กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วัคซีนโรคไอกรน (Whooping cough vaccine)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
วัคซีนโรคไอกรน (Whooping cough vaccine)

ภาพรวม

วัคซีนไอกรนใช้ในหญิงตั้งครรภ์เพื่อช่วยปกป้องทารกต่อโรคไอกรน (pertussis)

ทั้งนี้ก็เพราะมีเชื้อไอกรนแพร่กระจายอยู่โดยรอบและเด็กที่ยังเล็กเกินไปที่จะเริ่มต้นแผนการสร้างภูมิคุ้มกันก็มีโอกาสเสี่ยงสูงมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณสามารถช่วยปกป้องลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากโรคไอกรนได้ตั้งแต่เขาอายุ 1สัปดาห์ ด้วยการฉีดวัคซีนไอกรนขณะที่คุณตั้งครรภ์-แม้ว่าตัวคุณเองจะเคยได้รับการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มมาก่อนหรือเคยฉีดวัคซีนไอกรนมาก่อนก็ตาม

 กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มนี้แนะนำให้ทำได้ทันทีที่ตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนัดหมายการเข้ารับวัคซีนเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ไอกรนคืออะไร?

ไอกรนเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการไอและการสำลักซ้อนๆ ติดกัน ทำให้หายใจลำบาก อาการไอกรนเกิดได้นานถึง 10 สัปดาห์

โรคนี้แพร่กระจายได้ง่ายโดยการหายใจเอาละอองเล็ก ๆ ที่ถูกปล่อยออกสู่อากาศโดยอาการไอและจามของผู้อื่น

เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีจะมีความเสี่ยงสูงจากโรคไอกรน สำหรับเด็กในวัยนี้ โรคนี้รุนแรงมากและอาจส่งผลต่อชีวิตได้ แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงในเด็กที่โตกว่า

เชื้อโรคไอกรนสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เสียง ‘วู้ป(whoop)’ เป็นเสียงที่เกิดจากการหายใจเข้าเอาอากาศหลังจากที่ไอแต่ละครั้ง ไม่ใช่ทุกรายที่จะมีเสียง ‘วู้ป(whoop)’ จึงทำให้รับรู้ยากว่าเป็นโรคนี้

เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไอกรน สำหรับเด็กในวัยนี้ โรคนี้มีความรุนแรงและสามารถนำไปสู่การเป็นโรคปอดบวมและสร้างความเสียหายต่อสมองอย่างถาวรได้ มีเด็กหลายรายในสหราชอาณาจักรเสียชีวิตจากการระบาดจากโรคนี้

สถานการณ์การระบาดในไทย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไอกรนในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-26 เม.ย. 2561 พบว่า มีรายงานโรคไอกรน 19 เหตุการณ์ พบผู้ป่วย 27 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 59.26) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 1-3 เดือน (ร้อยละ 40.74) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) มีรายงานผู้ป่วย 16-77 ราย เสียชีวิตปีละ 0-3 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงาน 4 เหตุการณ์ จากจังหวัดสงขลา ภูเก็ต นครพนม และนครศรีธรรมราช สำหรับการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์ คาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคไอกรนเพิ่มสูงขึ้น

ใครที่ควรได้รับวัคซีน

หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 สัปดาห์เป็นต้นไปควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการฉีดวัคซีนอยู่ระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ 16 ถึง 32 แต่ยิ่งคุณได้รับวัคซีนเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

นั่นหมายความว่า คุณมีเวลาเพิ่มมากขึ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีและนี่เองจะถูกส่งผ่านไปสู่ลูกในท้อง

คุณอาจได้รับวัคซีนหลังจากอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ก็ได้ แต่เด็กก็จะได้รับการปกป้องที่ไม่เท่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

คุณจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อตรวจการติดเชื้อที่สามารถส่งผลต่อตัวคุณและลูก เช่น:

วัคซีน

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไอกรนโดยเฉพาะ แต่คุณจะได้รับวัคซีนที่ประกอบไปด้วยการป้องกันถึง 4 โรคไปด้วยกัน ดังนี้:

วัคซีนนี้มีดีอย่างไร?

วัคซีนนี้ส่งผลดีเยี่ยมในการปกป้องทารกในครรภ์จากโรคไอกรนจนกระทั่งเด็กโตเพียงพอที่จะฉีดวัคซีนเอง

ภูมิคุ้มกันที่คุณได้รับจากวัคซีนจะส่งไปสู่ลูกผ่านทางสายรก การได้รับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันลูกน้อยตั้งแต่อายุได้ 2-3 สัปดาห์แรกที่ยังอ่อนแอ จนกระทั่งลูกโตพอที่จะได้รับวัคซีนตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเมื่ออายุ 8 สัปดาห์

เด็กจะได้รับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนเมื่อมีอายุ 2, 3 และ 4 เดือน ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และจากนั้นจะได้รับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันครั้งที่ 4 จากวัคซีน 4-อิน-1(4- in-1 vaccine) เมื่อมีอายุได้ 3 ปี 4 เดือน

หากลูกได้รับวัคซีนนี้แล้วจะไม่เป็นโรคไอกรนแน่นอนใช่หรือไม่?

ไม่มีวัคซีนใดที่ได้รับการยืนยันการปกป้อง 100% แต่นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องทารกจากโรคไอกรนในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต

จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเกิดผลดีเยี่ยมในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีน ในประเทศสกอตแลนด์ สามารถลดจำนวนของเด็กที่ติดโรคไอกรนได้ อย่าลืมว่าภูมิคุ้มกันที่ลูกได้รับจากคุณนั้นสามารถหมดไปได้ ดังนั้นต้องแน่ใจว่าคุณจะพาลูกเข้ารับวัคซีนไอกรนตัวแรกตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเมื่อลูกอายุได้ 8 สัปดาห์

การกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่แม่ได้รับจะปกป้องลูกได้นานถึงเมื่อไหร่?

ภูมิคุ้มกันที่ทารกแรกเกิดได้รับจากวัคซีนคุณนั้นจะช่วยปกป้องเขาในช่วงสัปดาห์แรกๆ ลูกยังคงต้องการการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคไอกรนเพิ่มอีก 4 วัคซีนแบบครบสูตรเพื่อที่จะปกป้องเมื่อเขาโตขึ้น

การมีลูกแฝด

 วัคซีน 1 วัคซีนสามารถปกป้องลูกได้ทุกคน ไม่ว่าคุณจะมีลูกกี่คนก็ตาม

กรณีหากตั้งครรภ์อีกครั้งหลังจากที่เพิ่งคลอดลูก

คุณจะต้องได้รับการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อคุณมีอายุครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ จัดตารางพบแพทย์เพื่อให้ได้รับวัคซีนทุกครั้งที่คุณตั้งครรภ์

กรณีมีทารกแรกเกิดแต่ยังไม่ได้รับวัคซีนตอนที่ตั้งครรภ์ จะสามารถเข้ารับการให้วัคซีนตอนนี้เลยได้หรือไม่?

หญิงที่ไม่ได้รับวัคซีนระหว่างที่ตั้งครรภ์อาจต้องรับการฉีดวัคซีนในกรณีที่ไม่เคยได้รับการให้วัคซีนต้านโรคไอกรนมาก่อน จนกระทั่งลูกคุณได้รับการฉีดวัคซีนครั้งแรก

การให้นมแม่ช่วยปกป้องลูกจากไอกรนได้หรือไม่?

น่าเสียดาย การป้องกันโรคไอกรนที่ส่งผ่านจากการให้นมแม่นั้นไม่เพียงพอที่จะปกป้องลูกน้อยได้ แต่การรับวัคซีนนั้นจะช่วยเพิ่มแอนติบอดี้แล้วส่งผ่านไปสู่ลูกคุณได้

ความเสี่ยงจากการรับวัคซีนขณะตั้งครรภ์

ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการให้การกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันก่อให้เกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ การที่คุณได้รับวัคซีนนั้นปลอดภัยกว่าที่จะเสี่ยงให้ลูกติดโรคไอกรนแน่นอน

วัคซีนไอกรนไม่ใช่วัคซีนเชื้อเป็น (live vaccine) ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิดโรคไอกรนในหญิงที่ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันหรือตัวเด็กเองก็ตาม งานวิจัยล่าสุดจากสหราชอาณาจักร (หญิงตั้งครรภ์เกือบ 18,000 ราย) พบว่าไม่มีสัญญาณเตือนความปลอดภัยใดๆที่เกี่ยวข้องกับการให้วัคซีนต้านโรคไอกรนในหญิงตั้งครรภ์

งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกายังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนต้านไอกรน(ประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในประเทศสกอตแลนด์) พบว่าไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัคซีนนั้นปลอดภัย

ยาทุกชนิด(รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) และวัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก

การใช้งานจะถูกดูแลความปลอดภัยโดย MHRA และจะถูกจับตาดูต่อไป

คุณจะได้รับวัคซีนนี้จากที่ไหน

คุณสามารถได้รับวัคซีนที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านคุณ

เมื่อไหร่ที่คุณจะได้รับวัคซีน

การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันนี้แนะนำให้ทำทันทีตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการให้วัคซีนอยู่ระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ 16 ถึง 32 แต่ยิ่งคุณได้รับวัคซีนเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น นั่นหมายความว่า คุณมีเวลาเพิ่มมากขึ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีและนี่เองจะถูกส่งผ่านไปสู่ลูกของคุณ คุณอาจได้รับวัคซีนหลังจากอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ก็ได้ แต่เด็กก็อาจได้รับการปกป้องที่ไม่เท่าเดิม

สามารถรับวัคซีนไอกรนขณะที่รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่?

หากคุณตั้งครรภ์ในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ (ตุลาคม ถึง มีนาคม) คุณควรจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทันทีที่คุณตั้งครรภ์

หากคุณมีอายุครรภ์มากกว่า 16 สัปดาห์ และยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ คุณควรจะต้องได้รับวัคซีนทั้งสองชนิด คุณสามารถรับวัคซีนในเวลาเดียวกันหรือตามมาก็ได้-วัคซีนทั้งสองชนิดไม่ได้รบกวนการทำงานของกันและกันแต่อย่างใด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับหญิงตั้งครรภ์ได้ที่นี่ (https://www.nhsinform.scot/hea...)

หลังจากรับวัคซีน

หลังจากได้รับวัคซีนอาจมีผลข้างเคียงตามมา แต่มักไม่เป็นอันตราย

ผลข้างเคียง

คุณอาจจะได้รับผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยจากการสร้างภูมิคุ้มกันนี้ เช่น อาการผื่นแดง หรือปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน (บริเวณต้นแขน) ผลข้างเคียงที่รุนแรงนั้นหายากมากจนเกือบจะไม่พบ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ 

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีด?


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน DTP คืออะไร? ฉีดอย่างไร? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/what-is-dtp-vaccine).
Whooping cough vaccination in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/whooping-cough-vaccination-pregnant/)
Whooping Cough Vaccination | Pertussis. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/pertussis/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป