จะทำอย่างไรเมื่อลูกนอนฝันร้าย

สาเหตุของการฝันร้ายในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อแก้ไขและดูแลลูกให้ดียิ่งขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
จะทำอย่างไรเมื่อลูกนอนฝันร้าย

เด็กจะเริ่มนอนหลับแล้วมีความฝันได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีจะไม่สามารถแยกระหว่างความฝันและความจริงได้ ดังนั้นหลายครั้งที่ลูกของเราอาจจะผวาหรือร้องไห้กลางดึกเพราะว่าฝันร้าย วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าความฝันเกิดจากอะไร และเราจะรับมือกับฝันร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกของเราได้อย่างไร

ความฝันของเด็กจะเกิดจากความรู้สึกหรือความคิดของเด็กต่อสิ่งที่ได้พบเจอในตอนกลางวัน เช่น หากเด็กได้ชมภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ที่มีภาพหรือเสียงที่น่ากลัว หรือมีความรุนแรง พอถึงเวลานอนตอนกลางคืนเด็กมักจะฝันร้าย ถ้าเด็กอายุยังน้อยจะตื่นขึ้นมาร้องไห้จนกว่าพ่อแม่จะมาปลอบโยน เด็กที่อายุ 2-5 ปี ที่แยกห้องนอนกับแม่แล้วจะวิ่งมาหาพ่อแม่และขอนอนด้วย แต่หากโตกว่านี้ก็จะรู้ว่าเป็นเพียงฝันร้ายก็จะนอนหลับต่อได้เอง

ดังนั้นพ่อแม่ควรเอาใจใส่เรื่องการดูโทรทัศน์ของเด็ก ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีชมภาพที่น่ากลัว มีความรุนแรง ควรให้ลูกได้ชมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ให้ความรู้ สร้างเสริมปัญญา จริยธรรมและความเมตตาให้กับเด็กดีกว่า และควรให้เข้านอน และตื่นนอนตรงเวลา

แต่ถ้าลูกฝันร้าย พ่อแม่ควรจะปลอบให้ลูกหายจากความกลัวโดยกอดลูกเอาไว้และพูดกับลูกช้าๆ เมื่อลูกสงบลงแล้วก็พูดกับลูกด้วยความอ่อนโยนอีกครั้ง ถ้าลูกหิวก็ให้ทานอาหารอ่อนๆ หรือดื่มนมอุ่นๆ และควรให้ลูกกลับไปนอนที่ห้องของตัวเอง พอเช้ามาควรจะคุยกับลูกเรื่องความฝันที่ลูกได้เจอมา พยายามพูดให้ลูกได้ผ่อนคลายและสบายใจ สร้างความเข้มแข็งและเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น เพียงเท่านี้ฝันร้ายที่ลูกกลัวก็จะผ่านไปได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Elana Pearl Ben-Joseph, Nightmares (https://kidshealth.org/en/pare...)
Children and Bedtime Fears and Nightmares (https://www.sleepfoundation.or...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)