ยาคุมฉุกเฉิน...ควรใช้เมื่อ ‘ฉุกเฉิน’

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ยาคุมฉุกเฉิน...ควรใช้เมื่อ ‘ฉุกเฉิน’

 

ขอซื้อยาคุมฉุกเฉินด้วยค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต้องการยี่ห้อไหนคะ โพสตินอร์, มาดอนนา, แมรี่พิงค์, นอร์แพก, เลดี้นอร์ หรือ เมเปิ้ล ฟอร์ท

ต่างกันยังไงคะ

ตัวยาเดียวกันค่ะ ทุกยี่ห้อจะมีตัวยากล่องละ 1.5 มิลลิกรัม โดยที่ยี่ห้อเมเปิ้ล ฟอร์ทจะเป็นแบบเม็ดละ 1.5 มิลลิกรัม เม็ดเดียว ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ จะเป็นแบบเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม 2 เม็ด ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนก็สามารถรับประทานครั้งเดียวทั้งกล่องได้เหมือนกันค่ะ

งั้นเอายี่ห้อไหนก็ได้ค่ะ

ได้ค่ะ (...เอื้อมมือหยิบยา...)

เอา 3 กล่องเลยค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

(...อึ้งไป 3 วินาที...) ใช้แค่ครั้งละ 1 กล่องเองนะคะ

อ๋อ... ทราบค่ะ แต่ช่วงวันหยุดยาวที่แฟนกลับมาบ้าน อาจมีอะไรกันหลายวันน่ะค่ะ

(...กรีดร้องว่าปวดหัวหนักมากอยู่ในใจ...)

 

 

ยาคุมฉุกเฉิน หมายถึง... ยาคุมกำเนิด+ใช้กรณีฉุกเฉิน ...นะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

            กรณีที่จัดว่า ‘ฉุกเฉิน’ ได้แก่...

  1. การเกิดความผิดพลาดจากวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ เช่น...
  • ถุงยางฉีกขาด ลื่นหลุด หรือใส่ไม่ถูกต้อง
  • เริ่มแผงต่อไปช้ากว่าปกติ หรือลืมรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วันขึ้นไป (ขึ้นกับปริมาณเอสโตรเจนต่อเม็ด / ช่วงเวลาในรอบเดือนของวันที่ลืมรับประทานยา)
  • รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนล่าช้า (มากกว่า 3 ชั่วโมงกรณีใช้ Exluton / Dailyton และ มากกว่า 12 ชั่วโมงกรณีใช้ Cerazette)
  • ไม่ได้ฉีดยาคุมกำเนิดตรงตามวันนัด (มากกว่า 1-4 สัปดาห์ ...ระยะเวลาขึ้นกับชนิดของยาคุม)
  • ความผิดพลาดจากวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ ที่ใช้อยู่
  1. การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้วางแผนหรือป้องกันการตั้งครรภ์ไว้ เช่น ถูกข่มขืน

 

                กรณีที่คาดหวัง เอ๊ย! คาดการณ์ไว้ก่อนแล้วว่ามีโอกาสสูงที่จะมีเพศสัมพันธ์โดยยินยอมพร้อมใจ (หรืออาจมีปัดป้องบ้างพอเป็นพิธี ฮ่า...)  แต่เป็นโอกาสที่เกิดไม่บ่อยครั้ง ...หรือบ่อยครั้งแต่ไม่ต้องการใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ เลยตัดสินใจจะป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย ‘ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน’ แทนนั้น ดิฉันอยากจะบอกเหลือเกินว่า...

                “คิดผิด! ...คิดใหม่ได้นะจ๊ะ

 

                ทำไมน่ะเหรอ?

                ...ก็เพราะยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการคุมกำเนิดอย่างถูกต้องวิธีอื่น ๆ น่ะสิคะ เพราะฉะนั้น หากนำยาคุมฉุกเฉินมาใช้เป็นประจำก็มีโอกาสท้องได้มากกว่านะคะ

                เลือก “วิธีคุมกำเนิดชั่วคราว” ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ให้เหมาะสมกับความต้องการดีกว่าค่ะ เช่น...

  • ถ้ามีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อย ให้คุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย
  • แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์บ่อย ก็เลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบแผงรายเดือน
  • แล้วถ้ามีเพศสัมพันธ์บ่อย แต่ขี้เกียจกินยาทุกวันล่ะ? ก็ใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด, วงแหวนคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด หรือห่วงอนามัยก็ได้ค่ะ โอ๊ย... ช่างมีมากมายหลายหลากวิธีให้เลือกสรร (ฮ่า...)

 

ใช้การหลั่งนอกดีมั้ยคะ

ในกรณีที่ควบคุมการหลั่งนอกได้อย่างสมบูรณ์แบบ ก็ยังมีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีที่แนะนำไปข้างต้นเลยค่ะ  แล้วคนทั่วไปน่าจะควบคุมการหลั่งไม่ได้ในระดับสมบูรณ์แบบหรอกนะคะ นั่นหมายถึงว่าอาจจะมีการปล่อยอสุจิออกมาแตะขอบฟ้า เอ๊ย! แหวกว่ายอยู่ภายในช่องคลอดบ้างไม่มากก็น้อย จึงมีความเสี่ยงที่จะท้องได้สูงเลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้น ไม่แนะนำให้คุมกำเนิดด้วยวิธีหลั่งนอกนะคะ

อ๋อ... เข้าใจแล้วค่ะ ถ้างั้นเปลี่ยนเป็นเอายาคุมฉุกเฉินแค่กล่องเดียว เผื่อไว้กรณีถุงยางแตก แล้วเพิ่มถุงยางอนามัยซัก 3 กล่องแทนนะคะ

ได้เลยค่า

 

 

                สำหรับผู้ที่สนใจหรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน สามารถอ่านสาระน่ารู้เพิ่มเติมที่บทความ “รู้ไว้ ก่อนใช้ยาคุมฉุกเฉิน” ได้นะคะ


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Emergency Contraception and The Morning After Pill. Drugs.com. (https://www.drugs.com/article/emergency-contraceptive-pill.html)
Emergency Contraception Side Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/health/emergency-contraception/possible-side-effects)
Emergency contraception. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป