กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เมื่อไรที่ควรเริ่มกังวลเกี่ยวกับระดับของคอเลสเตอรอล?

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อไรที่ควรเริ่มกังวลเกี่ยวกับระดับของคอเลสเตอรอล?

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งตับมีหน้าที่ผลิตคอเลสเตอรอลเสียเป็นส่วนใหญ่ และเรายังได้รับไขมันชนิดนี้จากการทานอาหารบางชนิด อย่างไรก็ตาม การรักษาระดับของคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ไม่สะดุด

หน้าที่ของคอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างกรดน้ำดี ซึ่งสำคัญต่อการย่อยอาหารหรือดูดซึมไขมัน นอกจากนี้มันยังผลิตวิตามินดีผ่านการสัมผัสกับแสงแดด ซึ่งวิตามินชนิดนี้ปกป้องผิวจากสารเคมีที่ทำให้ผิวระคายเคือง รวมถึงยังจำเป็นต่อกระบวนการเมทาบอลิซึมแคลเซียม ซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพกระดูกที่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยิ่งไปกว่านั้น คอเลสเตอรอลยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนบางชนิด เช่น คอร์ติซอล ไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ ฯลฯ ทั้งนี้คอเลสเตอรอลเป็นตัวที่สามารถกำหนดถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชนิดของคอเลสเตอรอล

เลือดจะทำการลำเลียงคอเลสเตอรอลจากตับหรือลำไส้เล็กไปยังเนื้อเยื่อที่เหลือที่จำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอล โดยมีโมเลกุลที่เรียกว่า “ไลโปโปรตีน” คอยช่วยเหลือ ซึ่งมี 2 ชนิดดังนี้

  • ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low Density Lipoproteins – LDL): ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลใหม่จากแหล่งผลิตไปยังเซลล์ที่เหลือของร่างกาย
  • ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Lipoproteins – HDL): ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ไปยังตับ

ดังนั้นคอเลสเตอรอลจึงมี 2 ชนิดคือ

  • คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี: คอเลสเตอรอลชนิดนี้มี LDL ซึ่งจะไปสะสมที่ผนังของหลอดเลือด ในกรณีนี้เราจำเป็นต้องทำให้คอเลสเตอรอลไม่ดีลดลง
  • คอเลสเตอรอลชนิดดี: คอเลสเตอรอลชนิดนี้มี HDL ซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลส่วนเกินไปยังแหล่งผลิต

ทำไมคอเลสเตอรอลถึงเป็นปัจจัยเสี่ยง?

  • การมีระดับของคอเลสเตอรอลสูงจะนำไปสู่ภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรรักษาระดับของคอเลสเตอรอลให้เหมาะสม ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่า คนที่มีคอเลสเตอรอล 240 mg/dl มีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเพิ่มขึ้น
  • ถ้าคอเลสเตอรอลมีมากเกินกว่าที่ HDL จะช่วยลำเลียงกลับไปยังตับ มันก็จะทำให้เกิดการสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง และนั่นก็จะเร่งให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น

ระดับของคอเลสเตอรอลที่เหมาะสม

คอเลสเตอรอลทั้งหมด

  • ปกติ: น้อยกว่า 200 mg/dl
  • ปกติ-สูง: 200-240 mg/dl
  • สูง: มากกว่า 240 mg/dl

คอเลสเตอรอลชนิด LDL

  • ปกติ: น้อยกว่า 100 mg/dl
  • ปกติ-สูง: 100-160 mg/dl
  • สูง: 160 mg/dl

คอเลสเตอรอลชนิด HDL     

  • ปกติ: สูงกว่า 35 mg/dl ในผู้ชาย และ 40 mg/dl ในผู้หญิง

ไตรกลีเซอไรด์

  • ปกติ: น้อยกว่า 150 mg/dl
  • ปกติ-สูง: 100-500 mg/dl
  • สูง: มากกว่า 500 mg/dl

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายจำเป็นต้องตรวจระดับของคอเลสเตอรอลก่อนอายุ 35 ปี ในขณะที่อายุที่เหมาะสำหรับผู้หญิงคือก่อน 45 ปี หรือหากคุณเป็นโรคอื่นๆ การตรวจระดับของคอเลสเตอรอลก่อนอายุที่เรากล่าวไปก็เป็นไอเดียที่ดี ตัวอย่างโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะความดันโลหิตสูง การมีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเหล่านี้ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยควรติดตามผลในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงดังนี้

  • ถ้าระดับของคอเลสเตอรอลเป็นปกติ ให้คุณตรวจซ้ำทุก 5 ปี
  • ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยจำเป็นต้องไปตรวจคอเลสเตอรอลให้บ่อยกว่าเดิม
  • หากผู้ป่วยทานยาที่ช่วยควบคุมระดับของคอเลสเตอรอล ผู้ป่วยจำเป็นต้องไปให้แพทย์ประเมินทุกปี

ที่มา: https://steptohealth.com/when-...

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Should You Worry About Having High Cholesterol?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/do-i-really-need-to-worry-about-my-high-cholesterol-698283)
Cholesterol Myths and Facts. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/features/cholesterol-myths-facts/index.html)
Frequently Asked Questions About Cholesterol. WebMD. (https://www.webmd.com/cholesterol-management/cholesterol-faq#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป