ทำไมเด็กทารกถึงดูดนิ้วตัวเอง

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการดูดนิ้วของทารก รู้และเข้าใจทารกแรกคลอด
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำไมเด็กทารกถึงดูดนิ้วตัวเอง

การดูดนิ้วของเด็กทารกหลายคนอาจจะคิดว่าเด็กคงจะหิว แต่การดูดนิ้วไม่ได้เป็นแค่การแสดงออกถึงอาการหรือความต้องการของเด็กเท่านั้น แต่การดูดนิ้วตัวเองเป็นการช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอีกด้วย และที่สำคัญคือ เด็กทารกไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมาดูดนิ้วตัวเองเป็นเมื่อคลอดออกมา แต่ความจริงเด็กทารกเริ่มดูดนิ้วตัวเองตั้งแต่ยังอยู่ในท้องของแม่ต่างหาก

ข้อมูลนี้ได้มาจากการดูภาพอัลตราซาวนด์ซึ่งทางการแพทย์ได้ค้นพบว่า เด็กทารกในครรภ์เมื่อมีอายุประมาณ 16 สัปดาห์จะเริ่มดูดนิ้วมือเป็น เพราะการดูดนิ้วมือจะเป็นการกระตุ้นการทำงานระบบประสาทรับรู้รสต่างๆ และยังเป็นกระตุ้นการมองเห็นและการสัมผัสด้วย เพราะว่าเด็กทารกจะดูดนิ้วได้ก็ต้องใช้การมองเห็นและการขยับมือเข้าปาก ธรรมชาติได้สร้างให้เด็กทารกเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ดังนั้นเมื่อเด็กทารกออกมาสู่โลกภายนอกแล้วเด็กทารกจึงสามารถดูดนมได้ทันที และเด็กทารกก็สามารถรับรู้รสได้ตั้งแต่อยู่ในครรภภ์ด้วยเช่นกัน โดยมีการทดลองฉีดสารไอโอดีนเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ เมื่อตรวจดูด้วยเครื่องมืออัลตราซาวนด์จะพบว่า เด็กทารกจะทำหน้านิ่วขณะรับรู้รสของไอโอดีน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากการดูดนิ้วเพื่อกระตุ้นระบบประสาทการรับรู้รสแล้ว เมื่อเด็กคลอดออกมา การดูดนิ้วของเด็กทารกนั้นบางครั้งก็เป็นการแสดงออกถึงความกังวลหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยเช่นกัน เช่น หากเด็กรู้สึกกังวลหรือไม่ปลอดภัย เด็กทารกหลายคนก็อาจจะใช้วิธีดูดนิ้ว เพราะเด็กเคยชินกับการดูดนิ้วตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และภาวะที่เด็กอยู่ในครรภ์นั้นเด็กจะรู้สึกว่าปลอดภัยและได้อยู่ใกล้ชิดกับแม่นั้นเอง เด็กทารกบางคนไม่ได้แค่ดูดนิ้ว แต่อมและดูดทั้งกำมือเลยก็มี แต่บางครั้งการดูดนิ้วหรือดูดมือตัวเองของเด็กทารกก็เป็นการกระตุ้นการทำงานของช่องปาก ต่อมน้ำลายต่างๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากคุณแม่มั่นใจว่าลูกได้ทานนมเต็มอิ่มแล้วละก็ อาการดูดนิ้วของเด็กก็จะเป็นที่สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เพราะหิวแล้ว โดยมากอาการดูดนิ้วจะหายไปเองเมื่อเด็กมีพัฒนาการระบบทางช่องปากได้สมบูรณ์แล้ว แต่หากเป็นเด็กโตที่ยังคงติดการดูดนิ้วแล้วละก็ คงต้องปรึกษาคุณหมอแล้ว


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Susan Heitler Ph.D., Lessons from Thumbsucking, the Earliest Addiction (https://www.psychologytoday.co...), 26 January 2012
Thumb-Sucking Baby: Is It Okay for Newborns to Suck Their Thumbs? (https://www.whattoexpect.com/f...), 18 July 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เด็กทารกต้องนอนเท่าไรถึงจะพอ?
เด็กทารกต้องนอนเท่าไรถึงจะพอ?

รู้พฤติกรรมการนอนของทารกในแต่ละช่วงวัย

อ่านเพิ่ม