คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะนั่งสมาธิ

หลักสูตร 4 สัปดาห์เกี่ยวกับการนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะนั่งสมาธิ

แม้ว่าการนั่งสมาธิกำลังเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตก แต่ก็ยังมีหลายคนที่เชื่อว่าพวกเขาไม่รู้วิธีการนั่งสมาธิที่เหมาะสม การนั่งสมาธิเป็นทักษะที่ดีมากสำหรับการจัดการกับความเครียด ผลจากการนั่งสมาธิเป็นประจำนั้นมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งทางกายและทางใจ (บางคนอาจจะไปถึงทางจิตวิญญาณด้วยซ้ำ) การนั่งสมาธิยังไม่ได้ช่วยให้ร่างกายของคุณผ่อนคลาย (และลดความเครียดต่อสุขภาพ) เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการฝึกสมองที่ดีอีกด้วย 

หากคุณเพิ่งเริ่มต้นนั่งสมาธิและไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มอย่างไร หลักสูตรต่อไปนี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับคุณ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บทนำเกี่ยวกับการฝึกนั่งสมาธิ 4 สัปดาห์ 

หลักสูตรพิเศษ 4 สัปดาห์นี้จะค่อย ๆ สอนวิธีการนั่งสมาธิโดยการใช้เครื่องมือทำสมาธิแบบพื้นฐานและการออกกำลังกายโดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงความเชื่อทางศาสนาหรือระบบจิตวิญญาณใด ๆ 

ลองดูสัก 1 สัปดาห์ เวลาที่คุณใช้นั้นค่อนข้างน้อย (แค่เพียงไม่กี่นาทีต่อวัน) และผลที่ได้รับกลับมานั้นดีมาก (ผ่อนคลาย เพิ่มพลังความสงบ เพิ่มสมาธิ และมีสุขภาพที่ดีขึ้น) 

เหมาะสำหรับใคร : การนั่งสมาธิสามารถลดความเครียด ลดอารมณ์ความรู้สึกในแง่ลบ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้ นอกจากนั้นยังจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตอย่างละเอียดและระมัดระวังขึ้น คุณจะได้รับประโยชน์จากการนั่งสมาธิหากคุณสนใจที่จะควบคุมอารมณ์และระดับความเครียดของคุณ หลักสูตรนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มสมาธิอีกด้วย 

คุณจะต้องทำอะไรบ้าง: แม้ว่าการนั่งสมาธินั้นจะมีหลายรูปแบบ แต่หลักสูตรนี้จะเน้นที่การสร้างทักษะพื้นฐานของการนั่งสมาธิ นั่นก็คือการนั่งและทำสมาธิ ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรกคุณจะค่อย ๆ พัฒนานิสัยของการนั่งและทำสมาธิเพิ่มขึ้นในแต่ละวันที่ผ่านไป และในสัปดาห์ที่ 4 คุณจะสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการนั่งสมาธิมาใช้ในชีวิตประจำวัน 

เมื่อจบหลักสูตร คุณจะสามารถฝึกนั่งสมาธิประจำวันต่อได้เอง ซึ่งคุณจะสามารถใช้ได้อีกหลายปี 

เรียนรู้วิธีการนั่งสมาธิ 

นี่เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นการนั่งสมาธิได้ ลองมองว่าเป็นการทดลองหรือวิธีในการเรียนทักษะใหม่ ๆ เริ่มจากการนั่งสมาธิทีละสัปดาห์ และเมื่อครบเดือนคุณจะมีทักษะที่เพียงพอสำหรับการทำให้การนั่งสมาธิกลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคุณ 

  • สัปดาห์ที่ 1 : นั่งเฉยๆ
  • สัปดาห์ที่ 2 : ข้อกำหนดและคำสั่งห้าม
  • สัปดาห์ที่ 3 : เพิ่มอีก 2 นาที
  • สัปดาห์ที่ 4 : นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนั่งสมาธิ 

คุณจะรู้สึกสงบและสามารถควบคุมทุกอย่างได้ดีขึ้น คุณยังจะสามารถพัฒนาความสามารถในการมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากขึ้น ความคิดของคุณจะนิ่งขึ้นและจะถูกดึงดูดความสนใจไปตามความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ ลดลง ระดับความเครียดของคุณจะลดลงและคุณจะมีพลังงานทางจิตเพิ่มขึ้นสำหรับสิ่งที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จหรือมีความสุข การนั่งสมาธิยังพบว่าสามารถช่วยให้อาการเจ็บป่วยทางสุขภาพเรื้อรังหลายอย่างดีขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจอีกด้วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
mayoclinic.org, Meditation: A simple, fast way to reduce stress (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/meditation/in-depth/meditation/art-20045858)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์

เราจะสามารถกลับมาควบคุมชีวิตตัวเองได้อีกครั้ง?

อ่านเพิ่ม
เครียดเรื้อรัง เสี่ยงสุขภาพพัง จริงหรือ?
เครียดเรื้อรัง เสี่ยงสุขภาพพัง จริงหรือ?

เครียดเรื้อรังทำให้ร่างกาย และพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร

อ่านเพิ่ม