กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคไอกรนในผู้ใหญ่นั้นอาจจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการไอเสียงก้อง

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โรคไอกรนในผู้ใหญ่นั้นอาจจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการไอเสียงก้อง

ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไอกรนอาจจะไม่มีอาการไอเสียงก้องก็ได้

อาการไอเสียงก้องถือเป็นอาการที่เป็นลักษณะเฉพาะสำหรับโรคไอกรน โรคนี้มักพบในเด็กแต่ในปัจจุบันพบว่ามีวัยรุ่นและผู้ใหญ่เป็นโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่เป็นโรคไอกรนมักมีอาการไอเสียงก้องเนื่องจากพวกเขาเหนื่อยจากการไออย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายๆ ครั้งติดต่อกัน

โรคไอกรนเกิดจากอะไร?

โรคไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Bordetella pertussis เมื่อ 70 ปีก่อนเราสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคนี้ได้ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ลดลงอย่างมาก แต่ในช่วงหลังนี้พบว่าโรคนี้กลับมาพบใหม่อีกครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ (บางคนเชื่อว่าวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพลดลงเพื่อทำให้มีผลข้างเคียงหลังการฉีดยาลดลง) นอกจากนั้นโรคนี้ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Medical Association (JAMA) ได้ระบุว่าโรคไอกรนในช่วงยุคก่อนที่จะมีวัคซีนนั้นเป็นโรคที่พบเฉพาะในเด็ก แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งนั้นเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่

นอกจากนั้นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักจะไม่มีอาการไอเสียงก้องที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ รวมถึงอาการอื่นๆ เช่นอาเจียนหลังไอ แต่มักพบว่ามีอาการไออย่างหนักเท่านั้น ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นก็สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ

ดังนั้นหากคุณคิดว่าตนเองกำลังมีอาการไออย่างรุนแรงจนทนไม่ไหว คุณอาจจะเป็นโรคไอกรนได้ มีการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังประมาณ 10-30% นั้นอาจเกิดจากโรคไอกรน 

และการที่คุณไม่ได้มีอาการไอเสียงก้องนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้เป็นโรคไอกรน แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพาะเชื้อ Bordetella pertussis จากสิ่งส่งตรวจในจมูกและลำคอหากสงสัยว่าเป็นโรคนี้

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือวัคซีนป้องกันโรคไอกรนนั้นไม่ใช่วัคซีนเฉพาะสำหรับเด็ก แต่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ต่างก็ต้องได้รับวัคซีนนี้เช่นกันร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและคอตีบ
เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยแนะนำให้ฉีดซ้ำทุกๆ 10 ปี โดยเฉพาะหากในบ้านของคุณมีเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิด


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน DTP คืออะไร? ฉีดอย่างไร? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/what-is-dtp-vaccine).
Whooping Cough (Pertussis). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/dotw/whoopingcough/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป