ประจำเดือนของคุณมาช้า

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประจำเดือนของคุณมาช้า

คุณกำลังกังวลที่ประจำเดือนมาช้าแต่แน่ใจว่าตัวเองไม่ได้ตั้งครรภ์หรือไม่? ประจำเดือนที่มาช้านั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฮอร์โมนไม่สมดุลไปจนถึงโรคทางกายที่รุนแรง

มีช่วงเวลา 2 ช่วงในชีวิตของผู้หญิงที่สามารถมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอได้ นั่นก็คือในช่วงที่เริ่มมีประจำเดือนและช่วงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เพราะเวลาที่เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ประจำเดือนของคุณอาจมาไม่สม่ำเสมอได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้น มักจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 วัน แต่โดยปกติแล้วรอบเดือนนั้นสามารถมีได้ตั้งแต่ 21-35 วัน หากประจำเดือนของคุณไม่ได้มาตามช่วงเวลานี้อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

ความเครียด

ความเครียดจะส่งผลต่อฮอร์โมน เปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมประจำเดือนซึ่งก็คือส่วนไฮโพทาลามัส เมื่อเวลาผ่านไป ความเครียดนั้นจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างฉับพลับได้ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อการมีประจำเดือนทั้งสิ้น

หากคุณคิดว่าความเครียดนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้า ให้ลองฝึกเทคนิกการผ่อนคลายและเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต การออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอาจจะช่วยทำลดความเครียดได้

น้ำหนักตัวน้อย

ผู้หญิงที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานเช่น anorexia nervosa หรือ bulimia นั้นอาจจะไม่มีประจำเดือนได้ การที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 10% ของช่วงน้ำหนักสำหรับความสูงของคุณนั้นจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนการทำงานและหยุดการตกไข่ การรักษาโรคนี้และเพิ่มน้ำหนักในวิธีที่เหมาะสมจะสามารถทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติได้ ผู้หญิงที่ออกกำลังกายหนักเช่นนักวิ่งมาราธอนอาจจะไม่มีประจำเดือนเช่นกัน

ความอ้วน

เช่นเดียวกับการที่มีน้ำหนักตัวน้อย การที่มีน้ำหนักตัวมากจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน แพทย์จะแนะนำให้ปรับการรับประทานอาหารและออกกำลังกายหากคิดว่าความอ้วนนั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนขาดหรือมาช้า

โรคถุงน้ำในรังไข่

โรคถุงน้ำในรังไข่นั้นเป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายออกมามากขึ้น และทำให้เกิดถุงน้ำในรังไข่จากการที่ฮอร์โมนนั้นไม่สมดุล ทำให้การตกไข่นั้นไม่สม่ำเสมอหรือหยุดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ฮอร์โมนอื่นๆ เช่นอินซูลินก็อาจจะไม่สมดุลเช่นกันจากภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภาวะถุงน้ำในรังไข่ การรักษาโรคนี้มักจะเน้นที่การบรรเทาอาการ โดยแพทย์อาจจะใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาอื่นๆ เพื่อช่วยปรับรอบประจำเดือน

ยาคุมกำเนิด

เวลาที่คุณเริ่มยาหรือหยุดยาคุมกำเนิดนั้นอาจจะทำให้รอบประจำเดือนผิดปกติได้ ยาคุมกำเนิดนั้นมีฮอร์โมน estrogen และ progestin ซึ่งจะป้องกันการตกไข่ และอาจจะต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือนก่อนที่รอบเดือนของคุณจะกลับมาสม่ำเสมออีกครั้งหลังหยุดยา วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ เช่นการฝังยาหรือฉีดยาคุมกำเนิดก็ทำให้ประจำเดือนขาดได้เช่นกัน 

โรคเรื้อรัง

โรคเรื้อรังเช่นเบาหวานและโรคเซลิแอคนั้นอาจจะส่งผลต่อรอบเดือนได้ การที่ระดับน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และถึงแม้ว่าจะพบได้น้อยแต่โรคเบาหวานที่คุมไม่ดีก็สามารถทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้

โรคเซลิแอคนั้นจะทำให้เกิดการอักเสบที่ทำให้เกิดการทำลายลำไส้เล็กซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นได้และทำให้ขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาช้า

การเข้าสู่ช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือนก่อนเวลา

ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนเมื่อเข้าสู่อายุ 45-55 ปี ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงเวลาดังกล่าวก่อน 40 ปีนั้นถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้าสู่ช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือนก่อนเวลา ซึ่งหมายความว่ามีไข่ที่หลงเหลืออยู่ในรังไข่น้อยและกำลังจะหมดประจำเดือน

ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์

การที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไปนั้นสามารถทำให้ขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาช้าได้เช่นกัน ต่อมไทรอยด์นั้นควบคุมกระบวนการเผาผลาญของร่างกายดังนั้นจึงส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเช่นกัน ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มักสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา และหลังจากรักษามักจะทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ

เมื่อไหร่ที่ต้องพบแพทย์

แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนของคุณมาช้าหรือขาดรวมถึงวางแผนการรักษาได้ คุณควรจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนเช่นเดียวกับอาการอื่นๆ เพื่อนำไปปรึกษากับแพทย์เพื่อช่วยในการวินิจฉัย

หากคุณมีอาการต่อไปนี้ให้ไปพบแพทย์ทันที

  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • มีไข้
  • ปวดอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เลือดออกนานกว่า 7 วัน เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนและไม่ได้มีประจำเดือนมานานกว่า 1 ปี

10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stopped or missed periods. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stopped-or-missed-periods/)
10 Reasons for a Missed Period. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/reasons-you-missed-your-period-2757503)
Why is my period late? 8 possible reasons. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318317)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม

คำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมง่ายๆ ทำให้สามารถเพิ่มการขยับร่างกายได้มากขึ้น

อ่านเพิ่ม
ประวัติย่อๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน
ประวัติย่อๆ ของผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน

ก่อนจะมาเป็นผ้าอนามัยแบบปัจจุบันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? และผู้หญิงสมัยก่อนจัดการกับประจำเดือนกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม