หายใจไม่อิ่ม บอกอะไร อันตรายหรือไม่?

ลำพังอาการ หายใจไม่อิ่ม ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคอะไร ต้องอาศัยการซักประวัติและติดตามอาการเพิ่มเติม เป็นได้ทั้งโรคทางกายหรือทางจิตเวชก็ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หายใจไม่อิ่ม บอกอะไร อันตรายหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการหายใจไม่อิ่มนั้น มีความหมายควบรวมถึงความผิดปกติของทางเดินหายใจหลายชนิด เช่น หายใจไม่ลึก หายติดขัด มีก้อนขวางหลอดลม เหนื่อยหอบ
  • อาการหายใจไม่อิ่มแต่ละชนิด ก็มีความเสี่ยงต่อโรคที่แตกต่างกันออกไป เช่น หายใจมีเสียงวี้ด เสี่ยงโรคหืด หายใจเหนื่อยหอบ เสี่ยงหัวใจล้มเหลว
  • สาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่ม เกิดได้จากหลายปัจจัย แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ความเครียด ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • วิธีรักษาเบื้องต้นของอาการหายใจไม่อิ่ม คือการฝึกสมาธิและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
  • หากอาการหายใจไม่อิ่มรุนแรงและไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง จะได้รักษาได้ถูกวิธี (ดูแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ ได้ ที่นี่)

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง มีความสัมพันธ์กับหลายระบบอวัยวะ จำเป็นต้องอาศัยประวัติอาการอื่นเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค

อาการหายใจไม่อิ่ม เป็นคำรวมเรียกอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ทั้งที่เป็นความผิดปกติแบบชัดเจน ระบุโรคได้แน่ชัด และเป็นความรู้สึกผิดปกติ หรือแปรปรวนเล็กน้อยโดยไม่สามารถระบุโรคได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการหายใจไม่อิ่มมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น รู้สึกหายใจไม่ลึก รู้สึกหายใจติดขัด จังหวะลมหายใจไม่ราบรื่น มีก้อนขวางลมหายใจที่คอ หรือแบบที่อาการมาก เช่น รู้สึกหอบเหนื่อย รู้สึกหายใจไม่ได้เหมือนจมน้ำ

จะเห็นว่ามีลักษณะอาการได้หลากหลาย จึงไม่สามารถใช้อาการหายใจไม่อิ่มเพียงอาการเดียวมาวินิจฉัยหรือใช้แยกโรคได้ จำเป็นต้องอาศัยอาการอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น

  • อาการหายใจไม่อิ่มร่วมกับหายใจมีเสียงวี้ด น่าจะบ่งบอกลักษณะของโรคหืด
  • อาการหายใจไม่อิ่มร่วมกับนอนราบไม่ได้ ทำงานแล้วเหนื่อย น่าจะบ่งบอกภาวะหัวใจล้มเหลว
  • อาการหายใจไม่อิ่มร่วมกับมีประวัติซีดจาง น่าจะบ่งบอกภาวะเสียเลือด หรือโลหิตจาง

จะเห็นได้ว่า อาการหายใจไม่อิ่มเป็นเพียงอาการร่วมอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยสังเกตได้ง่ายและทำให้รู้สึกกังวลใจ แต่ในทางการแพทย์แล้วไม่ได้ใช้อาการหายใจไม่อิ่มนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้มากนัก

ดังนั้นเมื่อมีอาการหายใจไม่อิ่มแล้วสงสัยว่าจะอันตรายหรือไม่ ควรพบแพทย์เพื่อรับการซักประวัติอย่างละเอียด ร่วมกับตรวจร่างกายในระบบต่างๆ ไม่สามารถใช้การตรวจพิเศษแบบหว่านการตรวจเพื่อหาความผิดปกติได้

กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการหายใจไม่อิ่มที่พบได้บ่อย

มีโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย ที่อาจแสดงอาการหายใจไม่อิ่มได้ ดังนี้

1. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

เป็นได้ทั้งทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง โรคของถุงลม โรคของเยื่อหุ้มปอด ส่วนมากจะมีอาการระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย เช่น ไอ หายใจมีเสียงผิดปกติ มีเสมหะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการที่เจาะจงมากขึ้น ได้แก่

  • โรคของหลอดลม จะมีเสียงวี้ด หรือมีเสมหะมาก เช่นโรคหืด หากมีประวัติสูบบุหรี่มาระยะหนึ่งอาจเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้
  • โรคของปอดและเยื่อหุ้ม เช่น พังผืด จะมีอาการหายใจไม่อิ่มแบบหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วเจ็บแปลบ

2. กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มได้ ที่พบบ่อย คือ

  • หลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรังและโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง มักจะมีอาการร่วมคือ เจ็บแน่นหน้าอก สมรรถนะการทำงานลดลง เหงื่ออกมาก ใจสั่น มักมีอาการเวลาออกแรงหรือออกกำลังกาย
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ การตรวจภาวะนี้ทำได้ยาก เนื่องจากอาการและความผิดปกติจะมาในช่วงสั้นๆ เป็นเองและหายเอง ในกลุ่มที่อาการรุนแรงจะมีอาการหน้ามืดหรือหมดสติ การตรวจวินิจฉัยอาจต้องติดอุปกรณ์เพื่อติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช่น Holter EKG, Event Loop Recorder หรือ อุปกรณ์ติดตามตัวที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้

3. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร

ที่พบบ่อยคือโรคกรดไหลย้อนและโรคกระเพาะอักเสบ อาการร่วมที่พบได้บ่อยคือ แสบ แน่นท้อง หรือมีอาการแสบกลางอก เรอเปรี้ยวบ่อยๆ คลื่นไส้อาเจียน

มักจะมีอาการสัมพันธ์กับมื้ออาหาร ตอบสนองดีต่อยาลดกรด

4. กลุ่มโรคระบบโลหิตวิทยา

ที่พบบ่อยคือโลหิตจาง จะมีอาการซีดลง คนทักว่าซีด ประจำเดือนมามากกว่าปกติ ถ่ายอุจจาระมีสีดำ

5. โรคระบบอื่นๆ

มีโรคระบบอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มได้เช่นกัน แต่พบน้อย และมักมีอาการอื่นๆ ที่เด่นชัดกว่าหายใจไม่อิ่ม เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • โรคเบาหวาน จะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการน้ำหนักลด มือสั่น ใจสั่น
  • โรคของระบบกล้ามเนื้อ จะมีการอ่อนแรงให้เห็นชัดเจน

วิธีวินิจฉัยอาการ หายใจไม่อิ่ม

หากพบแพทย์แล้วรับการซักประวัติตรวจร่างกายแต่ไม่พบความผิดปกติ ไม่พบข้อมูลบ่งชี้ หรือไม่พบอาการร่วมระบบอื่นที่ชัดเจน ส่วนใหญ่หมายถึงอาการมักจะไม่รุนแรง แพทย์จะนัดติดตามหรือให้สังเกตอาการต่อเนื่อง เพราะหายใจไม่อิ่มอาจเป็นอาการเริ่มของหลายโรค หรืออาจต้องสังเกตอาการร่วมอื่นๆ เพิ่มเติม

แพทย์มักไม่ให้ตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มากเกินจำเป็น การตรวจบางอย่างที่รุกล้ำเกินจำเป็นอาจอันตราย หรือมีโทษมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ

หลายคนเข้าใจผิด หันไปทำการตรวจสุขภาพ หวังผลจะทราบความผิดปกติ อาจจะพบความผิดปกติที่ไม่อธิบายอาการหรือไม่ใช่โรค นำพาไปสู่การตรวจเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น หรืออาจตรวจไม่พบแล้วชะล่าใจ เพราะไม่ได้ตรวจในสิ่งที่ถูก ทำให้ไม่พบโรคที่เป็นอยู่

บางครั้ง หายใจไม่อิ่ม อาจไม่ใช่โรคทางกาย

ในกรณี เมื่อตรวจและติดตามอาการแล้วปกติ มักจะพบว่าเป็นกลุ่มโรคทางจิตเวช คือ อาการตึงเครียด (Anxiety disorders) ที่มีอาการอันหนึ่งคือ ถอนหายใจบ่อย จังหวะการหายใจไม่สอดประสานกัน ไม่สม่ำเสมอ

บางคนมีอาการรู้สึกถึงก้อนที่คอ (Globus sensation)

อาการโรคตึงเครียดนี้หายเองได้ หรือบางครั้งแพทย์อาจให้ยาระงับประสาทขนาดต่ำเพื่อช่วยบรรเทาอาการชั่วคราว

หายใจไม่อิ่ม รักษาอย่างไร?

มีรายงานว่า การฝึกสมาธิ ออกกำลังกายต่อเนื่อง ช่วยลดอาการหายใจไม่อิ่มได้ ไม่ว่าจะเกิดจากโรคทางกายหรือโรคเครียดก็ตาม

สำหรับโรคทางกาย โดยเฉพาะโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกำหนดระดับความแรงของการออกกำลังกายก่อนลงมือปฏิบัติเสมอ

ดังนั้นเมื่อมีอาการหายใจไม่อิ่ม สิ่งที่สำคัญคือ สังเกตอาการร่วมและเข้ารับการซักประวัติตรวจร่างกายกับแพทย์เพื่อแยกโรคที่อันตรายและจำเป็นต้องรับการรักษา ก่อนจะระบุว่าเป็นภาวะตึงเครียด

ดูแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ian J. Barbash, Kathryn A. Hibbert, Atul Malhotra. Pulmonary in Pocket Medicine :The Massachusetts General Hospital Handbook of Internal Medicine 5th edition
Thomas Koenig. Psychiatry for the Internist in The John Hopkins Internal Medicine Board Review 4th edition
chapter 9 : the respiratory history, in Clinical examination: a systematic guide to physical diagnosis, Nicholas J Talley, Simon O’Connor. 7th edition

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)