กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. ปิยาภรณ์ กิตติสุรัตน์พงศ์ แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. ปิยาภรณ์ กิตติสุรัตน์พงศ์ แพทย์ทั่วไป

Zoloft (ตัวยา Sertraline)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาโซลอฟต์ (Zoloft) เป็นชื่อทางการค้าของยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) จัดเป็นยารักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่มยาต้านเศร้า SSRIs ออกฤทธิ์ควบคุมระดับสารสื่อประสาทในสมองที่เรียกว่า “เซโรโทนิน”
  • ยาโซลอฟต์มีผลข้างเคียงมากมาย เช่น เพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้หงุดหงิด ก้าวร้าว อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย ไม่เป็นมิตร หรือใจร้อน หากเกิดอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์
  • ยาโซลอฟต์สามารทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ได้หลายชนิด ผู้ป่วยจึงต้องแจ้งรายชื่อยาที่กำลังใช้อยู่ให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา
  • หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
  • ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยา ลด หรือเพิ่มปริมาณยาด้วยตนเอง และควรไปพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อติดตามอาการ และการตอบสนองต่อการรักษา (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

โซลอฟท์ (Zoloft) เป็นชื่อทางการค้าของยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) ซึ่งจัดเป็นยารักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่มยาต้านเศร้า SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) ที่จะออกฤทธิ์ควบคุมระดับสารสื่อประสาทในสมองที่เรียกว่า "เซโรโทนิน (Serotonin)" 

เซโรโทนิน ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมน อารมณ์ความรู้สึก และการทำงานของสมองซึ่งเกี่ยวของกับโรคซึมเศร้าด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจุบัน ยากลุ่ม SSRIs เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่ถูกสั่งใช้มากที่สุดในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นน้อยกว่ายากลุ่มอื่นที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า 

นอกจากนี้ ยาโซลอฟท์ยังถูกนำมาใช้รักษาโรคทางจิตเวชอื่นๆ ด้วย เช่น 

ข้อควรระวังในการใช้ยาโซลอฟท์

ถึงแม้ว่ายาโซลอฟท์จะเป็นยาที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคทางจิตเวช แต่ก็มีข้อควรระวังบางอย่างที่ผู้ป่วย และผู้อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยจะต้องรับรู้เอาไว้ เพื่อป้องกันอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างใช้ยา

1. เพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ยาโซลอฟท์ได้ระบุคำเตือนสำคัญในข้อมูลยาไว้ว่า ตัวยานั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายได้ในระหว่างที่ผู้ป่วยรับประทานยา โดยตัวยาอาจไปเพิ่มความคิดอยากฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 24 ปีที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะผิดปกติทางจิตอื่นๆ 

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ตัวยาจะช่วยลดความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายได้ดี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้น แพทย์ผู้ให้การรักษาจะตัดสินใจใช้ยาโซลอฟท์ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่ได้มีความเสี่ยงรุนแรงที่อยากจะฆ่าตัวตาย และติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด 

นอกจากนี้ ครอบครัว และผู้ดูแลของผู้ป่วย ยังควรได้รับคำแนะนำถึงสัญญาณเตือนที่ผู้ป่วยอาจจะฆ่าตัวตายได้จากการใช้ยาด้วย

2. ควรไปพบแพทย์หลังเริ่มใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ

ในช่วงเริ่มต้นของการใช้ยาโซลอฟท์ 12 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพราะในระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่แพทย์จะติดตามผลของการใช้ยาว่าเป็นอย่างไรบ้าง

3. อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง

หากผู้ป่วยมีอาการ หรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • หงุดหงิด 
  • อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย 
  • รู้สึกไม่เป็นมิตร 
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว 
  • ใจร้อน หุนหันพลันแล่น 
  • อาการซึมเศร้าแย่ลง 
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย 

หากเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์โดยเร่งด่วนเพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเกิดจากการใช้ยาหรือไม่ และผู้ป่วยไม่ควรหยุดใช้ยาโซลอฟท์โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงกว่านี้ได้ 

4. ยามีผลต่อการตรวจปัสสาวะ

หากผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ก็ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ทราบถึงการใช้ยาโซลอฟท์ เนื่องจากตัวยาสามารถมีผลต่อผลการทดสอบได้

5. ต้องหยุดรับประทานกลุ่มยาบางชนิดก่อนเริ่มใช้ยาโซลอฟท์

กลุ่มยาเอ็มเอโอไอ (Monoamine Oxidase Inhibitor: MAOI) เป็นกลุ่มยาต้านเศร้าที่คุณควรระมัดระวังก่อนการเริ่มใช้ยาโซลอฟท์ร่วมด้วย ซึ่งตัวอย่างยาในกลุ่มยาเอ็มเอโอไอจะได้แก่ 

  • Furazolidone (Furoxone) 
  • Phenelzine (Nardil)
  • Rasagiline (Azilect) 
  • Isocarboxazid (Marplan) 
  • Selegiline (Eldepryl Emsam และ Zelapar) 
  • Trannylcypromine (Parbate) 

หากผู้ป่วยกำลังรับประทานยาในกลุ่มยาเอ็มเอโอไออยู่ และจะต้องเริ่มใช้ยาโซลอฟท์ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะต้องหยุดรับประทานยาและรออย่างน้อย 14 วันก่อนเริ่มต้นใช้ยาโซลอฟท์

6. แจ้งโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา

ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากตนเองมีโรคประจำตัว หรือพฤติกรรมบางอย่างที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดอาการข้างเคียงเมื่อใช้ยาโซลอฟท์ ซึ่งได้แก่ 

  • โรคลมชักหรืออาการชัก 
  • โรคอารมณ์สองขั้ว 
  • มีประวัติการใช้ยาเสพติด 
  • มีความคิดจะฆ่าตัวตาย 
  • การทำงานของตับหรือไตผิดปกติ 
  • มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ 

สำหรับระยะเวลาที่อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นหลังจากใช้ยาโซลอฟท์ จะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ 

7. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

เช่นเดียวกับยารักษาโรคซึมเศร้าตัวอื่นๆ การใช้ยาโซลอฟท์มีโอกาสจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งภาวะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาจมาจากภาวะน้ำคั่งของร่างกาย ผู้ป่วยขาดการออกกำลังกาย หรือมีอาการอยากอาหารเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ 

เพื่อจัดการกับภาวะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างใช้ยา รวมถึงยารักษาโรคซึมเศร้าตัวอื่นๆ แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยมีการเพิ่มการทำกิจวัตรประจำวัน และรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงให้น้อยลง

การใช้ยาโซลอฟท์ในระหว่างตั้งครรภ์

ยาโซลอฟท์อาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์มารดา หากผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือวางแผนการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้จากการใช้ยา หรือหากเป็นการใช้ยาในระหว่างที่ให้นมบุตร 

เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า ยาสามารถออกฤทธิ์ส่งผ่านทางน้ำนม หรือเป็นอันตรายต่อทารกที่ดื่มนมจากมารดาหรือไม่ ดังนั้นในระหว่างกำลังให้นมบุตร ผู้เป็นแม่ไม่ควรเริ่มต้นใช้ยาโซลอฟท์โดยไม่ได้รับการยินยอมจากแพทย์ก่อน

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปียังไม่ควรใช้ยาโซลอฟท์โดยไม่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ ถึงแม้ยาจะได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำในผู้ป่วยเด็กได้ก็ตาม แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะซึมเศร้าด้วย

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้ยาโซลอฟท์

การใช้ยาโซลอฟท์สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปากคอแห้ง เหงื่อออกมากกว่าปกติ คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน รวมทั้งง่วงซึม นอนไม่หลับ วิงเวียนศีรษะ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งหากอาการดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่ร้ายแรงจากการใช้ยา

นอกจากอาการข้างเคียงทั่วไปที่กล่าวมาด้านบน ยาโซลอฟท์ยังอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงในผู้ป่วยบางรายได้ เช่น

  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • กล้ามเนื้อเกร็ง หรืออ่อนแรง
  • เกิดจ้ำเลือด หรือเลือดออกง่ายผิดปกติ
  • ตัวสั่น หรือมีอาการสั่น
  • น้ำหนักลดลงผิดปกติ
  • อุจจาระมีสีดำคล้ำ หรือมีเลือดปก
  • อาเจียนออกมามีสีคล้ายกาแฟ

นอกจากนี้ การรับประทานยาโซลอฟท์ ยังอาจนำไปสู่อาการข้างเคียงที่รุนแรงซึ่งเรียกว่า "เซโรโทนิน ซินโดรม" (Serotonin syndrome) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน และความเสี่ยงของการเกิดเซโรโทนิน ซินโดรมจะเพิ่มมากขึ้น 

หากผู้ป่วยรับประทานยาชนิดอื่นที่สามารถเพิ่มระดับสารเซโรโทนินร่วมด้วย โดยกลุ่มอาการข้างเคียงเซโรโทนิน ซินโดรมจะมีอาการต่อไปนี้ 

สำหรับอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้น้อย ได้แก่ อาการปวดเมื่อองคชาติแข็งตัว หรือองคชาติแข็งตัวนานกว่าปกติตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน หรืออาการดังกล่าวอาจเป็นอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างถาวรได้ด้วย

โดยปกติ อาการแพ้ยาอย่างรุนแรงจากยาโซลอฟท์จะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย แต่หากเกิดขึ้น ก็ควรรีบรักษาโดยด่วน 

อันตรกิริยาของยาชนิดอื่นที่มีต่อยาโซลอฟท์

อันตรกิริยา หรือผลกระทบจากการใช้ยาตัวอื่นที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาโซลอฟท์ แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น

1. กลุ่มยาต้านเศร้าเอ็มเอโอไอ

2. กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory: NSAIDs) หรือเรียกได้สั้นๆ ว่า "ยาเอ็นเสด" ซึ่งกลุ่มยาดังกล่าว เมื่อรับประทานร่วมกับยาโซลอฟท์ จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดจ้ำเลือด หรือเลือดออกง่ายกว่าปกติ 

นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีการรับประทานยาต่อไปนี้

3. ตัวยาอื่นๆ ที่เมื่อรับประทานร่วมกับยาโซลอฟท์แล้ว จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียมากขึ้น 

ซึ่งตัวยาต่อไปนี้อาจเป็นยาที่ผู้ป่วยรับประทานโดยปกติอยู่แล้ว เช่น 

สิ่งสำคัญคือ ผู้ป่วยและผู้ดูแลควรบันทึกรายการยาทั้งหมดที่แพทย์สั่งใช้ หรือซื้อมาใช้เองจากเคาน์เตอร์ หรือร้านขายทั่วไป รวมทั้งวิตามิน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และแจ้งให้แพทย์ทราบทั้งหมด

4. กลุ่มยาอันตรายและสำคัญที่จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากต้องรับประทานกับยาโซลอฟท์ 

รายการยาที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความสำคัญมากที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ มิฉะนั้นจะเกิดอันตรายได้ ได้แก่

  • Competitive (Tagamet)
  • Digoxin (Crystodigin)
  • Fentanyl ได้แก่ Abstral, Actiq, Fentora, Duragesic, Ionsys, Lazanda และ Onsolis
  • Tramadol ได้แก่ UltramUltram ER และ Ultracet
  • 5-hydroxytryptophan (5-HTP)
  • Valproate ได้แก่ Depacon และ Depakene
  • Linezolid (Zyvox)
  • Lithium ได้แก่ Lithobid และ Eskalith

5. กลุ่มยารักษาอาการปวดไมเกรน (Migraines)  

  • Naratriptan (Amerge)
  • Rizatriptan (Maxalt)
  • Sumatriptan (Imitrex และ Treximet) 
  • Zolmitripran (Zomig)
  • Almotriptan (Axert)
  • Eletriptan (Relpax) 
  • Frovatriptan (Frova) 

6. กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด 

ได้แก่ Warfarin (Coumadin และ Jantoven) 

7. กลุ่มยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

ได้แก่ Specialise (Tambocor) และ Propagating (Rhythmol) 

นอกจากนี้ ยังมียาชนิดอื่นๆ ที่ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพิ่มเติมอีก ซึ่งได้แก่

ไม่ว่าจะเป็นรายการยาตามที่กล่าวมา หรือยาตัวอื่นๆ นอกจากนี้ หากผู้ป่วยจะต้องมีการรับประทานยาโซลอฟท์เพื่อรักษาโรคที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยควรให้รวบรวมรายการยาทั้งหมดที่กำลังใช้อยู่ให้แพทย์ตรวจสอบ เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายตามมา

การใช้ยาโซลอฟท์ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างที่รับประทานยาโซลอฟท์ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มการเกิดอาการข้างเคียงของยาโซลอฟท์ได้ 

ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาโซลอฟท์ในรูปแบบยาน้ำในระหว่างที่กำลังใช้ยา Disulfiram (Antabuse) ซึ่งเป็นยารักษาภาวะติดสุราเรื้อรัง เนื่องจากตำรับยาน้ำโซลอฟท์จะมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงกับยา Disulfiram ได้

และหากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่รถยนต์ หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิ เนื่องจากการรับประทานยาโซลอฟท์อาจทำให้ประสิทธิภาพความคิดและการทำงานแย่ลง

ขนาดยาโซลอฟท์ที่ใช้ในการรักษา

ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาวะโรคที่รักษาและอายุของผู้ป่วย

ขนาดยาในผู้ใหญ่

  • โรคซึมเศร้าหรือโรคย้ำคิดย้ำทำ รับประทาน 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
  • โรคตื่นตระหนก หรือภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง และโรคกลัวการเข้าสังคม เริ่มต้นด้วยปริมาณ 25 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ติดต่อเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ปรับเพิ่มปริมาณยาเป็น 50 มิลลิกรัมต่อวัน
  • กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน รับประทาน 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ส่วนรูปแบบการรับประทานและช่วงเวลาในการรับประทานนั้น ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์

ขนาดยาในเด็กและวัยรุ่น

  • โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็กอายุ 6-12 ปี เริ่มต้นด้วยปริมาณยา 25 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง 
  • โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็กอายุ 13-17 ปี เริ่มต้นปริมาณยา 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

คำแนะนำเพิ่มเติมในการรับประทานยา

  • การปรับเพิ่มปริมาณยาของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ผู้ป่วยไม่ควรปรับเพิ่มปริมาณยาที่รับประทานเอง
  • ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้ ในช่วงเช้าหรือเย็น 
  • ผู้ป่วยควรรับประทานยาในเวลาเดิมของวัน เพื่อป้องกันการลืมรับประทานยา 
  • หากยาเป็นรูปแบบยาน้ำชนิดรับประทาน ผู้ป่วยจำเป็นต้องเจือจางยาก่อนรับประทาน โดยใช้หลอดหยดยาเพื่อตวงวัดขนาดยาก่อน หรือสามารถผสมยากับน้ำเปล่าปริมาตร 4 ออนซ์ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น น้ำขิง น้ำโซดามะนาว น้ำมะนาว หรือน้ำส้มคั้น 

นอกจากเครื่องดื่มทั้ง 4 อย่างข้างต้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น และหลังจากดื่มน้ำที่ผสมยาลงไปแล้ว ให้ดื่มน้ำเปล่าตามอีก 1 แก้วเพื่อให้ยาละลายได้ดี

ควรทำอย่างไรเมื่อรับประทานยาเกินขนาด

อาการแสดงเมื่อรับประทานยาเกินขนาด ได้แก่ อาการสั่น กระสับกระส่าย อาเจียน ง่วงซึมมาก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวและคิดว่าตนเองรับประทานยาเกินขนาด ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการรักษาฉุกเฉิน

ควรทำอย่างไรเมื่อลืมรับประทานยา

หากคุณลืมรับประทานยาโซลอฟท์ ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากเวลาดังกล่าวใกล้ถึงเวลารับประทานยามื้อถัดไปแล้ว ให้ข้ามมื้อยาที่ลืมรับประทานไปเลย และไม่ต้องเพิ่มขนาดยามื้อถัดไปเป็น 2 เท่า

ยาโซลอฟต์ เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หรือหยุดยา-เพิ่มขนาดยาด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)