รอบเดือนของหนูจะมาตามปกติหลังจากการรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
รอบเดือนของหนูจะมาตามปกติหลังจากการรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือไม่?

มาดูกันว่าผู้เชี่ยวชาญจะตอบคำถามนี้อย่างไร

หนูไม่มีรอบเดือนมาเป็นปีแล้วและแพทย์วินิจฉัยว่าหนูมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หากรักษาภาวะนี้หายแล้ว รอบเดือนของหนูจะกลับมาเป็นปกติไหม? เอเลนสงสัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แน่นอน! รอบเดือนของคุณจะกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

เด็กหญิงวัยรุ่นอาจมีรอบเดือนที่ไม่ปกติและไม่สม่ำเสมอจากหลากหลายสาเหตุ รวมถึงปัญหาทางสุขภาพด้วย อย่างภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เมื่อหญิงสาวมีภาวะนี้รังไข่จะผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนในปริมาณที่สูงกว่าปกติ โดยฮอร์โมนแอนโดรเจนจะไปรบกวนการพัฒนาของไข่และการปล่อยไข่ไปสู่มดลูกที่เป็นกระบวนการปกติของการมีรอบเดือน

พบว่ามีหลายวิธีที่สามารถรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หากคุณมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน การลดน้ำหนักจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้สมดุลได้ นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจนเพื่อลดระดับของฮอร์โมน

การรักษาภาวะนี้จะขึ้นอยู่กับสารเคมีภายในร่างกายของแต่ละคน โดยแพทย์จะลองใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปจนกว่าจะพบวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องพบแพทย์ตามนัดเสมอเพื่อติดตามการรักษา ซึ่งการพบแพทย์ในแต่ละครั้งแพทย์จะแจ้งผลการรักษาให้คุณทราบว่ายาที่ใช้ไปได้ผลหรือไม่และรอบเดือนของคุณเป็นเช่นไร 

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/pos.html


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovarian cysts. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/001504.htm)
Ovarian cyst - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ovarian-cyst/causes/)
Ovarian cysts: Overview. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539572/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)