กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

มีบุตรยาก ร่างกายมีปัญหา การทำเด็กหลอดแก้วอาจช่วยคุณได้ อ่านรายละเอียดก่อนตัดสินใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

ภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่แต่งงานกันมานาน โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุอย่างเช่นอายุมากและไข่หรืออสุจิไม่แข็งแรง ดังนั้นวิวัฒนาการทางการแพทย์จึงได้มีการทำ IVF หรือที่เรียกกันว่า “การทำเด็กหลอดแก้ว”  ซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสมีบุตรได้ง่ายขึ้น จึงนับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก

IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้ว คืออะไร?

IVF (In – vitro Fertilization) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ก็คือการนำไข่ของฝ่ายหญิงกับอสุจิของฝ่ายชายมาผสมกันนอกร่างกาย เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นจึงจะนำกลับคืนเข้าสู่มดลูก เพื่อให้เจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ของฝ่ายหญิงตามปกติต่อไป 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยจากขั้นตอนที่ขณะผสมต้องนำไข่และอสุจิผสมกันในหลอดทดลองที่มีลักษณะเป็นแก้ว จึงเป็นที่มาของการเรียกเด็กที่เกิดจากการผสมและปฏิสนธิแบบนี้ว่า “เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะกับใครบ้าง?

การทำเด็กหลอดแก้วไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากคู่ไหนมีบุตรได้ตามปกติด้วยวิธีธรรมชาติ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ แต่เด็กหลอดแก้วอาจเหมาะกับคนที่มีความผิดปกติดัง ต่อไปนี้

  • คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันหรือถูกทำลาย
  • ฝ่ายชายเชื้ออสุจิมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรง หรือเคลื่อนที่ไม่ดี
  • คู่สมรสที่พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมาแล้ว 3 ปี แต่ยังคงไม่สามารถมีบุตรได้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คู่สมรสที่ได้รับการทำด้วยวิธี IUI มาแล้ว แต่ไม่สำเร็จ

ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว?

  1. ฝ่ายหญิงจะต้องควบคุมให้ประจำเดือนมาตามปกติ จากนั้นแพทย์จะฉีดยากระตุ้นไข่ให้ฝ่ายหญิงประมาณ 10 – 12 วัน อย่างต่อเนื่อง

  2. ดูผลของการตกไข่และทำการฉีดฮอร์โมนก่อนไข่ตกประมาณ 34 – 38 ชั่วโมง

  3. แพทย์จะทำการวางยาสลบ เพื่อทำการดูดไข่ออกจากฝ่ายหญิงด้วยการใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด โดยใช้การอัลตราซาวด์ร่วมด้วย ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที เมื่อเก็บไข่เสร็จเรียบร้อย แพทย์จะรักษาฝ่ายหญิงด้วยการใช้ฮอร์โมนสอดหรือฉีดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเตรียมตัวฝ่ายหญิงให้พร้อมสำหรับการย้ายตัวอ่อนที่ผสมแล้วเข้ามาเพื่อการตั้งครรภ์ต่อไป

  4. นำไข่ที่ได้มาผสมกับอสุจิ พร้อมทั้งเลี้ยงและควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ

  5. ไข่และอสุจิที่ผสมกันแล้วจะกลายเป็นตัวอ่อน และพร้อมย้ายเข้าโพรงมดลูกภายใน 3 – 5 วัน หลังการเก็บไข่ ซึ่งขั้นตอนนี้ฝ่ายหญิงไม่ต้องงดอาหารหรือน้ำ และไม่ต้องดมยาสลบ โดยใช้เวลา 30 นาที ก็เสร็จเรียบร้อย

  6. เมื่อฝ่ายหญิงได้รับตัวอ่อนให้เข้าไปฝังในโพรงมดลูกแล้ว จะต้องกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจการตั้งครรภ์ภายใน 12 – 14 วัน และแพทย์จะยังคงให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่อไปอีก 8 – 10 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะการแท้ง

การเตรียมตัวก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว?

สามีภรรยาจะต้องไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับทราบถึงข้อจำกัด รวมทั้งรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน โดยถ้าเป็นฝ่ายหญิงจะต้องมีการตรวจร่างกายอย่างเช่นการทำงานของรังไข่และคัดกรองภาวะติดเชื้อ ส่วนฝ่ายชายจะต้องตรวจดูคุณภาพของอสุจิ

การเตรียมตัวหลังการทำเด็กหลอดแก้ว?

  • ภายใน 3 – 4 วัน หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ฝ่ายหญิงควรพักผ่อนมากๆ และไม่ควรทำงานหนัก เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายหนักๆ หรือการเดินทางไกล

  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์และงดการสวนล้างช่องคลอด

  • ไม่รับประทานยานอกเหนือจากแพทย์สั่ง และควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก หรือมีตกขาวมากผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ที่ดูแลทันที

ราคาของการทำเด็กหลอดแก้ว?

การทำเด็กหลอดแก้วยังคงมีราคาค่อนข้างแพง ในการทำต่อครั้งราคาจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 – 300,000 บาท โดยมีสถานที่ให้บริการของรัฐ เช่น รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.ศิริราช สำหรับโรงพยาบาลของเอกชน เช่น รพ.บำรุงราษฎร์ รพ. สมิติเวช

การทำ IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้วเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่งผลให้คู่สมรสสามารถสมหวังได้บุตรตามปรารถนา แต่ทั้งนี้ฝ่ายหญิงก็ควรทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด หรือไม่กังวลจนมากเกินไป โดยพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมให้การฝังของตัวอ่อนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และลดความผิดปกติต่างๆ พร้อมจะเจริญเป็นลูกน้อยที่แข็งแรงต่อไป


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
In vitro fertilization (IVF). MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007279.htm)
In Vitro Fertilization (IVF): Side Effects and Risks. American Pregnancy Association. (https://americanpregnancy.org/infertility/in-vitro-fertilization/)
In Vitro Fertilization (IVF): Risks, Success Rate, Procedure, Results. WebMD. (https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/guide/in-vitro-fertilization#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เด็กหลอดแก้ว คืออะไร รู้ให้ลึก...ก่อนตัดสินใจทำ!
เด็กหลอดแก้ว คืออะไร รู้ให้ลึก...ก่อนตัดสินใจทำ!

ใครควร ใครไม่ควรทำเด็กหลอดแก้ว หลักการพิจารณาก่อนตัดสินใจทำ

อ่านเพิ่ม