ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับวัยทองและสาวๆ ฮอร์โมนผิดปกติ

ยาฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ฮอร์โมนผิดปกติ วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีทั้งรูปแบบยากิน แผ่นแปะ ยาสอด ฯลฯ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับวัยทองและสาวๆ ฮอร์โมนผิดปกติ

ฮอร์โมน เป็นสารเคมีที่หลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนมีหลายชนิด ฮอร์โมนสำคัญที่มีบทบาทต่อความเป็นผู้หญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเพศหญิงทำให้ร่างกายแสดงความเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์ เช่น ทำให้สามารถสืบพันธุ์ได้ หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น มูกในช่องคลอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้เป็นปกติ ผิวพรรรก็จะดูเต่งตึง สดใส มีน้ำมีนวล เซลล์ต่างๆ จะเสื่อมสภาพช้าลง กระดูกก็จะมีความแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง

ในภาวะที่ผู้หญิงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้ปกตินั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้อย่างปกติ ซึ่งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ มีโรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้นกับรังไข่จึงต้องมีการตัดรังไข่ออก 1 หรือ 2 ข้าง ซึ่งการสูญเสียรังไข่ทั้งสองข้างจะทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศหญิง รวมถึงไม่สามารถมีเลือดระดูได้เองอย่างถาวร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แม้จะไม่มีได้เป็นโรคอะไรเลย เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้น้อยลงเองตามธรรมชาติ ทำให้ถึงช่วงอายุประมาณ 48-52 ปีก็จะไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป วัยนี้มักเรียกกันว่า “วัยหมดประจำเดือน” หรือ “วัยทอง” รังไข่จะหยุดทำงานต่อเนื่องนาน 12 เดือนขึ้นไป

ผู้ที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงอาจมีอาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น แต่ไม่ได้พบในทุกราย และความรุนแรงของอาการแต่ละคนก็ไม่เท่ากันด้วย อาการผิดปกติดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านร่างกาย มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกง่าย และขี้ร้อนผิดปกติ ผิวพรรณเริ่มแห้งและเหี่ยว หน้าอกมีขนาดเล็กลง มีอาการปวดข้อ ปวดหลัง มีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บแสบในช่องคลอด เวลาถ่ายปัสสาวะอาจมีอาการแสบขัดบริเวณช่องเปิดของท่อปัสสาวะ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเมือกที่ทำหน้าที่หล่อลื่นบริเวณจุดซ่อนเร้นมีปริมาณลดลง
  2. ด้านจิตใจ มีอาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวายใจ เบื่อคนรอบตัวและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  บางรายอาจมีอาการซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับยาก

ข้อแนะนำในการให้ฮอร์โมนทดแทน

โดยปกติแล้ว เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเพศหญิงไปก่อนวัยอันสมควร หรือในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย เช่น ความหนาแน่นของกระดูกลดลงจนมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน แพทย์ที่ทำการตรวจรักษาอาจพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้อาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น

ฮอร์โมนทดแทนที่ใช้รักษาภาวะขาดฮอร์โมนเพศหญิง

การให้ฮอร์โมนทดแทน คือ การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์หรือสกัดจากธรรมชาติที่มีโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย รูปแบบของฮอร์โมนทดแทนที่ใช้รักษามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและความเหมาะสมในการรักษา เช่น ชนิดยาเม็ดฮอร์โมนให้รับประทาน ชนิดแปะผิวหนัง ทาผิวหนัง ฉีด หรือสอดในช่องคลอด ฮอร์โมนทดแทนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้ได้ดังนี้

  1. ฮอร์โมนทดแทนชนิดผสมเอสโตรเจนและโพรเจสโตรเจน (Estrogen and Progestogen) เป็นฮอร์โมนทดแทนที่ผสมฮอร์โมนเพศหญิงทั้งสองตัว เหมาะสำหรับผู้ที่อาการวัยทอง หรือหญิงที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้เอง แต่ยังมีมดลูกอยู่ ฮอร์โมนที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนธรรมชาติจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่
    • ชนิดที่ใช้เป็นรอบเดือน (Cyclic regimen) แบ่งเป็นชนิด 21 และ 28 เม็ด (กรณี 28 เม็ด 7 เม็ดสุดท้ายจะเป็นยาหลอกหรือธาตุเหล็ก) โดยเป็นการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน 21 วันและใน 12 วันหลังจะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมด้วยเพื่อให้ระดับฮอร์โมนใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยจะมีช่วงที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน 7 วัน ทำให้มีประจำเดือนสม่ำเสมอมาในช่วง 7 วันนี้ ฮอร์โมนชนิดนี้เหมาะกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยหมดประจำเดือนช่วงต้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น Oilezz®, Triquilar®, Trinordiol® เป็นต้น
    • ชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง (Continuous combined regimen) เป็นการให้เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรนในปริมาณที่เท่ากันทุกวันเพื่อให้ไม่ต้องมีประจำเดือน ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่หมดประจำเดือนมานานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ตัวอย่างยาที่มีฮอร์โมน 2 ตัว ในปริมาณเท่ากันทุกเม็ด ได้แก่
      • ชนิดฮอร์โมนสูง เช่น Microgynon ED50®, Ovulen®,  Lyndiol®,  Anovlar®,  Gynovlar®,  Minilyn®, Ovostat®,  Eugynon®,  Norinyl® เป็นต้น
      • ชนิดฮอร์โมนต่ำ เช่น Diane-35®, Preme®, Tina®, Sucee®, Cilest®, Yasmin®, Microgynon ED30®, Nordette®, Microgest®, AnNa®, Marvelon®, Prevenon®, Minulet®, Gynera®, Mercilon®, Meliane® เป็นต้น
  2. ฮอร์โมนทดแทนชนิดเอสโตรเจนเดี่ยว (Estrogen only) จะเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการวัยทองและผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว ตัวอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจนเดี่ยว ได้แก่ Norethisterone, Levonorgestrel, Ethynodiol Diacetate, Desogestrel เป็นต้น

ข้อควรรู้และควรระวังในการใช้ฮอร์โมนทดแทน

  • ไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน โรคหัวใจ เป็นโรคตับชนิดรุนแรง มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือมะเร็งเต้านม หรือมีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านม มีก้อนเนื้อผิดปกติที่เต้านม เนื่องจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ในปริมาณที่สูง และใช้ติดต่อกันนาน 10-15 ปี หากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทนแพทย์จะพิจารณาใช้เฉพาะกรณีจำเป็นเท่านั้น และต้องติดตามการรักษารวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
  • ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรถึงประวัติโรคที่เป็น และประวัติการแพ้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ยาและผลเสียต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • หากตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • การใช้ฮอร์โมนทดแทนอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด อาการเจ็บเต้านม ซึ่งพบได้บ่อยในช่วง 3-6 เดือนแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน และเมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างสม่ำเสมอ อาการเหล่านี้มักจะหายไปเอง นอกจากนี้ อาจพบอาการปวดศีรษะ หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่อาการจะหายไปหากหยุดใช้ยา

12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฮอร์โมนผิดปกติ อาการเป็นอย่างไร? ตรวจฮอร์โมน สำคัญไหม? (https://hdmall.co.th/c/hormone-check-up).
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ คืออะไร ใครเสี่ยง? (https://hdmall.co.th/c/andropause-testosterone-deficiency-syndrome).
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ตรวจฮอร์โมนชนิดใดบ้าง? ตรวจที่ไหนดี? (https://hdmall.co.th/c/what-hormones-are-tested-in-male-hormone-testing).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)

ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ของผู้ชายและผู้หญิง

อ่านเพิ่ม
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?

รู้จัก สิว ที่เกิดได้ในช่วงวัยต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเป็นวัยรุ่น และแนะนำวิธีดูแลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

อ่านเพิ่ม