินการตอบสนองต่อยา ประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด และยังสามารถประเมินผลกระทบของอาชีพและสิ่งแวดล้อมต่อสมรรถภาพปอดอีกด้วย
  • การทดสอบความไวของหลอดลมโดยใช้สารกระตุ้นเมทาโคลีน (Methacholine)
    เป็นการทดสอบความไวของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้น ได้แก่ สารเมทาโคลีน (Methacholine) เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดหรือไม่ โดยวิธีการนี้จะใช้เมื่อทดสอบด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพปอดแล้วยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้

ใครบ้างควรได้รับการตรวจระบบทางเดินหายใจ?

ผู้ที่ควรรับการตรวจระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการทางระบบหายใจและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง

ผู้ที่มีอาการทางระบบหายใจ สังเกตได้จาก

  • มีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะไอมีเสมหะ ไอมีเลือดออกมาด้วย
  • เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะตรวจทางหัวใจแล้วปกติ หรือหายใจมีเสียงหืด
  • เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะหายใจแล้วเจ็บมากขึ้น

ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ได้แก่

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ นัดยานัตถุ์ ใช้ยาเสพติด
  • ทำงานในโรงงานที่มีมลภาวะ มีควัน มีก๊าซเคมีที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจ และปอดเมื่อหายใจเข้าไป
  • ทำงานในเหมืองแร่ โรงโม่หิน โรงผลิตซีเมนต์
  • ทำงานในบรรยากาศ และอาจเปื้อนปนหายใจเอาสารกัมมันตภาพเข้าไป
  • โรงงานอุตสาหกรรมมากมาย ที่ต้องใช้สารแอสเบสตอส (Asbestos fiber) เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ตู้เย็น ฯลฯ
  • ผู้ได้รับการรักษาโดยการฉายแสงบริเวณทรวงอก
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่ำ
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่อยู่ในระยะติดต่อ

วิธีดูแลและป้องกันตัวเองให้ไกลจากโรคระบบทางเดินหายใจ

การป้องกันตนเองจากโรคในระบบทางเดินหายใจที่ดีควรป้องกันที่ทางผ่านของเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวทางในการป้องกัน ดังนี้

  1. รักษาสุขภาพให้ดี โดยการรับประทานอาหาร พักผ่อน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. มั่นทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า และสถานที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ
  3. แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อป้องกันการเป็นหวัด
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ สถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
  5. สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่าย เช่น โรงพยาบาลหรือสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
  6. ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
  7. ไม่ใช้สิ่งของปนกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  8. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ไม่อับชื้นแออัด โดยเฉพาะสถานที่ที่มีควันบุหรี่
  9. ระวังการกระแทกอย่างแรงกับอวัยวะการหายใจ ได้แก่ หน้าอก และปอด

ตรวจทางเดินหายใจ มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร?

ค่าใช้จ่ายในการตรวจระบบทางเดินหายใจ ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่เลือกเข้ารับบริการและเทคนิคการตรวจวินิจฉัย สำหรับแพ็กเกจการตรวจระบบทางเดินหายใจทั่วไป มีการตรวจเอกซเรย์ปอดและการตรวจสมรรถภาพปอดด้วย จะมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 1,200 บาท และจะเพิ่มขึ้นตามรายการการตรวจวินิจฉัย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน,โรคระบบทางเดินหายใจและติดเชื้อ (https://www.paolophahol.com/th-TH/Clinic/Details/โรคระบบทางเดินหายใจและติดเชื้อ).
โรงพยาบาลกรุงเทพ, การตรวจหาโรคปอดในระยะแรกเริ่ม (https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/early-detection-of-lung-disease).
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, การประเมินระบบหายใจ (http://www.nurse.nu.ac.th/web11/E-learning/BCPN-CAI/การประเมินระบบหายใจ.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)