กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

หมู่เลือด Rh+ และ Rh- สำคัญกับทารกในครรภ์อย่างไร

สามี-ภรรยาควรตรวจเลือดให้ละเอียดก่อนครั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิตของทารก
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 31 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หมู่เลือด Rh+ และ Rh- สำคัญกับทารกในครรภ์อย่างไร

พูดถึงหมู่เลือด เรามักจะคุ้นเคยกับการเรียก เลือดกรุ๊ปเอ บี โอ และเอบี ซึ่งเรียกว่า "หมู่เลือดระบบ ABO" อย่างไรก็ดี ยังมี "หมู่เลือดระบบอาร์เอชด้วย (Rh system)" โดยแบ่งเป็น Rh+ (Rh  positive)  และ Rh- (Rh negative)  คนเอเชียประมาณ 98.3% จะมีหมู่เลือดแบบ Rh+ ส่วนที่เหลือ 1.7% จะมีหมู่เลือดแบบ Rh-  สำหรับคนไทยประมาณ 99.7% จะมี Rh+  เหลือเพียง 0.3 เท่านั้นที่มีหมู่เลือด  Rh- 

Rh+ กับ Rh- สำคัญอย่างไร 

มีความสำคัญมากโดยเฉพาะในการให้เลือด  เพราะหากได้รับหมู่เลือดไม่ตรงกับหมู่เลือดของตนเอง ร่างกายจะตอบสนองต่อหมู่เลือดที่ได้รับเสมือนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายผู้ได้รับเลือด  โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด ความไม่เข้ากันของหมู่เลือดในระบบ Rh ของแม่และลูกอาจทำให้เม็ดเลือดแดงของทารกแตกเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตั้งครรภ์กับความสำคัญของหมู่เลือด Rh+ และ Rh-

สามีภรรยาหลายคู่ที่อยากมีลูกแต่ไม่ทราบว่า ตนเองกับคู่มีหมู่เลือด Rh+ และ Rh- ไม่ตรงกัน หรือเพราะไม่ได้ศึกษาและเตรียมวางแผนก่อนที่จะมีบุตรอย่างละเอียด อาจจะเจอปัญหาเมื่อภรรยาตั้งครรภ์แล้วทารกเสียชีวิตได้  หากวางแผนก่อนการตั้งครรภ์แพทย์จะเจาะเลือดในช่วงฝากครรภ์ช่วงแรก ซึ่งรวมไปถึงการตรวจหมู่เลือด Rh+ และ Rh-

โดยปกติหากสามีและภรรยามีหมู่เลือด Rh ตรงกัน เมื่อภรรยาเริ่มตั้งครรภ์ เด็กทารกก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่สมมติว่า หากภรรยามีหมู่เลือดแบบ Rh- สามีมีหมู่เลือดแบบ Rh+ และหากลูกที่เกิดมามีหมู่เลือดแบบ Rh+   ในครรภ์แรกเลือดของทารกที่ปนเปื้อนสู่เลือดของมารดาจะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาสร้างแอนติบอดีต่อแอนติเจน RhD ซึ่งในครั้งแรกจะสร้างแอนติบอดีอายุสั้น IgM ซึ่งไม่สามารถผ่านรกได้จึงยังไม่ส่งผลต่อทารกในครรภ์นั้น 

แต่หลังจากนั้นระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำแอนติเจนดังกล่าวไว้ หากมีการกระตุ้นในครั้งต่อไป หรือหากในครรภ์ที่สองของมารดาที่มีหมู่เลือดแบบ Rh-  มีลูกที่มีหมู่เลือดแบบRh+  อีก  จะทำให้ร่างกายของมารดาสร้างแอนติบอดีระยะยาว IgG ปริมาณมาก โดยแอนติบอดี IgG นี้สามารถผ่านรกได้และอยู่ในร่างกายได้นาน  ดังนั้นจึงส่งผลต่อทารกทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงทารกแตกและเกิดภาวะซีดตามมา ได้   หากรุนแรงมากอาจเกิดภาวะทารกบวมน้ำและเสียชีวิตได้   อย่างไรก็ดี หากในครรภ์ที่สองของมารดาที่มีหมู่เลือดแบบ Rh-  แต่มีลูกที่มีหมู่เลือดแบบRh- เช่นเดียวกันก็ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น 

การรักษา

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ แพทย์สามารถวินิจฉัยและช่วยเหลือให้ทารกปลอดภัยได้แล้ว ในกรณีที่แม่ไม่เคยมีสารต่อต้านในร้างกายมาก่อน โดยแพทย์จะให้สารยับยั้งการทำงานของสารต่อต้าน Rh+ เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และอายุครรภ์ 40 สัปดาห์หากยังไม่คลอด และให้อีกครั้งหลังจากคลอด 72 ชั่วโมง 

นอกจากนั้นในระหว่างช่วงตั้งครรภ์ แพทย์จะเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจเลือดของทารก หากเป็น Rh+ ก็จะมีการตรวจสอบปฏิกิริยาต่อต้านของเลือดของแม่เป็นระยะๆ เพื่อสังเกตทารกในครรภ์และดูแลอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่แม่เคยมีสารต่อต้านในร้างกายมาก่อน สารยับยั้งจะไม่ช่วยแม่ โดยแพทย์จะไม่ให้สารยับยั้งแต่จะใช้วิธีการตรวจเลือดแทนเพื่อรักษารูปแบบอื่นต่อไป

วิธีป้องกัน

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด แนะนำให้สามีและภรรยาที่วางแผนจะมีบุตร ทั้งคู่ควรจะเข้ารับการตรวจเลือดอย่างละเอียดเสียก่อนโดยเฉพาะ หมู่เลือดระบบอาร์เอชด้วย (Rh system)  เพื่อเตรียมวางแผนรับมือ ยับยั้งโรคที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อความปลอดภัยของทารกและมารดานั่นเอง 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเป็นและเหมาะสมสําหรับหญิงตั้งครรภ์
Management and prevention of red cell alloimmunization in pregnancy: a systematic review.,Moise KJ Jr, Argoti PS, Obstet Gynecol. 2012;120(5):1132.
Rh factor blood test (https://www.mayoclinic.org/tes...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)