ปลาแซลมอนเลี้ยงในฟาร์ม ทานแล้วมีอันตรายจริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปลาแซลมอนเลี้ยงในฟาร์ม ทานแล้วมีอันตรายจริงหรือ?

นักชิมอาหารญี่ปุ่นคงไม่มีใครไม่รู้จักปลาแซลมอนเนื้อปลาสีส้มๆ แสนอร่อย ที่นิยมนำมาทำเมนูปลาดิบ และเดี๋ยวนี้ยิ่งหารับประทานง่ายกว่านั้น เพราะมีแม้กระทั่งในร้านหมูกระทะตลอดจนตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปในราคาที่ไม่แพง มีเงินแค่ 300-400 บาท ก็หาซื้อได้ อาจเป็นเพราะเดี๋ยวนี้มีการเลี้ยงปลาแซลมอนกันเป็นจำนวนมากในฟาร์มทางแถบทวีปยุโรป ซึ่งก็เป็นสิ่งดีที่ได้รับประทานปลาที่ขึ้นชื่อว่ามีโอเมก้า 3 สูงในราคาสบายกระเป๋า แต่ระยะนี้มักมีข่าวออกมาว่าปลาแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์มไม่ดี อุดมไปด้วยเชื้อโรค และใส่สารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง อย่าซื้อมารับประทาน ให้ทานปลาแซลมอนตามธรรมชาติจะดีกว่า หรือบ้างก็ว่า ตามร้านอาหารมีแต่แซลมอนเลี้ยง ไม่ดีๆ

สำหรับข้อเท็จจริง อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวไว้ว่า "ใครชอบกินปลาแซลมอน หรือมีเงินกิน ก็กินต่อไปเถอะครับ" และได้สรุปข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้รู้ท่านหนึ่งที่ได้โพสไว้ในกระทู้ pantip ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ปลาแซลมอนที่ขายกันทั่วๆไปนั้น มีทั้งที่เป็นปลาจับจากทะเลธรรมชาติ และเป็นปลาที่เลี้ยงในกระชังฟาร์มเปิดในทะเลอีกทีนึง แต่เมื่อเทียบราคากันแล้วปลาจากธรรมชาตินั้นจะมีราคาแพงกว่าปลาเลี้ยงกว่ามาก เพราะปริมาณและความยากง่ายในการจับ อีกทั้งยังมีรสชาติที่ดีกว่าด้วย เพราะปลาแซลมอนธรรมชาติสามารถว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกลจึงทำให้มีไขมันในเนื้อไม่มากเท่ากับปลาเลี้ยง
  2. ในการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนมีหลายประเทศ โดยเฉพาะทางยุโรปเหนือ ซึ่งมีมาตรฐานการควบคุมตามกฎของอียูที่ให้การเลี้ยงออกมาใกล้เคียงกับธรรมชาติ มีการตรวจสอบตามขั้นตอนของอียูทุกอย่าง รวมถึงการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่างๆ ด้วย ซึ่งข้อดีของการเพาะเลี้ยงแบบนี้ก็คือลดการทำลายพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ ซึ่งปลาที่น่าเป็นห่วงมากในเรื่องนี้ก็คือปลาทูที่ยังไม่มีการเลี้ยงจับแต่ในธรรมชาติอย่างเดียว วันหนึ่งอาจเกิดปัญหาได้
  3. อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอน ก็คล้ายๆ กับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ คงไม่ได้ใส่สารอะไรที่มีอันตรายลงไป จึงไม่น่าจะทำให้ ก่อมะเร็งหรือเป็นอันตรายต่อการบริโภค

นอกจากที่อาจารย์ได้สรุปไว้ผู้รู้ก็ได้โพสใน Pantip เพิ่มเติมไว้ว่า

สีในปลาแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์ม เป็นสีที่ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ แต่มีการให้อาหารกลุ่ม carotenoid เข้าไป เพื่อให้เกิดสีส้มในเนื้อปลา เนื่องจากหากเป็นปลาจากธรรมชาติจะสามารถหาอาหารที่ทำให้เกิดสีส้มได้เอง แต่สำหรับปลาเลี้ยงพวกมันไม่สามารถหาอาหารเหล่านี้มากินได้ ผู้เลี้ยงจึงต้องใส่สารอาหารที่ให้สีส้มเข้าไปแทน ซึ่งอย่างไรก็ตาม สารให้สีพวกนี้สามารถกินได้ ไม่อันตราย เพราะถ้ากินไม่ได้สาร carotenoid ที่อยู่ในแครอท ฟักทอง ก็คงกินไม่ได้เช่นกัน

ปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม จะมีไขมันในเนื้อเยอะกว่าปลาธรรมชาติ เพราะการเลี้ยงจำนวนมากๆในพื้นที่จำกัด ปลาจะไม่ได้ว่ายไปไหนไกลๆแบบปลาธรรมชาติ ไขมันในตัวมันและน้ำหนักจึงมากกว่าปลาธรรมชาติมากเมื่อเทียบอายุเท่าๆกัน อีกทั้งเนื้อจะไม่เด้งไม่แน่นไม่อร่อยสู้ปลาธรรมชาติไม่ได้ เพราะมันไม่ได้ออกกำลังกายว่ายน้ำระยะทางไกลๆ นอกจากนี้การเอาลายไขมันมาเปรียบเทียบ หากเป็นปลาเลี้ยงด้วยกัน ถ้าไขมันเยอะลายสวย ก็มักอร่อยกว่า อันนี้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นการเทียบกับปลาธรรมชาติ จะใช้วิธีนี้เทียบไม่ได้คำพูดที่ว่า "ปลาแซมอนที่ดีต้องมีลายไขมันเยอะๆ" จึงไม่ถูกต้องเสมอไป

เมื่อได้ความรู้แบบนี้แล้วก็น่าจะคลายความสงสัย และมั่นใจในความปลอดภัยของปลาแซลมอนได้ ยังไงก็อย่ารับประทานบ่อยจนเกินไปเพราะอาจทำให้เงินในกระเป๋าแฟบได้เหมือนกัน!!


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wild vs Farmed Salmon: Which Type of Salmon Is Healthier?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/wild-vs-farmed-salmon)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป