กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ใครเสี่ยงกว่าระหว่าง “เกย์รุก” และ “เกย์รับ"

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ใครเสี่ยงกว่าระหว่าง “เกย์รุก” และ “เกย์รับ"

 ใครเสี่ยงกว่าระหว่าง “เกย์รุก” และ “เกย์รับ” ?

รู้หรือไม่ว่า บทบาททางเพศ ที่ใครหลายคนคุ้นหูกับคำว่า “รุก” และ “รับ” นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราเสี่ยงในการรับเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ว่ากันตามหลักของสรีระและเนื้อเยื่อภายใน แต่ก่อนที่เราจะไปอธิบายถึงเรื่องนั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า “รุก” และ “รับ” มีขอบเขตหน้าที่อย่างไรกันบ้าง

รู้จักคำนิยามของแต่ละบทบาท

  • เกย์รุก เป็นคำนิยามของบุคคลที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย และมีรสนิยมร่วมเพศทางทวารหนัก โดยเป็นผู้กระทำ หรือสอดใส่อวัยวะเพศเข้าทางทวารหนักของคู่นอน ซึ่งเกย์รุกนั้น หลายคนอาจคิดว่าจะมีลักษณะคล้ายผู้ชาย มาดแมน เคร่งขรึม แต่ในทางปฏิบัติและการแบ่งแยกแล้วนั้น “รุก” คือบทบาทในการร่วมเพศ ดังนั้นแม้ว่าเกย์ผู้นั้นจะมีนิสัยออกสาว ตุ้งติ้ง แต่มีรสนิยมเป็นผู้กระทำ หรือสอดใส่อวัยวะเพศเข้าทางทวารหนักของคู่นอน ก็ให้ถือว่าเป็นเกย์รุก
  • เกย์รับ บุคคลที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย เป็นผู้ถูกกระทำ หรือเป็นผู้ที่โดนคู่นอนสอดใส่อวัยวะเพศเข้าทางทวารหนักของตน คนส่วนใหญ่อาจมองว่า เกย์รับต้องออกสาว ตุ้งติ้ง แต่ก็ต้องขออธิบายแบบเดียวกับเกย์รุกครับ ว่า “รับ” เป็นหนึ่งในบทบาทในการร่วมเพศเช่นกัน

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วจะมีมั้ย สำหรับคนที่ “รุก” ก็ได้ “รับ” ก็ได้ ต้องขอแจ้งว่า มีครับ โดยศัพท์ในแวดวงจะเรียกว่า “โบท” หรือที่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Both” ที่แปลว่าทั้งสอง ซึ่งความหมายได้นัยก็หมายถึงคนที่สามารถรับบทบาทได้ทั้งสองหน้าที่ครับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แล้วใครเสี่ยงกว่า?

หากจะอธิบายตามหลักการแล้ว คนที่รับบทบาทเป็น “รับ” นั้น มีความเสี่ยงที่มากกว่าหลายเท่าครับ สำหรับความเสี่ยงที่สูงกว่ามาจาก

  1. เนื้อเยื่อภายในลำไส้ ที่ถัดจากรูทวาร มีความบอบบางมากกว่า และไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการถูกเสียดสี หรือมีสิ่งของเข้าออก ดังนั้นอาจเกิดการฉีกขาดหรือบาดแผลได้ระหว่างการร่วมเพศ
  2. การตกค้างของสารคัดหลั่ง ที่จะค้างอยู่หลังร่วมเพศเสร็จ กล่าวคือหากการร่วมเพศในครั้งนั้น ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย และมีการหลั่งใน (การหลังน้ำอสุจิของรุกไว้ภายในช่องทวารหนัก) หากรุกคนนั้นมีภาวะเสี่ยง หรือติดเชื้อมาก่อน ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงของรับอีกเช่นกันครับ

แล้วรุกเสี่ยงอะไรบ้าง? ติดเชื้อได้จากช่องทางไหน?

ในมุมของรุกเอง ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงนะครับ ถึงแม้จะเป็นความเสี่ยงที่น้อยกว่าแต่ก็มีโอกาสได้รับเชื้อได้ โดยพื้นที่รับเชื้อของรุกนั้น อยู่ที่ปลายองคชาติ รวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ ที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งของคู่นอน

การป้องกัน และวิธีปฏิบัติ

แม้ในทางหลักการรับจะมีโอกาสเสี่ยงที่มากกว่าแต่การป้องกัน และแนวทางการปฏิบัติที่รัดกุม ก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้มาก ซึ่งวิธีในการลดความเสี่ยงสามารถทำได้ดังนี้

  1. การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
    ปัจจุบันถุงยางถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายในทุกกิจกรรมทางเพศ ทั้งแบบบางให้ความรู้สึกแนบชิดเหมือนไม่ได้ใส่ แบบปุ่มขรุขระเพิ่มความหรรษา กลิ่นต่างๆ เช่นสตรอเบอร์รี่ โคล่า แบบผสมสารเรืองแสงในที่มืด หรือแม้แต่ที่ช่วยในด้านชะลอการหลั่งเร็วจากสารให้ความชา เห็นมั้ยว่ามีออกมาในทุก Section อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการ ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องเพิ่มอรรถรสในการร่วมเพศแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันโรคอีกด้วย
  2. สารหล่อลื่น
    สำหรับคู่ที่มีการสอดใส่เข้าทางช่องทวารหนัก การใช้เจลหล่อลื่นร่วมด้วยจะช่วยลดการเสียดสี ที่ทำให้เกิดบาดแผล ซึ่งปัจจุบันสารหล่อลื่นเองก็มีหลากหลายประเภทให้เลือก คำแนะนำง่ายๆ ก็คือ ให้เลือกเจลหล่อลื่นที่เป็นสูตรน้ำหรือ Water Based เพราะว่าก่อให้เกิดความระคายเคืองน้อย ไม่ทำลายเนื้อเยื่อของถุงยางอนามัย ล้างออกง่าย ไม่ตกค้าง สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเจลหล่อลื่นแต่ละประเภท ว่ามีความแตกต่างและรูปแบบการใช้งานอย่างไร คลิก
  3. การทานยา Prep

    วิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน เป็นการรับมือที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อล่วงหน้า โดยยา Prep นั้นจะมีส่วนช่วยในการป้องกันไวรัส HIV ได้สูงถึง 92% หากมีการกินเป็นประจำอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้เกี่ยวกับยา Prep และปรึกษาแพทย์ควบคู่การทาน

  4. การตรวจเลือดเป็นประจำ

    แม้ว่าจะมีการป้องกันแล้ว แต่การตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำสำหรับผู่้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงก็เป็นสิ่งจำเป็น การตรวจสุขภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าร่างกายของเราไม่ได้รับเชื้อ หรืออยู่ในภาวะบ่มเพาะใดใด ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของการป้องกัน เช่น ถุงยางรั่ว การทานยา Prep ไม่ต่อเนื่อง หรือแม้แต่เราอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จากช่องทางอื่นๆ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันผู้อื่นเป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรหมั่นปรึกษาแพทย์และมีการอัพเดทความสมบูรณ์ของร่างการตามความเหมาะสม


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Having Anal Sex After Surgery. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/anal-sex-after-surgery-3156841)
Is Anal Sex Dangerous? A Gynecologist Explains. Health.com. (https://www.health.com/sex/is-anal-sex-dangerous)
Safe Anal Sex - Sexual Health. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/sexual-health/safe-anal-sex.aspx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป