ทำไมการช่วยชีวิตเบื้องต้นจึงเปลี่ยนจาก A-B-C มาเป็น C-A-B ?

ทำไม American Heart Association จึงมีการเปลี่ยนลำดับในการช่วยชีวิตเบื้องต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมการช่วยชีวิตเบื้องต้นจึงเปลี่ยนจาก A-B-C มาเป็น C-A-B ?

ทำไมการช่วยชีวิตเบื้องต้นจึงเปลี่ยนจาก A-B-C มาเป็น C-A-B ?

ในปี 2010 คู่มือการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดลำดับขั้นตอนในการช่วยชีวิตใหม่ ในปัจจุบันแทนที่จะใช้ A-B-C ซึ่งมาจากทางเดินหายใจและการหายใจแล้วค่อยกดหน้าอกนั้น American Heart Association ได้สอนให้ผู้ช่วยเหลือทำตามขั้นตอน C-A-B แทน คือกดหน้าอกก่อนแล้วค่อยช่วยทางเดินหายใจและการหายใจ เมื่อปล่อยคำแนะนำนี้ออกมา ทำให้มีหลายคนสงสัยว่าทำไมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง

คำตอบ: มันก็เหมือนกับการที่คุณสามารถกลั้นหายใจได้ประมาณ 1-2 นาทีโดยไม่ทำให้เกิดการทำลายสมองนั้นแหละ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นสามารถอยู่ได้ 1-2 นาที (หรือในความเป็นจริงแล้วนานกว่านั้นมาก) โดยที่ไม่หายใจ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการจริง ๆ นั้นคือการทำให้เลือดมีการไหลเวียน

การที่เลือดหยุดไหลเวียนไปนานจะยิ่งลดโอกาสในการรอดชีวิต การช่วยเหลือเรื่องการหายใจมักจะทำให้การกดหน้าอกเริ่มขึ้นช้าลง และแม้ว่าการหายใจนั้นอาจจะสำคัญ (ซึ่งมันไม่สำคัญ) แต่มันก็ทำให้การช่วยชีวิตนั้นช้าลงโดยไม่ตั้งใจ

เมื่อผู้ช่วยเหลือกังวลเกี่ยวกับการเปิดทางเดินหายใจหรือการหาหน้ากากสำหรับช่วยชีวิตออกมาจากกระเป๋า ก็จะยิ่งทำให้การช่วยชีวิตนั้นช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ เวลาเหล่านี้ขัดขวางขั้นตอนที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วนั่นก็คือการกดหน้าอก

ในบทสรุปของการเปลี่ยนแปลงนี้ American Heart Association ได้อธิบายไว้ว่า

การใช้ลำดับการช่วยชีวิตแบบ A-B-C นั้นมักทำให้การกดหน้าอกนั้นเกิดขึ้นช้าในขณะที่ผู้ช่วยเหลือต้องการเปิดทางเดินหายใจ และช่วยหายใจหรือมองหาอุปกรณ์สำหรับการช่วยหายใจ การเปลี่ยนลำดับการช่วยเหลือมาเป็น C-A-B นั้นจะทำให้มีการเริ่มกดหน้าอกได้เร็วขึ้นและการช่วยหายใจก็เกิดขึ้นช้ากว่าเล็กน้อย คือหลังจากจบการกดหน้าอกรอบแรก (การกดหน้าอก 30 ครั้งสามารถทำได้ภายในประมาณ 18 วินาที)

การเริ่มกดหน้าอกก่อนนั้นจะทำให้ผู้ป่วยไม่ได้หายใจนานขึ้นเพียง 18 วินาทีในขณะที่เลือดสามารถไหลเวียนได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่า การทำให้เลือดไหลเวียนแม้ว่าจะเป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำนั้นเป็นการทำงานที่สำคัญที่สุดของการช่วยชีวิตเบื้องต้น และคู่มือการช่วยชีวิตเบื้องต้นปี 2010 นั้นก็ได้นำเรื่องนี้มาเป็นหลักในการช่วยชีวิต

ในการกดหน้าอกนั้นควรกดลึกอย่างน้อย 2 นิ้วสำหรับผู้ใหญ่และควรกดให้อยู่ในความเร็วระหว่าง 100-120 ครั้งต่อนาที การกดหน้าอกช้าเกินไปจะทำให้มีความดันโลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ และการกดหน้าอกที่เร็วเกินไปก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่เลือดจะไหลเวียนเข้าสู่ช่องอกไม่เพียงพอก่อนถึงการกดครั้งถัดไป

หลังจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการช่วยชีวิตในปี 2010 นั้น การช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐานก็ได้สนับสนุนการกดหน้าอกมากกว่าการช่วยหายใจ การช่วยชีวิตโดยการใช้มือเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นมาตรฐานของการรักษาเบื้องต้นในปัจจุบัน และแม้แต่ผู้ช่วยชีวิตที่เชี่ยวชาญหลายคนก็ได้นำเรื่องการช่วยหายใจออกจากการช่วยชีวิตพื้นฐาน เพราะเมื่อผู้ช่วยชีวิตพยายามช่วยหายใจ พวกเขาก็มักจะไม่ได้ทำขั้นตอนอื่นที่ยากกว่านั้นและเลือกการช่วยหายใจแบบพื้นฐานแทน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why Did CPR Change from A-B-C to C-A-B?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/why-did-cpr-change-from-a-b-c-to-c-a-b-1298426)
Paradigm shift: 'ABC' to 'CAB' for cardiac arrests. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2992496/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)