ทำไมเด็กทารกชอบให้อุ้มแกว่งไปมาเวลานอนหลับ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำไมเด็กทารกชอบให้อุ้มแกว่งไปมาเวลานอนหลับ

พ่อแม่หลายคนมีปัญหาลูกติดให้อุ้มตลอดเวลาที่เด็กจะนอน ถ้าไม่อุ้มแล้วลูกจะนอนไม่หลับ หรือว่าในกรณีที่ลูกร้องไห้มากๆ (ไม่ใช่ร้องเพราะหิวหรือรู้สึกเปียกชื้น) เมื่ออุ้มลูกพาดบ่าหรือแนบอกแล้วเขย่าหรือแกว่งตัวลูกนิดหน่อย ไม่นานลูกก็เงียบและหลับได้ คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมว่าทำไมเด็กทารกถึงชอบแบบนั้น หรือว่าเด็กหยุดร้องเพราะเด็กมึนงงกับการถูกอุ้มแล้วเขย่าๆ เด็กทารกบางคนชอบให้พ่อแม่อุ้มในท่านั้งอยู่บนเก้าอี้โยก เมื่อเด็กทารกจะนอนพ่อหรือแม่ต้องนั่งโยกเก้าอี้โยกไปด้วย หรือการไกวแปลที่ต้องเหวี่ยงไปมาแต่ทำไมลูกถึงนอนหลับได้ โดยไม่เวียนหัว (หรือที่หลับไปเพราะเวียนหัวกันแน่) เรามีคำตอบมาบอก

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจสภาวะของเด็กทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก่อน ในช่วงที่เด็กทารกยังอยู่ในท้องคุณแม่นั้น ทารกจะมีการเคลื่อนไหวไปมา ไม่ได้นอนขดตัวนิ่งๆ เหมือนที่หลายๆ คนเข้าใจ ยิ่งคุณแม่เคลื่อนไหวมากเท่าไร เด็กทารกก็จะเคลื่อนไหวไปมาตามการเคลื่อนไหวของคุณแม่ไปด้วย

ธรรมชาติจึงสอนให้เด็กทารกในครรภ์เรียนรู้การรักษาความสมดุลย์ต่างๆ นอกจากนั้นยิ่งคุณแม่เคลื่อนไหวมากเท่าไร เด็กทารกในครรภ์ก็จะสัมผัสกับผนังมดลูก เด็กจะมีความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย การนั่งเก้าอี้โยกไปมา หรือไกวเปล เด็กทารกจะรู้สึกเหมือนสภาวะเมื่อครั้งตอนที่อยู่ในครรภ์คุณแม่ เด็กจึงรู้สึกคุ้นเคยมากกว่า แต่ไม่ควรวางเด็กบนอุปกรณ์ที่สั่นแรงเช่นเครื่องซักผ้าหรือเครื่องล้างจานเพราะเด็กอาจตกลงมาได้

สำหรับการอุ้มพาดบ่าหรือแนบอกนั้น เนื่องจากว่าในช่วงที่เด็กทารกยังอยู่ในครรภ์คุณแม่ เด็กจะได้ยินเสียงหัวใจเต้นของคุณแม่อยู่ตลอดเวลา จังหวะการเต้นของหัวใจจึงเป็นเหมือนเสียงที่คุ้นเคย เมื่อเด็กทารกได้ยินเสียงหัวใจเต้นจากการอุ้มแนบอก เด็กจะรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัยมากกว่า ทำให้เด็กนอนหลับได้ง่ายขึ้นนั้นเอง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dr. Harvey Karp, How To Put Your Baby To Sleep, According To "The Baby Whisperer" (https://www.youtube.com/watch?...), 13 April 2018
Dan Brennan, How to Soothe a Crying Baby (https://www.webmd.com/parentin...), 21 May 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)