กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคมะเร็งไตในเด็ก (Wilms ' tumours)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
โรคมะเร็งไตในเด็ก (Wilms ' tumours)

อาการท้องบวมโตมักเป็นอาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของมะเร็งไตในเด็ก ซึ่งมักรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก และอาจได้รับการทำเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีรักษาร่วมด้วย

บทนำ

โรคมะเร็งไตในเด็กหรือ Wilms’ tumour เป็นมะเร็งไตชนิดหนึ่งที่พบในวัยเด็ก และโรคดังกล่าวมักมีผลต่อเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็กที่เป็นโรคมะเร็งในปัจจุบันมีอัตราการรอดชีวิตและมีชีวิตที่ดีกว่าแต่ก่อนอย่างมาก มียาและการรักษาใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ เราสามารถลดความพิการที่เกิดจากโรคมะเร็งได้มากกว่าแต่ก่อนอย่างมีนัยสำคัญ

การทราบว่าบุตรหลานของคุณเป็นมะเร็งนั้นเป็นความรู้สึกที่ยากเกินจะอธิบาย และในบางครั้งอาจทำให้รู้สึกท้อแท้หมดแรง แต่ขอให้พึงระลึกว่ายังมีแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจำนวนมาก และองค์กรสนับสนุนที่จะช่วยเหลือคุณในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการรักษาที่อาจเกี่ยวข้องของบุตรหลานของคุณให้มากขึ้น มักช่วยทำให้พ่อแม่สามารถรับมือกับโรคดังกล่าวได้ดีขึ้น เราหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของบุตรหลายของท่านจะให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมและหากมีคำถามใด ๆ สิ่งสำคัญคือควรถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือพยาบาลที่ทราบสภาวะโรคของบุตรหลานของท่านอย่างตรงไปตรงมาและครบถ้วน

โรคมะเร็งไตในเด็ก

โรคมะเร็งไตในเด็กหรือ Wilms’ tumour เป็นมะเร็งไตชนิดที่ได้ชื่อมาจาก Dr.Max Wilms ซึ่งเป็นคนแรกที่ค้นพบและอธิบายสภาวะโรคดังกล่าว คาดว่ามะเร็งนั้นเกิดมาจากเซลล์ที่มีความเฉพาะอย่างยิ่งในตัวอ่อนซึ่งมีชื่อว่า Metanephric blastema เซลล์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาไตของเด็กขณะที่อยู่ในครรภ์ เซลล์นี้มักจะหายไปเมื่อเด็กคลอดออกมา แต่ในเด็กหลายคนที่เป็นโรคมะเร็งไตในเด็ก กลุ่มของเซลล์ไตพื้นฐานซึ่งเรียกว่า กลุ่มเซลล์คงค้างพื้นฐานของไต (nephrogenic rests) ยังสามารถพบได้ภายในร่างกาย

ไต

ไตเป็นอวัยวะคู่หนึ่งที่พบที่ด้านหลังของช่องท้อง ไตทำหน้าที่ทำความสะอาดเลือดโดยการกำจัดของเหลวส่วนเกินและของเสีย ซึ่งจะถูกแปลงเป็นปัสสาวะ

สาเหตุของโรคมะเร็งไตในเด็ก

ในเด็กส่วนใหญ่ สาเหตุของโรคมะเร็งไตในเด็กไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เด็กบางคนซึ่งพบได้น้อยอย่างมาก จะพัฒนาโรคมะเร็งไตในเด็กร่วมกับสภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดบางอย่าง เช่น ภาวะม่านตาในดวงตาหายไป (aniridia), ความผิดปกติของอวัยวะเพศ (genital abnormalities) และภาวะที่ร่างกายด้านหนึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่าอีกฝั่งหนึ่ง (hemihypertrophy) เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีเพียงประมาณ 1 ใน 100 ของคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งไตในเด็กจะพบว่าสมาชิกในครอบครัวคนอื่นก็จะเกิดโรคมะเร็งไตในเด็กด้วย

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งไตในเด็ก

อาการที่พบมากที่สุดคือหน้าท้องบวมซึ่งมักจะไม่เจ็บปวดแต่อย่างใด บางครั้งผู้ปกครองหรือผู้ดูแลอาจคลำก้อนในช่องท้องได้ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่พอสมควร บางครั้งเนื้องอกอาจมีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อยและอาจทำให้ระคายเคืองต่อไต นำไปสู่อาการเจ็บปวด อาจพบเลือดในปัสสาวะของบุตรหลานของคุณ หรือความดันโลหิตของพวกเขาอาจเพิ่มขึ้น เด็กอาจเป็นไข้ร่วมด้วย ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องเสีย น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุหรือเบื่ออาหารร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งไตในเด็ก

อาจจำเป็นต้องทำการตรวจร่างกายหลายส่วน และการตรวจเพิ่มเติมหลายอย่างเพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งไตในเด็ก

การตรวจอัลตราซาวด์ในช่องท้องมักเป็นการตรวจแรก ๆ ที่แพทย์จะทำ โดยอาจจะมีการสแกนเอ็มอาร์ไอและ / หรือการสแกนด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณหน้าท้องและหน้าอกร่วมด้วย การสแกนเหล่านี้ช่วยให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งของเนื้องอกและหาว่ามะเร็งดังกล่าวได้มีการแพร่กระจายไปไกลกว่าไตหรือไม่ สองสิ่งนี้จะนำไปสู่การจัดระยะของโรค ตัวอย่างเลือดและปัสสาวะจะถูกเก็บมาตรวจดูการทำงานของไตและภาวะสุขภาพโดยทั่วไป เด็กส่วนใหญ่จะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อซึ่งเป็นการตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อมาจากเนื้องอกเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การทดสอบและการตรวจใด ๆ ที่ลูกของคุณต้องทำจะได้รับการอธิบายโดยแพทย์เฉพาะทางหรือบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องให้กับคุณอีกครั้งหนึ่งโดยละเอียด

การจัดระยะของโรคมะเร็งไตในเด็ก

ระยะของโรคมะเร็งเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึงขนาดของมันและอธิบายว่าได้มีการแพร่กระจายไปไกลกว่าจุดเกิดมะเร็งที่แรกหรือไม่ การทราบชนิดและระยะของโรคมะเร็งจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจในทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

โดยทั่วไป กรณีของโรคมะเร็งไตในเด็ก ระยะจะทราบได้อย่างแน่ชัดที่สุดภายหลังจากการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออกไป ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งไตนั้นมักได้รับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดร่วมด้วยเสมอ คุณจึงอาจไม่ทราบระยะที่แน่นอนของโรคของบุตรหลานของคุณได้ทันทีในช่วงที่ทำเคมีบำบัด ข้อยกเว้นคือทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่จะได้ทราบระยะของโรคในเวลาไม่นาน เนื่องจากมักจะได้รับการผ่าตัดทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระบบการจัดระยะมะเร็งที่ที่นิยมใช้ในโรคมะเร็งไตในเด็กมีรายละเอียด ดังนี้:

  • ระยะ 1 - เนื้องอกมีผลอยู่ภายในไตเท่านั้นและยังไม่เริ่มแพร่กระจาย สามารถกำจัดออกได้ด้วยการผ่าตัด
  • ระยะ 2 - เนื้องอกได้เริ่มแพร่กระจายไปไกลกว่าไตไปยังโครงสร้างใกล้เคียง แต่ก็ยังสามารถกำจัดออกได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการผ่าตัด
  • ระยะ 3 - เนื้องอกมีการแพร่กระจายเกินกว่าขอบเขตของไต โดยอาจพบในรูปแบบที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปก่อนผ่าตัดหรือระหว่างผ่าตัด  (หรือระหว่างผ่าตัด) รูปแบบที่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งออกอย่างสมบูรณ์โดยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
  • ระยะ 4 - เนื้องอกได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอดหรือตับ ซึ่งเรียกว่าระยะโรคลุกลาม หรือระยะโรคแพร่กระจาย
  • ระยะ 5 - พบเนื้องอกในไตทั้งสองข้าง (Bilateral Wilms’ tumour)

หากเนื้องอกกลับมาเป็นซ้ำภายหลังการรักษาเสร็จสิ้น จะเรียกว่าโรคกลับมาเป็นซ้ำหรืออาการกำเริบ (recurrent/relapse)

การรักษาโรคมะเร็งไตในเด็ก

การรักษาจะถูกวางแผนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเนื้องอกและมะเร็งของเด็ก โดยปกติแล้วจะต้องทำภายในศูนย์การแพทย์ขนาดใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์หรือศูนย์มะเร็ง แต่อาจมีการรักษาบางอย่างทำสามารถส่งต่อเพื่อทำที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้บ้าง

แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งวิธีลักษณะเซลล์ที่ปรากฏภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (histology) และระยะของโรคมะเร็ง การรักษาอาจรวมทั้งเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา หรือการผ่าตัด

การผ่าตัด

เด็กทุกคนที่เป็นโรคมะเร็งไตในเด็กจะได้รับการผ่าตัด ในการผ่าตัดขั้นตอนแรกอาจทำเพื่อตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ของเซลล์ออกจากเนื้องอกเพื่อนำมายืนยันการวินิจฉัย การผ่าตัดนี้เรียกว่าการตรวจชิ้นเนื้อ และมักจะทำภายใต้การดมยาสลมโดยใช้เข็มแทรกผ่านผิวหนังเพื่อดูดเซลล์ออกมาบางส่วน

หากไม่นับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่าหกเดือน ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่จะได้รับเคมีบำบัดก่อนที่จะมีการผ่าตัดใหญ่ขึ้นเพื่อกำจัดก้อนเนื้องอกออกทั้งหมด การผ่าตัดมักทำเพื่อกำจัดส่วนไตข้างที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดออก (nephrectomy)

หลังจากทำการตรวจดูเซลล์ทั้งหมดภายใต้กล้องจุลทรรศน์แล้ว โรคมะเร็งไตในเด็กสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มเสี่ยงหลายกลุ่ม โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ผ่านมาเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน การรักษาขั้นตอนต่อไปมักจะขึ้นอยู่กับกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ กลุ่มเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็นสามระดับที่สำคัญ คือ กลุ่มเสี่ยงต่ำ กลุ่มเสี่ยงปานกลางหรือมาตรฐาน และกลุ่มเสี่ยงสูง

เนื้องอกส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม ‘กลุ่มเสี่ยงปานกลางหรือมาตรฐาน’ ส่วนเนื้องอกที่จัดว่าเป็นกลุ่ม 'ความเสี่ยงต่ำ' ก็จะต้องการการรักษาจำนวนน้อยกว่าเนื้องอกที่มีความเสี่ยงมาตรฐาน เป็นต้น

นอกจากนี้ โรคมะเร็งไตในเด็กสองชนิด ได้แก่ ชนิด anaplastic และชนิด blastemal ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าโรคมะเร็งไตในเด็กชนิดอื่น ๆ และต้องใช้เคมีบำบัดที่ฤทธิ์รุนแรงและเข้มข้นมากขึ้นกว่าชนิดอื่น

Anaplastic Wilms' tumour

ประมาณ 5-10% ของโรคมะเร็งไตในเด็กจะพบลักษณะเซลล์มะเร็งที่เรียกว่า  Anaplasia ซึ่งหมายความว่าเซลล์ดูไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายอย่างมากภายใต้กล้องจุลทรรศน์

Blastemal Wilms' tumour

โรคมะเร็งไตในเด็กชนิดนี้ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงไม่สามารถระบุชนิดได้ด้วยการตัดตรวจชิ้นเนื้อเพียงอย่างเดียว เนื่องจากโรคชนิดดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ไตพื้นฐานตอนเป็นตัวอ่อนอยู่รอดจากการทำเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด เซลล์เหล่านี้เรียกว่า Blastemal cell โรคมะเร็งหรือเนื้องอกที่เกิดจากการรอดของเซลล์ดังกล่าวจึงเรียกว่า Blastemal tumours

เนื้องอกไตชนิดอื่น

ยังมีโรคมะเร็งไตในเด็กชนิดอื่นที่อาจพบได้ แต่ในอัตราที่น้อยกว่า ซึ่งโรคไตชนิดเหล่านี้มักจะได้รับการวินิจฉัยและแบ่งชนิดได้อย่างแน่นอนหลังจากการผ่าตัดให้ได้ตัวอย่างเนื้องอก ตัวอย่างเช่น 'Clear cell sarcoma' และ ‘Malignant rhabdoid tumour’ ของไตซึ่งจัดเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีแนวทางในการรักษาจำเพาะเจาะจงในแต่ละโรค

Congenital mesoblastic nephroma ถือเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งซึ่งสามารถเกิดขึ้นในเด็กเล็ก เนื้องอกชนิดนี้มักจะได้รับการรักษาเพียงการผ่าตัดเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอื่น ๆ ร่วม

ยาเคมีบำบัด

เคมีบำบัดคือการใช้ยาต้านมะเร็ง (cytotoxic drug) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง มักได้รับการฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำหรือปล่อยหยดเข้าผ่านทางท่อน้ำเกลือ เคมีบำบัดอาจได้รับก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง เรียกว่า การให้เคมีบำบัดเบื้องต้นก่อนการผ่าตัดหรือฉายรังสี (neoadjuvant chemotherapy)

สิ่งที่แพทย์ค้นพบเกี่ยวกับเนื้องอกหลังการผ่าตัดแล้วนำไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ตัวอย่างเช่น เซลล์มีลักษณะเป็นอย่างไร และมะเร็งแพร่กระจายไปไกลแค่ไหน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาตัดสินใจว่าควรให้เคมีบำบัดเสริมหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งซ้ำหรือกำเริบ การรักษาด้วยเคมีบำบัดนี้อาจได้รับในแผนกผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกขึ้นอยู่ลักษณะของก้อนเนื้องอกและกลุ่มเสี่ยงอย่างที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น

การฉายรังสีรักษา

การฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งโดยการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ในขณะพยายามก่ออันตรายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้กับเซลล์ปกติ

เด็กทุกคนที่เป็นโรคมะเร็งไตในเด็กไม่จำเป็นต้องได้รับรังสีรักษาเสมอไป  ซึ่งในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับ บริเวณที่จะถูกฉายรังสีขึ้นอยู่กับระยะของเนื้องอกตอนได้รับการวินิจฉัย เด็กหลายคนได้รับรังสีรักษาไปยังพื้นที่รอบ ๆ ไตที่ได้รับผลกระทบหรือในเด็กบางคนอาจจะต้องฉายรังสีไปทั่วทั้งช่องท้อง ถ้าเนื้องอกแพร่กระจายไปยังปอดแล้วอาจจำเป็นต้องใช้การฉายรังสีรักษาไปยังปอดด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดในตอนแรกได้ดีเพียงใด การฉายรังสีรักษาอาจจะไม่จำเป็น

การฉายรังสีรักษาบางครั้งอาจใช้เพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอกที่ใหญ่เกินกว่าที่จะผ่าตัดได้ จนกว่าจะเล็กลงพอที่จะทำการผ่าตัดกำจัดออกได้ การฉายรังสีรักษายังสามารถใช้ในกรณีที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่อื่นในร่างกายได้

การรักษาโรคมะเร็งไตในเด็กทั้งสองข้าง

ในประมาณ 1 ใน 20 รายของเด็กที่เป็นโรคมะเร็งไตส่งผลต่อไตทั้งสองข้าง การรักษามักเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดของทั้งสองข้างของไต จุดมุ่งหมายของการรักษาคือการกำจัดส่วนมะเร็งออกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขณะที่ปล่อยให้ไตส่วนที่เหลือแข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เคมีบำบัดมักเป็นการรักษาเสริมที่จำเป็น และบางครั้งก็อาจทำการฉายรังสีรักษาร่วมด้วย

ผลข้างเคียงของการรักษา

การรักษาโรคมะเร็งไตในเด็กมักจะทำให้เกิดผลข้างเคียง แพทย์ประจำตัวของบุตรหลานของท่านจะปรึกษาและอธิบายเรื่องนี้กับท่านก่อนเริ่มการรักษา ผลข้างเคียงหลายอาการสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงนั้นอาจรวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง รอยฟกช้ำ และเลือดออกง่าย ความเหนื่อยล้าหมดแรง ท้องร่วงและโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนผลข้างเคียงที่อาจพบได้แต่อัตราต่ำมากคือ ปัญหาต่อหัวใจ ไต และตับ

ผลข้างเคียงในระยะยาว

เด็กน้อยคนอาจเกิดผลข้างเคียงระยะยาว ภายในเวลาหลายปีหลังจากนั้น ผลข้างเคียงเหล่านี้ ได้แก่ การ การเจริญเติบโตของกระดูกลดลง การเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหัวใจและปอด และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งในชีวิตในภายหลัง ภาวะมีบุตรยากก็เป็นผลข้างเคียงที่อาจพบได้แม้ว่าจะเป็นเรื่องพบหาได้ยากเช่นกัน

แพทย์หรือพยาบาลของเด็กจะแจ้งและอธิบายกับคุณเกี่ยวกับผลข้างเคียงในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการรักษาที่บุตรหลานของคุณได้รับ

การทดลองทางคลินิก

เด็กหลายคนได้รับการรักษารูปแบบใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองวิจัยทางคลินิก การทดลองมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความเข้าใจในแนวทางที่ดีที่สุดในการรักษาความเจ็บป่วยโดยเปรียบเทียบการรักษามาตรฐานกับการรักษารุ่นใหม่หรือที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว การวิจัยพบว่าคนที่ได้รับการรักษาภายในการทดลองทางคลินิกมีแนวโน้มที่จะได้ผลเทียบเท่าหรือดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่คล้ายคลึงกันในผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าร่วมการทดลองดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าการรักษาที่ใช้ในการทดลองจะดีกว่าเสมอไป โรงพยาบาลที่ดำเนินการทดลองนั้นมักสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่ดี ทันสมัย และครบถ้วนกว่าโรงพยาบาลอื่น ๆ จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผลการรักษามักจะดีเทียบเท่า หรือดีกว่า เช่นเดียวกับการรักษาในทุกโรงพยาบาล ทีมแพทย์และบุคลากรทางสุขภาพจะปฏิบัติตามแนวทาง และหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับการรักษา

ถ้าเป็นไปได้ ทีมแพทย์ของบุตรหลานของคุณจะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการทดลองทางคลินิกและจะตอบคำถามใด ๆ ที่คุณอาจสงสัย อาจมีเอกสารที่คุณได้รับเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น

การมีส่วนร่วมในการทดลองวิจัยถือเป็นความสมัครใจอย่างแท้จริง และคุณจะได้รับเวลาในการตัดสินใจว่าการเข้าร่วมจะเหมาะกับบุตรหลานของคุณหรือไม่

การติดตามผลการรักษา

เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคมะเร็งไตในเด็กสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำก็มักจะกลับมาภายในสองปีหลังจากการรักษาเสร็จสิ้น ซึ่งหากมีไตข้างหนึ่งถูกตัดออกไป ไตอีกข้างก็สามารถทำงานได้อย่างปกติแต่ไม่ได้ทำให้การกำจัดของเสียในร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง

เด็กน้อยคนเท่านั้นที่จะเกิดผลข้างเคียงในระยะยาว บุตรหลานของคุณจะได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อหาว่ามีอาการต่าง ๆ กลับมาเป็นซ้ำหรือมีปัญหาจากการรักษาหรือไม่

หากมีความกังวลบางอย่างเกี่ยวกับสภาวะโรคของบุตรหลานคุณ เป็นการดีคือควรปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวซึ่งทราบสภาวะของโรคโดยละเอียด

การดูแลเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของคุณ

ในฐานะพ่อแม่ การรับรู้ความจริงที่ว่าบุตรหลานของคุณเป็นมะเร็งถือเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่คุณเคยพบเจอ คุณอาจเกิดอารมณ์แตกต่างกันมากมาย เช่น ความกลัว ความผิดหวัง ความเศร้าโศก ความโกรธ และอารมณ์ที่เลื่อนลอย ซึ่งเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาต่อการตอบสนองข่าวร้ายที่ปกติในมนุษย์ทุกคน และเป็นส่วนหนึ่งของการทำใจที่พ่อแม่หลายคนต้องผ่านในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนั้นก่อน คุณอาจไม่สามารถอธิบายความรู้สึกแย่ทั้งหมดออกมาเป็นคำพูดได้ อย่างไรก็ตาม มีหนังสือและแนวทางมากมาย เช่น คู่มือสำหรับผู้ปกครองซึ่งพูดถึงผลกระทบทางอารมณ์ของการดูแลเด็กโรคมะเร็ง และแนะนำแหล่งความช่วยเหลือและการสนับสนุน ซึ่งสามารถปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ผู้เกี่ยวข้องดูได้

บุตรหลานของท่านอาจมีอารมณ์ที่หลากหลายตลอดประสบการณ์การเป็นโรคมะเร็งเช่นกัน

https://www.nhsinform.scot/ill...


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wilms Tumor. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/wilmstumor.html)
Wilms’ Tumour – Histology and Differential Diagnosis - Wilms Tumor. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK373364/)
What Is a Wilms Tumor?. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/what-is-wilms-tumor#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)