กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ทำไมเล็บของฉันจึงมีเส้นนูนขึ้นมา

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมเล็บของฉันจึงมีเส้นนูนขึ้นมา

เล็บของคุณนั้นสามารถบอกภาวะทางสุขภาพได้หลายอย่างตั้งแต่ความเครียด โรคไต และโรคไทรอยด์สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเล็บได้ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่พบได้บ่อยก็คือการเห็นเส้นนูนในเล็บในแนวตั้งหรือแนวยาว ส่วนมากมักจะไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด

อาการและสาเหตุที่ทำให้เกิด

เล็บนั้นถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ผิวหนังที่ยังมีชีวิตอยู่ในนิ้ว ดังนั้นการเกิดโรคทางผิวหนังเช่นโรคผิวหนังอักเสบนั้นอาจจะทำให้เกิดเส้นนูนเหล่านี้ได้ หากร่างกายมีโปรตีน แคลเซียม สังกะสีหรือวิตามินเอต่ำ ก็อาจจะทำให้เกิดเส้นดังกล่าวขึ้นได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เส้นแนวตั้ง

  • เส้นในแนวตั้งนั้นเป็นเส้นที่ลากจากปลายเล็บมายังโคนเล็บ
  • เส้นแนวตั้งที่มักจะพบในผู้ที่มีอายุมากและอาจเกิดจากการที่เซลล์นั้นเกิดการผลัดเปลี่ยนช้าลง ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ผิวหนังใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นใต้ผิวหนังนั้นค่อยๆ ขึ้นมาแทนที่เซลล์ที่ตายแล้วซึ่งจะหลุดออกไป

หากคุณมีอาการอื่นๆ เช่นเล็บเปลี่ยนสีหรือมีสัมผัสเปลี่ยนไป เส้นนูนนี้อาจจะเกิดจากโรคทางกายได้ ในภาวะ trachyonychia นั้นเส้นนูนนี้อาจจะเกิดร่วมกับการที่เล็บเปลี่ยนสีหรือเล็บนั้นสากหรือเปราะกว่าปกติ

ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กนั้นสามารถกระตุ้นให้เกิดเส้นนูนในแนวตั้งและมีการเปลี่ยนแปลงที่เล็บที่ทำให้เล็บนั้นมีลักษณะเว้าลงหรือคล้ายกับช้อนได้

เส้นนูนในแนวนอน

การที่มีเส้นนูนในแนวนอนที่หนานั้นจะเรียกว่า Beau’s line มักจะเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรง ซึ่งอาจจะทำให้เล็บนั้นหยุดการงอกจนกว่าจะสามารถรักษาโรคนั้นให้หายได้ โดยอาจจะพบโรคไตแบบฉับพลัน นอกเหนือจากนั้นหากพบเส้นนูนลักษณะนี้ที่นิ้วมือและนิ้วเท้าทั้งหมดนั้น

อาจจะเป็นอาการของโรค

การใช้ยาเคมีบำบัดนั้นก็สามารถทำให้เกิดเส้นนี้ได้เช่นกัน

การบาดเจ็บที่เล็บนั้นสามารถทำให้เกิดจุดสีแดงหรือน้ำตาลใต้เล็บได้ แต่ถ้าหากคุณเห็นว่ามีสีที่ใต้เล็บนั้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ดำ หรือแดงโดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บที่เล็บ อาจจะเป็นอาการของโรคที่รุนแรงเช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma

การวินิจฉัย

หากพบการเปลี่ยนแปลงที่เล็บอย่างฉับพลันควรไปให้แพทย์ตรวจ แต่ถ้าหากคุณได้รับการบาดเจ็บที่นิ้ว คุณอาจจะลองรอเวลาดูก่อนว่าอาการนั้นจะหายไปเองหรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตามคุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากการบาดเจ็บนั้นทำให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • ทำให้เล็บฉีกขาด
  • มีการบดเล็บ
  • เล็บหลุด
  • มีเลือดออกใต้เล็บ

ในระหว่างที่พบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจและซักประวติที่อาการที่คุณเป็น อาจจะมีการตรวจเลือดหรือปัสสาวะหากสงสัยว่าเป็นโรคไต เบาหวานหรือการขาดสารอาหาร

หากเส้นนูนเหล่านั้นนั้นเกิดจากภาวะทางผิวหนัง แพทย์ผิวหนังจะสามารถเริ่มวางแผนการรักษาได้ หากสาเหตุนั้นไม่ชัดเจน อาจจะมีการตัดเล็บบางส่วนเพื่อไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

การรักษา

เนื่องจากเส้นนูนที่เล็บนั้นอาจจะเป็นอาการของโรคอื่นๆ ได้ ดังนั้นการรักษาจึงเน้นที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ตัวอย่างเช่นหากคุณเกิด Beau’s line จากการเป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลนั้นก็อาจจะช่วยลดการเกิดเส้นนูนเหล่านี้ได้

การรักษาโรคทางผิวหนังเช่นผิวหนังอักเสบนั้นอาจจะประกอบด้วยการใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้นที่มือหรือยาทาเพื่อลดอาการ หากมีการขาดแร่ธาตุหรือวิตามิน คุณอาจจะต้องปรับอาหารที่รับประทานหรือทานอาหารเสริมเพิ่มเติม

การตะไบเล็บนั้นอาจจะช่วยทำให้เส้นนูนเหล่านี้นั้นเนียนลงได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อขอคำแนะนำให้การรักษาอาการดังกล่าว คุณอาจจะต้องพยายามไม่กดที่เล็บแรงเกินไปเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม

ผลลัพธ์

ส่วนใหญ่แล้ว เส้นนูนที่เล็บเหล่านี้นั้นเป็นอาการทั่วไปของการมีอายุเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ควรใส่ใจหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เล็บ เพราะอาจจะเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคอื่นๆ ได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม