ทำไมลายมือหมอจึงอ่านยาก?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำไมลายมือหมอจึงอ่านยาก?

หากคุณเคยให้หมอเขียนใบรับรองแพทย์หรือจดหมายมาก่อน คุณก็คงสังเกตได้ว่าลายมือของพวกเขานั้นอ่านยากมาก และก็ดูเหมือนจะเป็นคุณลักษณะที่พบได้ในหมอทุกคนแบบไม่มีข้อยกเว้น

ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ได้มีแต่คนที่ลายมือแย่เท่านั้นที่อยากมาเรียนหมอ มีหลายคนที่ก่อนหน้านี้เขียนประกวดคัดลายมือได้รางวัลมาแล้วด้วยซ้ำ แต่ทำไมหมอทุกคนถึงมีลายมือที่แสนจะอ่านยาก?

อย่างหนึ่งที่คุณต้องรู้ก็คืออาชีพหมอนั้นเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องเขียนมากกว่าอาชีพอื่นๆ เนื่องจากหมอจำเป็นต้องบันทึกประวัติและการตรวจร่างกายที่ได้อย่างละเอียดเพราะหากไม่บันทึกก็เทียบเท่ากับการไม่ได้ตรวจ

และเมื่อเขียนเยอะๆ และเขียนทั้งวัน ลายมือของคุณก็จะเริ่มแย่ลง แย่ลง จนกระทั่งคุณเริ่มจะจับปากกาเขียนไม่ออกอีกต่อไป ลายมือหมอส่วนใหญ่จึงมักจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงบ่ายหรือเย็น

ยิ่งไปกว่านั้นหมอ 1 คนต้องตรวจคนไข้จำนวนมากในเวลาจำกัด และต้องพยายามพูดคุยถึงทุกประเด็นปัญหาที่คนไข้มีให้ครบถ้วนภายในเวลาที่มี ดังนั้นหมอจึงย่อมให้ความสนใจกับความครบถ้วนของเนื้อหาที่บันทึกมากกว่าความสวยงามของลายมือ

ศัพท์ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ยังเป็นศัพท์ที่ยากต่อการสะกดและยาว ทำให้บางครั้งหมอเลือกที่จะตวัดหวัดๆ เพื่อให้พอเข้าใจแทนการสะกดทุกตัวอักษรอย่างถูกต้อง และเมื่อรวมกับตัวย่อทางการแพทย์มากมายที่คุณอาจจะไม่เข้าใจแล้ว ก็ยิ่งทำให้คุณยิ่งไม่เข้าใจเนื้อหาที่แพทย์เขียนเข้าไปอีก

อย่างไรก็ตามแพทย์ส่วนใหญ่จะพยายามเขียนใบสั่งยาให้ชัดเจนเนื่องจากการตีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดยา หรือปริมาณที่รับประทาน มีรายงานหนึ่งพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 7000 คนต่อปีที่เสียชีวิตจากความผิดพลาดที่เกิดจากลายมือของแพทย์

ในปัจจุบัน แพทย์มีการใช้ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเพื่อลดความผิดพลาดจากลายมือ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตดังกล่าวได้หรือไม่แต่แพทย์ส่วนมากเห็นด้วยว่ามันช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่แน่นอนว่าการพิมพ์นั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่จไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดเลย เพราะคุณก็ยังสามารถพิมพ์ผิดได้อยู่ดี


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Preparing a manuscript for publication: A user-friendly guide. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2528624/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)