เห็ดหูหนูขาว (White Jelly Fungus) | HonestDocs

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เห็ดหูหนูขาว (White Jelly Fungus) | HonestDocs

เห็ดหูหนูขาวเป็นเห็ดที่หารับประทานได้ง่าย นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู และยังมีประโยชน์อย่างครบเป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด โดยเห็ดหูหนูขาวสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักเห็ดหูหนูขาว

เห็ดหูหนูขาว (White Jelly Fungus) เป็นเห็ดที่มีลักษณะนุ่มเหมือนกับเยลลี่สีขาว ชอบขึ้นในพื้นที่ร้อนชื้น พบได้มากตามขอนไม้เก่าที่ผุพังแล้ว นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรตามแนวแพทย์แผนจีน เห็ดหูหนูมี 2 ประเภท คือเห็ดหูหนูดำ และเห็ดหูหนูขาว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหูหนูขาว

เห็ดหูหนูขาว 100 กรัม ให้พลังงาน 200 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

สรรพคุณของเห็ดหูหนูขาว

เห็ดหูหนูเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก และมีสรรพคุณดีๆ ดังนี้

  1. บำรุงผิวพรรณ เห็ดหูหนูมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้มาก และมีสารไฟโตไฮยาลูโรเนด ที่จะกำจัดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและทำให้ดูอ่อนเยาว์ลงอีกด้วย

  2. ช่วยควบคุมน้ำหนัก เห็ดหูหนูเต็มไปด้วยใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ เมื่อรับประทานเข้าไปจึงทำให้รู้สึกอิ่ม ไม่หิวบ่อย จึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

  3. ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่พบในเห็ดหูหนูขาว ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย และชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ได้

  4. บำรุงเลือด เห็ดหูหนูขาว มีส่วนช่วยในการบำรุงเลือด โดยจะช่วยเสริมสร้างการผลิตเซลล์เม็ดเลือดให้เพิ่มมากขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคโลหิตจาง

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  5. ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เห็ดหูหนูขาว มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเสริมสร้างความจำ จึงสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

  6. ช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น เห็ดหูหนูมีใยอาหารสูง จึงช่วยเสริมให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวง และลดโอกาสเกิดโรคท้องผูก

  7. แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ การรับประทานเห็ดหูหนูขาว จะไปกระตุ้นฮอร์โมนทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนได้เป็นอย่างดี

  8. เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ทำให้สามารถต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น

สรรพคุณทางยาจีน 

เสริมบำรุงสารน้ำของปอด บำรุงไต ทำให้เกิดสารน้ำ หยุดไอ (ไอที่เกิดจากปอดแห้ง ไอแห้งๆ มีเลือดปน) บำรุงพลัง บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง มีฤทธิ์สงบประสาท ช่วยให้นอนหลับ

ข้อเปรียบเทียบเห็ดหูหนูขาว และ เห็ดหูหนูดำ

ข้อเหมือนกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • คุณสมบัติ ไม่ร้อน-ไม่เย็น
  • รสหวาน
  • ต้านมะเร็ง ลดไขมันในเลือด ลดความดันเลือดสูง หลอดเลือดตีบ

ข้อต่างกัน

เห็ดหูหนูขาว

  • วิ่งเส้นลมปราณปอด
  • บำรุงพลังหยินของปอด
  • จุดเด่นที่ วัณโรคปอด ไอแห้งๆ ไอมีเลือดปน (เนื่องจากปอดแห้ง ขาดสารหยินหล่อเลี้ยง) เลือดกำเดาออก คอแห้ง เบื่ออาหารเนื่องจากกระเพาะอาหารแห้ง

เห็ดหูหนูดำ

  • วิ่งเส้นลมปราณไต
  • บำรุงพลังเลือดยินของไต (บำรุงสมอง)
  • จุดเด่นที่ อาการเลือดออกเนื่องจากเลือดร้อน โดยเฉพาะอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร โรคบิด (เนื่องจากเลือดร้อน)

หมายเหตุ : คุณสมบัติคล้ายกัน แต่การออกฤทธิ์ของเห็ดหูหนูขาวจะออกฤทธิ์ที่ปอดและกระเพาะอาหาร ส่วนเห็ดหูหนูดำจะออกฤทธิ์ที่ไตและตับ

เมนูสุขภาพที่ทำจากเห็ดหูหนูขาว

เห็ดหูหนูขาวสามารถนำมาทำอาหารได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

  1. ยำเห็ดหูหนูขาว นำเห็ดหูหนูไปแช่น้ำทิ้งไว้จนบาน แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ล้างน้ำให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ ตั้งกระทะใส่น้ำลงไปเล็กน้อย นำหมูสับลงไปรวนจนสุก ใส่ซีอิ๊วขาวเพื่อปรุงรส ตักใส่ชาม นำเห็ดหูหนูขาวลวกในกระทะจนสุกแล้วตักขึ้น จากนั้นเริ่มทำน้ำยำ ด้วยพริกตำ น้ำตาล น้ำมะนาว น้ำปลา และผงชูรส ชิมรสชาติตามต้องการ นำน้ำยำมาคลุกเคล้ากับเห็ดหูหนูขาว หมูสับ มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ ตักใส่จาน

  2. ซุปเห็ดหูหนูขาว นำเห็ดหูหนูไปแช่น้ำทิ้งไว้ แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำเก๋ากี๊อบแห้งกับพุทราจีนไปล้างน้ำให้สะอาด ต้มน้ำให้เดือด ใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงไปต้ม ตามด้วยน้ำตาลทรายกรวด และต้มต่ออีกประมาณ 10 นาที ตักใส่ถ้วยพร้อมรับประทาน

  3. แกงสาหร่ายเห็ดหูหนู นำเห็ดหูหนูขาวไปแช่น้ำทิ้งไว้จนเริ่มนิ่ม แล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ นำกระเทียม รากผักชี ไปโขลกเตรียมไว้ เทน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด ใส่รากผักชี กระเทียม ซุปไก่ก้อนลงไป ตามด้วยหมูสับก้อนเล็กๆ ปรุงรสด้วยน้ำปลา พริกไทย ซอสปรุงรส เห็ดหูหนูและสาหร่ายลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย

  4. ลาบเห็ดหูหนูขาว นำเห็ดหูหนูขาวไปแช่น้ำจนบาน แล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ หั่นเห็ดออรินจิเป็นแผ่นบางๆ และฉีกเห็ดเข็มทองเป็นเส้นเล็กๆ ต้มน้ำในหม้อให้เดือด ใส่เห็ดทั้งหมดลงไปลวกให้สุก ตักขึ้นพักไว้ เสร็จแล้วให้ทำน้ำจิ้ม ด้วยการผสมน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล พริกไทย ข้าวคั่ว ใส่เห็ดที่ลวกไว้ลงไปผสมให้เข้ากันดี

  5. เห็ดหูหนูขาวผัดไข่ นำเห็ดหูหนูขาวไปแช่น้ำทิ้งไว้ 20 นาทีจนนิ่ม ตัดโคนออก จากนั้นนำรากผักชี กระเทียม ต้นหอม พริกไทย มาโขลกเข้าด้วยกัน นำมาผสมกับหมูสับ เติมซีอิ๊วขาวปรุงรส แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อย นำหมูสับไปทอดให้สุก แล้วใส่กระเทียมลงไปเจียวตามด้วยเห็ดหูหนูขาว ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ผงปรุงรส ชีอิ๊วขาว พริกไทยดำ ผัดให้เข้ากัน

ข้อควรระวัง

ก่อนนำเห็ดหูหนูขาวมารับประทาน ให้ล้างน้ำเปล่าให้สะอาด และลวกในน้ำเดือด 2 นาทีทุกครั้งเพื่อกำจัดสารฟอกขาว ที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ หากรับประทานสะสมในปริมาณมาก อาจถึงขั้นทำให้เกิดภาวะไตวายที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต 

ไม่ควรนำมารับประทานเพื่อใช้ในการรักษาเป็นประจำ ควรพักการรับประทานบ้างเพื่อให้ร่างกายกลับมาปรับสมดุลในร่างกาย ส่วนมากแนะนำเป็นการรับประทานเป็นอาหารเสียมากกว่า ด้วยสรรพคุณทางยาอาจไม่โดดเด่นเท่าสมุนไพรตัวอื่นนัก


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นพ.วิทวัส วัณนาวิบูล, เห็ดหูหนู : สุดยอดของเห็ด (https://www.doctor.or.th/article/detail/1894), 1 เมษายน 2547
Myfitnesspal, Generic - Chinese White Fungus (http://www.herbmuseum.ca/content/medicinal-benefits-snow-fungus)
Herb Museum, Medicinal Benefits of Snow Fungus (http://www.herbmuseum.ca/content/medicinal-benefits-snow-fungus)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เห็ดหูหนูดำ (Jelly Ear Fungus)
เห็ดหูหนูดำ (Jelly Ear Fungus)

แนะนำเมนูเพื่อสุขภาพจากเห็ดหูหนูดำ พร้อมประโยชน์ที่คุณคาดไม่ถึง

อ่านเพิ่ม