ทำไมลูกของฉันถึงเป็นโคลิค (Colic)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำไมลูกของฉันถึงเป็นโคลิค (Colic)

เราคงจะเคยได้ยินคำว่าโคลิก (Colic) กันมาบ้าง ทราบหรือไม่ว่าโคลิกคืออะไร และลูกของคุณอาจจะเป็นโคลิกได้เช่นกัน วันนี้เรามีคำตอบว่าอาการโคลิกคืออะไร และทำไมลูกของเราจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะเป็นอาการโคลิก รวมถึงการป้องกันและการรักษาอาการโคลิก

โคลิคเป็นอาการของเด็กวัยแรกเกิดที่เด็กร้องไห้อย่างหนัก ไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องได้โดยไม่มีสาเหตุ  โดยมากมักเป็นช่วงเย็นๆ จนถึงดึกๆ เสียงร้องของลูกจะร้องกวนอย่างต่อเนื่อง ทำยังไงก็ไม่หยุด เป็นอาการร้องไห้ที่ไม่ใช่สาเหตุจากการหิว หรือง่วงนอน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อาการคล้ายปวดท้อง ลำไส้บีบรัดตัวเป็นพักๆ และเมื่อเราลองจับที่หน้าท้องของลูกจะรู้สึกว่าท้องของลูกแข็งและเกร็งมาก ยิ่งร้องไห้มากเท่าไหร่ อากาศก็จะเข้าไปในลำไส้มาก ท้องก็จะยิ่งแข็ง และผายลมออกมามาก โดยมากอาการโคลิกมักจะเป็นวันละครั้ง และมักจะเป็นช่วงเย็นๆ ถึงดึกๆ และเด็กจะหยุดร้องเองเมื่อผ่านไป 3-4 ชั่วโมงหรือพอซักเที่ยงคืนถึงตี 1 ก็จะหยุดไปเอง หากพาไปหาหมอ ก็จะไม่พบอาการผิดปกติอะไร นั้นคืออาการโดยทั่วไปของโคลิค

ในปัจจุบันทางการแพย์ยังหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการโคลิกไม่พบ ในบางกรณีหมอบางท่านอาจลงความเห็นว่า เป็นเพราะเด็กแพ้อาหารบางอย่างที่คุณแม่กิน แล้วคุณแม่ก็มาให้นมลูก ลูกจึงอาจจะแพ้ได้ เช่น นมวัว อาหารรสเผ็ด เป็นต้น ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนอาหารที่กิน เลิกดื่มนมวัว เลิกดื่มชาหรือกาแฟ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามพ่อแม่อาจจะช่วยลูกด้วยการทำใจให้ผ่องใส อารมณ์ดี อย่าใส่อารมณ์กับลูก อย่าโมโหลูก หรือเขย่าตัวลูกเวลาที่ลูกเกิดอาการโคลิก ขอให้อุ้มลูกเดินไปมาเพื่อให้ลูกผ่อนคลายความเครียด เปิดเพลงเบาๆ หรือพาเดินเล่นนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หากทำทุกอย่างแล้วยังไม่หยุดร้องอาจจะต้องพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาว่าเจ็บป่วยอะไรหรือไม่

โดยปกติอาการโคลิกนี้จะหายไปเองเมื่อลูกมีอายุประมาณ 3 ถึง 4 เดือนหรือมากกว่านั้น แต่ขอให้มั่นใจว่า แม้ว่าลูกของเราจะมีอาการโคลิกแต่อาการนี้จะหายไปได้เอง ขอให้อดทนและใจเย็นให้มาก


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Could Your Baby’s Crying Be Colic? (https://www.webmd.com/parentin...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป