กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินให้ปลอดภัย และเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ

หากยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีทางป้องกันวิธีอื่น ยาคุมฉุกเฉินสามารถช่วยคุณได้
เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
วิธีกินยาคุมฉุกเฉินให้ปลอดภัย และเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีคุมกำเนิดที่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน โดยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ราว 85%
  • ยาคุมฉุกเฉิน 1 กล่อง มีตัวยา 2 เม็ด ควรรับประทาน ทั้ง 2 เม็ด โดยรับประทานเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และรับประทานเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานเม็ดแรกแล้วซึ่งจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพสูงมาก 
  • ยาคุมฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูงมาก เนื่องจากจะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกจึงมีผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวผู้ใช้ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง
  • การใช้ยาคุมฉุกเฉินหลายครั้งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้ จึงไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นประจำ หรือใช้เป็นยาคุมกำเนิดในระยะยาว หรืออาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนครอบครัวให้ตรงตามความต้องการก่อน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน

"ยาคุมฉุกเฉิน” เป็นวิธีคุมกำเนิดที่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดมาก่อน หรือไม่เคยฉีดยาคุมกำเนิดมาก่อน

สำหรับประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ที่ราว 85% หมายความว่า แม้จะรับประทานยาแล้วก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์อยู่ เพียงแต่โอกาสจะน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิด นอกจากนี้การรับประทานยาคุมฉุกเฉินยังอาจมีผลข้างเคียงตามมาจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินให้มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

7 ข้อควรรู้ก่อนรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

1. ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อได้

ยาชนิดนี้มีประโยชน์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้นแต่ไม่สามารถป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์ได้ หากต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรใช้วิธีสวมถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีจะดีที่สุด

2. ยาคุมฉุกเฉิน มีผลข้างเคียงสูงมาก

ยาคุมฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูงมาก เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงมีผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดความผิดปกติต่อผู้ใช้ตามมาได้ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน หากรับประทานบ่อยๆ อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

3. ต้องรับประทานทันที หลังมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

ยาคุมฉุกเฉินต้องรับประทาน หลังมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน 72 ชั่วโมง เพราะหากพ้นจากนี้ไปแล้วยาคุมฉุกเฉินอาจไม่มีผลในการป้องกันการตั้งครรภ์

4. ควรใช้ในยามฉุกเฉินจริง ๆ

ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้นเพราะอาจไปกระตุ้นเซลล์มะเร็ง หรืออาจส่งผลกระทบต่อรังไข่และมดลูกได้

5. ประสิทธิภาพไม่สูงเท่ายาคุมกำเนิดแบบอื่น

ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินจะไม่สูงเท่ายาคุมกำเนิดแบบอื่นคือ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เพียง 85-95% จึงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ ทางที่ดีควรรับประทานยานี้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์

6. ต้องรับประทานตามเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

ยาคุมฉุกเฉิน 1 กล่อง มีตัวยา 2 เม็ด ควรรับประทาน ทั้ง 2 เม็ด โดยรับประทานเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และรับประทานเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานเม็ดแรกแล้วซึ่งจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ก็มีผลข้างเคียงมากเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

7. ทำให้ขาดแคลเซียม

จากผลการวิจัยระบุว่า ร่างกายของผู้หญิงที่รับประทานยาคุมฉุกเฉินต้องการปริมาณแคลเซียมมากถึง 1,000 มิลลิกรัม หากได้รับแคลเซียมน้อยอาจมีผลเสียต่อมวลกระดูกมากคือ ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกแตกหักง่าย และเปราะง่ายเมื่อมีอายุมากขึ้น

ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมเฉินอาจเพิ่มปริมาณแคลเซียมด้วยการดื่มนมสดวันละ 3 แก้ว รับประทานโยเกิร์ตวันละ 3 ถ้วย รับประทานเนย หรือซีเรียล หรือดื่มน้ำผลไม้แบบเสริมแคลเซียมวันละ 3 มื้อ

จะเห็นได้ว่า ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่ได้มีแค่ประโยชน์อย่างเดียว แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในภายหลังได้ด้วย หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ควรป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่นดีกว่า 

ที่สำคัญผู้หญิงควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินแค่ไม่เกิน 2 ครั้งในชีวิตเท่านั้น หากเกินกว่านี้อาจเป็นอันตรายได้

รูปแบบของยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมฉุกเฉินแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

1. ยาเม็ดฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ตัวยาประกอบด้วยฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเข้มข้น
  • ยี่ห้อที่มีขายในประเทศไทย เช่น Madonna, Postinor และ Mary Pink
  • รับประทานครั้งละ 2 เม็ดพร้อมกัน โดยรับประทานให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งรับประทานช้า ยิ่งมีโอกาสตั้งครรภ์มาก และต้องรับประทาน ภายใน 5 วันหลังมีเพศสัมพันธ์
  • หากใช้อย่างถูกวิธีจะสามารถช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้เหลือเพียง 15%

2. ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนคู่

  • สามารถนำมาใช้เป็นยาคุมฉุกเฉินได้ โดยต้องคำนวณขนาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในการรับประทานแต่ละครั้งให้ได้ 100 ไมโครกรัม
  • รับประทานทั้งหมด 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง
  • ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ยาคุมกำเนิดยี่ห้อ Yasmin มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 30 ไมโครกรัมต่อ 1 เม็ด เพราะฉะนั้นให้รับประทานครั้งละ 4 เม็ด อีก 12 ชั่วโมงถัดมาก็รับประทานอีกสี่เม็ด
  • หากใช้อย่างถูกวิธีจะมีประสิทธิภาพช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ให้เหลือเพียง 13%

นอกจากยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดที่หลายคนอาจคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ปัจจุบันยังมียาคุมฉุกเฉินอีกชนิดหนึ่งด้วย นั่นคือ “ห่วงอนามัยคุมกำเนิด” ทำหน้าที่ทำลายไข่และเชื้ออสุจิไม่ให้ปฏิสนธิกัน 

วิธีนี้สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากถึง 99% ซึ่งถือว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่ายาคุมแบบเม็ดเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม การใช้งานคือ การสอดเข้าไปในช่องคลอด ดังนั้นจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินด้วยวิธีนี้

วิธีรับประทานยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้อง

หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกให้เร็วที่สุด ไม่ควรให้นานเกิน 120 ชั่วโมง หรือ 5 วัน หรือถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน หรือถ้าดีที่สุดก็ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์

ที่สำคัญหลังจากรับประทานยาเม็ดแรกไปแล้ว 12 ชั่วโมง ก็ต้องรับประทานเม็ดที่ 2 ซ้ำอีก 1 เม็ด

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ดพร้อมกันได้ โดยผลลัพธ์ไม่มีความแตกต่างกับการรับประทานครั้งละ 1 เม็ด 2 ครั้ง ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย แต่ในบางรายโดยเฉพาะมือใหม่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

เนื่องจากตัวยาในรูปแบบการรับประทานครั้งเดียวจะมีความแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าการแบ่งรับประทาน 2 ครั้งถึง 2 เท่า

หลังจากที่รับประทานยาไปแล้ว หากมีการอาเจียนออกมาภายในเวลา 2 ชั่วโมง จะต้องรับประทานซ้ำใหม่อีก 1 เม็ดในทันที

หากไม่แน่ใจว่า ควรใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉินแล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นการปรึกษาแบบวีดีโอคอล (เห็นหน้า) หรือจะแค่ปรึกษาทางโทรศัพท์ก็ได้ 

เป็นบริการที่เรียกว่า สะดวกสบาย ตอบโจทย์คนไม่มีเวลา หรือคนขี้อายไม่อยากไปปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์  

ข้อควรระวังในการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

  • การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนตามมาได้ แต่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้อาเจียนกันไว้ก่อน
  • การรับประทานยาคุมฉุกเฉินมากกว่า 2 กล่อง หรือ 4 เม็ดต่อเดือนขึ้นไป อาจทำให้มีผลข้างเคียงกับรังไข่ในระยะยาวได้
  • หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และลืมรับประทาน ยาคุมชนิดปกตินานเกิน 3 วันก็สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้
  • ควรเก็บยาคุมฉุกเฉินเอาไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ หรือมีอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส

คำแนะนำในการใช้ยาคุมฉุกเฉิน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินแม้จะมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้อย่างผิดวิธีก็อาจส่งผลในระยะยาวได้เหมือนกัน จึงมีคำแนะนำในการใช้ยาคุมดังนี้

  • ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนที่จะใช้ยาคุมฉุกเฉิน
  • หากจะรับประทานยาคุมฉุกเฉินตามกำหนดอย่างถูกต้องแล้วยังเกิดการตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ได้รับผลข้างเคียงใดๆ
  • หากรับประทานยาภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังจากการมีเพศสัมพันธ์จะช่วยป้องกันได้ถึง 85%
  • หากรับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ตัวยาจะออกฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 75-79% (ต้องรับประทานทั้งหมด 2 เม็ด)
  • หากรับประทานยาพ้นจาก 72 ชั่วโมง หรือนานเกินกว่า 72-120 ชั่วโมง จะป้องกันได้เพียงแค่ 60% เท่านั้น
  • หากมีเพศสัมพันธ์หลังจากที่รับประทานยาครบ 2 เม็ดไปแล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ให้สูงมากขึ้น
  • ภายในระยะเวลา 1 เดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้มากกว่า 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 2 กล่องต่อเดือน
  • การใช้ยาคุมฉุกเฉินซ้ำกันหลายครั้งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงตามมาได้ จึงไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นประจำ หรือใช้รับประทานเป็นยาคุมกำเนิดในระยะยาว
  • หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างใช้ยา เช่น ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนไม่มา ให้รีบไปพบแพทย์

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

การรับประทานยาคุมฉุกเฉินอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ส่วนจะมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของบุคคลนั้นๆ ด้วย ผลข้างเคียงจากการรับประทาน ยาคุมฉุกเฉินที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ มีดังนี้

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินจะเข้าไปยับยั้งการตกไข่และเลื่อนการตกไข่ออกไปทำให้ประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ เช่น มาช้ากว่าเดิม หรือมาแบบกะปริบกะปรอย แต่อาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายใดๆ และจะกลับมาเป็นปกติในเดือนต่อไป
  • คลื่นไส้ อาเจียน ยาคุมฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายโดยตรง ภาวะที่ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหันนี้อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน และรู้สึกพะอืดพะอมตลอดเวลาได้ ซึ่งหากอาเจียนมากจนร่างกายอ่อนเพลีย ควรดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ หรืออาจไปพบแพทย์ทันที
  • ปวดศีรษะ ในบางคนที่ร่างกายต่อต้านยาคุม หรือปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนไม่ทัน อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะได้ ซึ่งควรรับประทานยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง
  • ปวดท้อง การรับประทาน ยาคุมฉุกเฉินอาจส่งผลให้มีอาการปวดท้องคล้ายกับตอนมีประจำเดือนได้ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวด
  • เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก กรณีการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นจะเสี่ยงมากในคนที่รับประทานยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ หรือรับประทานยาคุมฉุกเฉินแบบต่อเนื่องแทนยาคุมทั่วไป ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงนี้ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น หากต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว แนะนำให้ใช้วิธีการฉีดยาคุม หรือรับประทานยาคุมแบบทั่วไปจะดีกว่า
  • เสี่ยงเป็นมะเร็ง มีรายงานทางการแพทย์กล่าวว่า ในชีวิตของผู้หญิงไม่ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้ง เพราะยาคุมชนิดนี้จะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เจริญเติบโตและส่งผลให้เกิดมะเร็งในที่สุด โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ยังทำให้มดลูกอ่อนแอและบางลง ซึ่งจะส่งผลต่อการมีบุตรในอนาคตได้เช่นกัน

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินในระยะยาว

หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ยานี้นานเกิน 2 กล่องต่อเดือน ไม่เพียงแต่ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะเทียบยาคุมกำเนิดแบบปกติไม่ได้ แต่ยังมีผลให้รังไข่และเยื่อบุโพรงมดลูกมีความผิดปกติอีกด้วย 

อีกทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อีกด้วย

การเลือกใช้ยาคุมฉุกเฉินแต่ละยี่ห้อ

ในประเทศไทยมียาคุมฉุกเฉินวางจำหน่ายอยู่ด้วยกัน 2 ยี่ห้อ คือ มาดอนน่ากับโพสตินอร์ ซึ่งเป็นยาคุมฉุกเฉินที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ “ลีโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel)” 

ทั้งสองยี่ห้อนี้ต่างก็มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากเป็นยาชนิดเดียวกัน และมีขนาดยาเท่ากัน

ในปัจจุบันได้มีการผลิตยาคุมฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น คือ Ulipristal acetate แต่ยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

รับประทานยาคุมฉุกเฉินจะทำให้อ้วนไหม?

เป็นคำถามที่ผู้หญิงส่วนใหญ่กังวลมาก แต่ความจริงแล้วยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัดว่า ยาคุมฉุกเฉินสามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้หรือเปล่า แต่ตามหลักแล้วยาคุมฉุกเฉินจะรับประทานเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ไม่ได้รับประทานบ่อยๆ เหมือนยาคุมทั่วไปจึงไม่น่าจะมีผลต่อน้ำหนักตัว

แม้ยาคุมฉุกเฉินจะสามารถใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉินได้ดี เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถุงยางอนามัยแตก หรือลืมรับประทานยาคุมกำเนิด แต่ก็ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะมดลูกและระบบสืบพันธุ์

ดังนั้นหากต้องมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยการสวมถุงยางอนามัย หรือรับประทานยาคุมแบบประจำจะดีกว่า ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Emergency contraception (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception), 8 September 2020.
Leung Vivian W.Y. et al. (February 2010). "Mechanisms of action of hormonal emergency contraceptives". Pharmacotherapy. 30 (2): 158–168. doi:10.1592/phco.30.2.158. PMID 20099990.
Cleland K et al. (December 2014). "Emergency contraception review: evidence-based recommendations for clinicians". Clinical Obstetrics and Gynecology. 57 (4): 741–50. doi:10.1097/GRF.0000000000000056. PMC 4216625. PMID 25254919.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)