ตุ่มสีขาวบนริมฝีปาก

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตุ่มสีขาวบนริมฝีปาก

คุณอาจจะกังวลเวลาที่สังเกตเห็นตุ่มสีขาวขึ้นที่ริมฝีปาก ตุ่มเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ และถึงแม้ว่าส่วนใหญ่มักจะไม่ได้เป็นอันตราย แต่บางครั้งก็อาจจะแสดงว่าเป็นโรคมะเร็งในช่องปากได้ ดังนั้นหากคุณพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์

สาเหตุ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มนูนสีขาวขึ้นที่ริมฝีปากได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Fordyce spots เป็นตุ่มขนาดเล็ก (ขนาด 1-2 มิลลิเมตร) ด้านในของริมฝีปากเป็นตุ่มที่เกิดจากต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำมัน ตุ่มเหล่านี้มักจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น และอาจจะมีตุ่มเล็กๆ เหล่านี้ได้มากถึง 100 ตุ่ม โดยมักจะอยู่ที่ริมฝีปากด้านใน

เริม โรคเริมที่ริมฝีปากนั้นทำให้เกิดตุ่มสีขาวหรือตุ่มน้ำก็ได้ ในระยะแรกนั้นอาจจะเป็นแผลขนาดเล็กก่อนที่จะกลายเป็นตุ่มน้ำ

Milia เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารก โดยมีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็กสีขาวที่เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วยังคงค้างอยู่ในผิวหนัง ส่วนมากมักพบที่ใบหน้าและสามารถพบได้ที่ริมฝีปากเช่นกัน

มะเร็งช่องปาก มักเป็นตุ่มสีขาวที่มีลักษณะแบน หรืออาจจะนูนขึ้นที่พบบริเวณใบหน้า ในระยะแรกนั้นมักจะไม่เจ็บ แต่หลังจากนั้นจะเริ่มเลือดออกและกลายเป็นแผลเปิด สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปากเช่นการโดนแสงแดด การติดแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV)

Oral thrush เป็นการติดเชื้อราที่ทำให้เกิดปื้นสีขาวที่ริมฝีปาก ปาก เหงือก หรือต่อมทอนซิล เชื้อสายพันธุ์ Candida albicans นั้นเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดอาการได้บ่อยที่สุด

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

การที่มีตุ่มสีขาวเหล่านี้มักจะไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่ต้องมาพบแพทย์ในทันที แต่หากคุณมีอาการต่อไปนี้ร่วมกับการมีตุ่มสีขาว ควรนัดพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ตุ่มที่เจ็บ
  • มีตุ่มที่เลือดออก
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในลำคอ
  • ขากรรไกรหรือคอบวม
  • ชาที่ลิ้น
  • มีไข้หรือเจ็บคอ

หากตุ่มที่เกิดขึ้นนั้นยังคงไม่หายไปหลังจากผ่านไปแล้วนานกว่า 2 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดพร้อมกับการตรวจร่างกายเพื่อดูตุ่มที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก อาจจะคลำรอบๆ ใบหน้าและขากรรไกรเพื่อดูว่าบวมหรือไม่ร่วมกับการตรวจที่ริมฝีปากทั้งด้านนอกและด้านใน และอาจจะมีการคลำต่อมน้ำเหลืองว่าโตหรือไม่

หากจำเป็น อาจมีการเก็บตัวอย่างจากริมฝีปากเพื่อนำไปเพาะเชื้อ หากแพทย์สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งช่องปาก อาจมีการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง

ในกรณีส่วนใหญ่แพทย์มักจะสามารถให้การวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกาย การตรวจเลือดอาจช่วยระบุได้ว่ามีเชื้อ herpes virus อยู่หรือไม่

การรักษา

การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ บางภาวะเช่น Fordyce spots นั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ชอบการที่มีจุดเหล่านี้ก็สามารถกำจัดออกได้เช่นกัน แพทย์อาจจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า electrosurgery หรือการใช้เลเซอร์ในการกำจัดตุ่มเหล่านี้

หากเกิดจาก Thrush มักจะรักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อราเช่นยาน้ำที่ให้คุณกลั้วปากก่อนจะกลืนลงคอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาฆ่าไวรัสนั้นสามารถกำจัดอาการของโรคเริมที่ริมฝีปากได้ชั่วคราวแต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ถาวร

วิธีการรักษามะเร็งในช่องปากนั้นจะแตกต่างกันขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยอาจจะประกอบด้วยการผ่าตัดนำตุ่มดังกล่าวออก การใช้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายแสงเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

การดูแลที่บ้าน

ไม่ว่าตุ่มดังกล่าวนั้นจะเกิดจากอะไร พยายามอย่าแกะมัน เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองและเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

คุณอาจจะปรึกษาแพทยืเรื่องการใช้ขี้ผึ้งทาที่ริมฝีปากเพื่อป้องกันไม่ให้แผลนั้นแห้งเกินไปและเจ็บ การล้างแผลด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ นั้นก็สามารถช่วยลดการระคายเคืองได้เช่นกัน ให้ผสมเกลือครึ่งช้อนชาลงในน้ำอุ่น 1 ถ้วยและนำมากลั้วปากก่อนบ้วนทิ้ง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป