แบบประเมินประวัติสุขภาพของครอบครัว

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แบบประเมินประวัติสุขภาพของครอบครัว

ประวัติสุขภาพครอบครัว เป็น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการพัฒนาโรคที่ร้ายแรงจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีสมาชิกในครอบครัว เช่น แม่ พ่อ น้องชาย หรือน้องสาวที่เป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน

โครงการโรคเบาหวานแห่งชาติ (National Diabetes Education Program - NDEP) ส่งเสริมให้ทุกครอบครัวใช้ประโยชน์จากการพบปะครอบครัว เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งการทราบประวัติสุขภาพครอบครัวของคุณเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สี่คำถามที่คุณควรถามครอบครัวของคุณเกี่ยวกับประวัติโรคเบาหวานและครอบครัว

การรู้ประวัติสุขภาพครอบครัวของคุณเป็นเรื่องสำคัญ นี่เป็นคำถามที่จะช่วยให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติครอบครัวของคุณเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

1. ทุกคนในครอบครัวมีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือไม่? และใครบ้างที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2?

2. มีคนในครอบครัวได้การวิฉันิจยว่าพวกเขาอาจเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

3. มีคนในครอบครัวที่ได้รับคำเตือนว่าต้องลดน้ำหนักหรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือไม่?

4. แม่ของคุณเป็นภาวะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือไม่?

หากคำตอบของคำถามเหล่านี้คือใช่หรือคุณมีแม่พ่อพี่ชายหรือน้องสาวที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คุณอาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จริงหรือเท็จ? หากบิดามารดาหรือพี่น้องของฉันมีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ฉันมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2:

คำตอบคือจริง - ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากสำหรับโรคนี้ หากคุณมีแม่ พ่อพี่ชายหรือน้องสาวที่เป็นโรคเบาหวานคุณก็เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ซึ่งถึงแม้ว่าคุณจะมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็มีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น หากคุณอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนัก 5 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวของคุณ (เช่น 4 กิโลกรัม หากคุณชั่งน้ำหนักได้ 75 กิโลกรัม) โดยการออกกำลังกายต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน ความถี่ห้าวันต่อสัปดาห์ และการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยป้องกันหรือชะลอโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ได้

จริงหรือเท็จ? หากแพทย์ได้แจ้งต่อแม่ของฉันว่ามีความเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานหรือว่าเธอมีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน หมายถึงว่า แม่จะเป็นเบาหวานเร็ว ๆ นี้แน่นอน

เท็จ - การศึกษาพบว่าคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานหรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน สามารถย้อนความผิดปกติกลับไปทำให้ชะลอ หรือแม้กระทั่งป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานได้ โดย การลดน้ำหนัก 5 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวของคุณ (เช่น 4 กิโลกรัม หากคุณชั่งน้ำหนักได้ 75 กิโลกรัม) โดยการออกกำลังกายต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน ความถี่ห้าวันต่อสัปดาห์ และการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สำหรับบางคนที่เป็นภาวะก่อนเบาหวาน การเริ่มดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆก่อนเป็นโรค จะช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ด้วย

จริงหรือเท็จ? โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดขึ้นในครอบครัวของฉันดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่ฉันสามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

เท็จ - แม้ว่าประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการพัฒนาโรคเบาหวาน แต่ความเสี่ยงอีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากวิถีการใช้ชีวิต ภาวะอ้วน หรือการมีน้ำหนักตัวเกิน และการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงการออกกำลังกายไม่เพียงพอ ทำให้คุณเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากขึ้นมากอย่างมาก การลดน้ำหนัก 5 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวของคุณ (เช่น 4 กิโลกรัม หากคุณชั่งน้ำหนักได้ 75 กิโลกรัม) โดยการออกกำลังกายต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน ความถี่ห้าวันต่อสัปดาห์ และการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การปรับพฤติกรรมและฝึกสุขอนามัยที่ดีสำหรับตนเอง หรือครอบครัวเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกคน

จริงหรือเท็จ? แม่ของฉันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะที่เธอตั้งครรภ์อยู่กับฉันดังนั้นทั้งเธอและฉันจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเบาหวาน

จริง - เมื่อผู้หญิงเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ หรือเรียกว่าภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เธอจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานในช่วงที่เหลือของชีวิต นอกจากนี้ลูกของเธอก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคอ้วนและการพัฒนาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในช่วงที่เหลือของชีวิตเช่นกัน แต่มีหลายวิธีในการลดความเสี่ยงนี้สำหรับทั้งแม่และเด็กดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

 

https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/risk-factors-type-2-diabetes/family-health-history-quiz

 


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Family interventions to improve diabetes outcomes for adults. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4624026/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)