ทำไมปัสสาวะของเราถึงเป็นฟอง?

สังเกตปัสสาวะของคุณให้ดี เพราะฟองอาจบ่งบอกถึง "ความผิดปกติ" และ "โรค" ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมปัสสาวะของเราถึงเป็นฟอง?

การปัสสาวะเป็นกิจวัตรที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ลักษณะและความถี่ของการปัสสาวะของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันออกไป แต่หนึ่งในปัญหาที่เราพบได้ก็คือ "การปัสสาวะเป็นฟอง" หากคุณสงสัยว่า เกิดจากอะไร เป้นความผิดปกติที่ต้องรักษาหรือไม่  บทความนี้จะพาคุณไปดูสาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษาการปัสสาวะเป็นฟอง

สาเหตุการปัสสาวะเป็นฟอง

หากเราปัสสาวะปริมาณมากในครั้งเดียว หรือหากปัสสาวะออกมาเร็ว หรือถูกบังคับให้ออกมา ปัสสาวะก็อาจมีลักษณะเป็นฟองได้ ทั้งนี้ความเร็วในการปัสสาวะสามารถทำให้เกิดฟองชั่วคราว นอกจากนี้สบู่ในน้ำของโถส้วมก็อาจทำให้ปัสสาวะเป็นฟองได้เช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัญหาสุขภาพที่ทำให้ปัสสาวะมีลักษณะดังกล่าวเช่นกัน ประกอบไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1.ภาวะขาดน้ำ

หากปัสสาวะมีสีเข้มมากและมีความเข้มข้นสูงอาจทำให้ปัสสาวะเป็นฟองได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเราดื่มน้ำไม่พอสำหรับการเจือจางสารอื่นๆ ในปัสสาวะ  ในกรณีนี้คุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว

2.โรคไต

หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญของไตคือ การกรองโปรตีนออกจากเลือด ซึ่งโปรตีนเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญ เช่น รักษาสมดุลของของเหลว หากไตของเราเสียหาย หรือเป็นโรคไต โปรตีนในไตก็จะไหลออกมาปนกับปัสสาวะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Proteinuria การมีโปรตีนในปัสสาวะมากเกินไปจะทำให้ความตึงผิวของปัสสาวะลดลง ทำให้เกิดฟองได้ในที่สุด   ภาวะ Proteinuria สามารถเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคไตได้  สำหรับอาการของโรคไตอื่นๆ ประกอบไปด้วย คันผิว คลื่นไส้ หายใจติดขัด บวม รู้สึกเหนื่อยแบบไม่มีเหตุผล ปัสสาวะบ่อย อาเจียน ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้และคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน  หากคุณปัสสาวะเป็นฟองมากขึ้นอย่างต่อเนื่องควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

3.โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานและสาเหตุอื่นๆ ของการมีน้ำตาลในเลือดสูงสามารถทำให้ปัสสาวะเป็นฟองได้  ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้จะมีน้ำตาลกลูโคสในร่างกายมากกว่าคนอื่น หากมีปริมาณสูงมากเกินไป ไตก็จะมีปัญหากับการกรองโมเลกุลของน้ำตาล สิ่งที่จะตามมาคือ ไตจะปล่อยกลูโคสส่วนเกินและโปรตีนเข้าไปในปัสสาวะ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มองเห็นภาพไม่ชัด ปากแห้ง รู้สึกหิวน้ำต่อเนื่อง ต้องการไปเข้าห้องน้ำ  รู้สึกหิวแบบที่ไม่สามารถอธิบายได้ คันผิว เหนื่อยแบบไม่สามารถอธิบายได้ ฯลฯ

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุของการมีปัสสาวะเป็นฟองโดยการทดสอบตัวอย่างของปัสสาวะเพื่อดูว่า มีระดับของโปรตีนสูงหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเก็บปัสสาวะของตัวเองตลอดวัน โดยจะทำการเทียบจำนวนของอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดกับปริมาณของของเสียที่เรียกว่า ครีทีนีน หากสัดส่วนของสารดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก็สามารถบ่งบอกได้ถึงการเป็นโรคไต หรือไตบาดเจ็บ จนส่งผลต่อกระบวนการกรองของเสีย นอกจากนี้แพทย์อาจใช้วิธี MRI เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างของไตไม่มีปัญหา

การรักษา

การรักษาภาวะปัสสาวะเป็นฟองขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากเกิดจากร่างกายขาดน้ำ คุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้นจนกระทั่งปัสสาวะเป็นสีใส หรือเหลืองซีด  ในกรณีที่โรคเบาหวานคือสาเหตุของการปัสสาวะเป็นฟอง แพทย์จะจ่ายยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจระดับของน้ำตาลเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่า อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

แพทย์อาจจ่ายยาให้กับผู้ที่เป็นโรคไตระยะแรก หากเป็นโรคไตจากความดันโลหิตสูง แพทย์อาจให้ยาลดความดันโลหิตที่ช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะด้วย เช่น ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) และ angiotensin receptor blockers (ARBs) นอกจากนี้อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เค็มน้อย มีโซเดียมต่ำเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต  เลี่ยงอาหารรสหวานเพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือด  ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และไม่สูบบุหรี่ ฯลฯ  


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachel Nall, Why is my urine foamy? (https://www.medicalnewstoday.c...), 18 June 2018
Erik P. Castle, M.D., Foamy urine: What does it mean? (https://www.mayoclinic.org/foamy-urine/expert-answers/faq-20057871), 30 Sep 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)