ทำไมการรับประทานเนยถั่วจึงถือว่าดีต่อสุขภาพทั้งๆ ที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำไมการรับประทานเนยถั่วจึงถือว่าดีต่อสุขภาพทั้งๆ ที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว

มีบทความมากมายที่บอกว่าเนยถั่วถือเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ว่าเนยถั่วมีส่วนผสมของไขมันชนิดอิ่มตัว และมีโซเดียมมากกว่าโพแทสเซียม แล้วทำไมมันถึงยังดีต่อสุขภาพ?

ทำไมเนยถั่วถึงดีต่อสุขภาพ?

การที่อาหารมีส่วนประกอบของไขมันอิ่มตัวนั้นไม่ได้หมายความว่าอาหารชนิดนั้นจะกลายเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทันที เพราะแม้แต่อาหารที่เราคิดว่าดีต่อสุขภาพเช่นน้ำมันมะกอก ธัญพืช หรือเต้าหู้ ก็ล้วนแต่มีไขมันอิ่มตัวทั้งสิ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การที่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจะดีต่อสุขภาพหรือไม่นั้นจำเป็นต้องดูคุณค่าทางโภชนาการทั้งหมดรวมกัน ไม่ใช่เฉพาะค่าใดค่าหนึ่ง เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะมีไขมันอิ่มตัว 3.3 กรัมและไขมันไม่อิ่มตัว 12.3 กรัมหรือคิดเป็น 80% ของไขมันทั้งหมด ซึ่งถือว่าเทียบเท่ากับน้ำมันมะกอก 

นอกจากนั้นเนยถั่วยังให้เส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด รวมถึงสารอาหารอื่นๆ เนยถั่วชนิดไม่ใส่เกลือนั้นมีโซเดียม 5 มิลลิกรัมซึ่งถือว่ามีค่าอัตราส่วนระหว่างโซเดียมและโพแทสเซียมที่เหมาะสม ในขณะที่เนยถั่วชนิดใส่เกลือนั้นจะมีโพแทสเซียมมากกว่าโซเดียมประมาณ 2 เท่า ซึ่งเทียบเท่ากับโบโลญา เนื้อย่าง หรือไส้ต่างๆ ที่ใส่ในแซนด์วิช

กินเนยถั่วเป็นประจำมีผลดีอย่างไร?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการศึกษาที่พบว่าผู้ที่รับประทานถั่วหรือเนยถั่วเป็นประจำนั้นจะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหัวใจหรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้น้อยกว่าผู้ที่รับประทานถั่วในปริมาณน้อย แม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างกันแต่ก็ค่อนข้างเชื่อได้ว่าถั่วนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ไขมันชนิดอิ่มตัวนั้นไม่ใช่สารพิษต่อร่างกายเหมือนอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ ร่างกายเราจะตอบสนองต่อไขมันชนิดดังกล่าวด้วยการเพิ่มไขมันชนิด LDL และ HDL ออกมาในกระแสเลือด ดังนั้นการรับประทานไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดซึ่งจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา ในขณะที่การรับประทานไขมันชนิดไม่อิ่มตัวนั้นจะช่วยลดไขมันชนิด LDL และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
8 Healthy Peanut Butter Brands. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/healthy-peanut-butter-brands/)
Is peanut butter good for you? Health benefits and nutrition. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323781)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม
โพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโพแทสเซียม ซีลีเนียมและโซเดียม ประโยชน์ของแร่ธาตุเหล่านี้ต่อร่างกายคุณและโรคที่เกิดขึ้นหากคุณขาดแร่ธาตุเหล่านี้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม