เมื่อไรที่ควรใช้วิธีประคบเย็น?

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อไรที่ควรใช้วิธีประคบเย็น?

การประคบเย็น คือ การนำวัตถุที่เย็นอย่างก้อนน้ำแข็ง Ice pack หรือผ้าชุบน้ำมาประคบที่ร่างกาย หากใช้อย่างถูกต้อง มันก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด บวม หรือช่วยให้ไข้ลด ซึ่งเราสามารถพบอุปกรณ์ที่ใช้ประคบเย็นได้ในหลายรูปแบบ โดยประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่ทั่วไป หรือการทำอุปกรณ์ประคบเย็นด้วยตัวเอง ทั้งนี้การประคบเย็นสามารถช่วยรักษาการบาดเจ็บที่เกิดเพียงเล็กน้อย อาการตัวร้อน อาการปวดศีรษะ อาการปวดตา หรืออาการแพ้ อย่างไรก็ตาม การประคบแต่ละประเภทนั้นจะเหมาะกับประเภทของการบาดเจ็บแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ถุงน้ำแข็งอาจไม่เหมาะสำหรับนำมาประคบที่ดวงตา ในขณะที่ผ้าเย็นอาจไม่ได้ช่วยให้การบาดเจ็บที่รุนแรงบรรเทาลง เป็นต้น

ประโยชน์ของการประคบเย็น

การประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บจะช่วยขัดขวางไม่ให้เลือดไหลไปยังบริเวณดังกล่าว ซึ่งสามารถลดอาการปวดและบวม ทำให้เลือดไหลช้าลงหรือหยุดไหล ลดการอักเสบ ป้องกันหรือจำกัดการเกิดรอยฟกช้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีทำอุปกรณ์ประคบเย็น

คุณสามารถซื้ออุปกรณ์ประคบเย็นได้ตามร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไป หรือคุณจะทำเองที่บ้านก็ได้ โดยใช้น้ำแข็งเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งน้ำแข็งถือเป็นวัตถุดิบที่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด อย่างไรก็ดี คุณสามารถทำ โดยนำถุงที่สะอาดและปิดได้มาใส่น้ำแข็งหรือผักแช่แข็ง จากนั้นให้ใช้ผ้าบางๆ ห่อถุงก่อนนำไปประคบบริเวณที่บาดเจ็บ หรือหากคุณใช้ผ้าแช่เย็นประคบ ให้คุณนำผ้าไปจุ่มน้ำให้ชุ่มและบิดผ้า แล้วให้นำไปใส่ในถุงก่อนนำไปแช่จนแข็ง เมื่อถึงเวลาใช้ ให้คุณนำผ้ามาห่อถุงก่อนนำไปใช้ประคบ

วิธีประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะหรือเป็นไข้

โดยมากแล้วเราไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแข็งประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ เพียงแค่คุณใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าสักหลาดที่ชุบน้ำหมาดๆ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ซึ่งเราสามารถนำมาพันได้รอบศีรษะหรือบริเวณที่ปวด อย่างไรก็ดี คุณสามารถประคบเย็นโดย

    1. เลือกใช้ผ้าขนหนูที่คลุมได้ทั้งศีรษะ
    2. นำผ้าไปจุ่มในน้ำเย็นและบิดให้แห้งหมาดๆ
    3. นำผ้าไปแช่ตู้เย็นและนำมาพันที่ศีรษะ

    อย่างไรก็ดี การประคบชนิดนี้สามารถช่วยลดไข้ได้เช่นกัน โดยให้คุณนำผ้ามากดที่ศีรษะ คอ หรือหน้าอก แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น คุณอาจต้องไปพบแพทย์ค่ะ

    วิธีใช้อื่นๆ

    การประคบเย็นสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น อาการแพ้ที่เกิดขึ้นกับดวงตา โรคริดสีดวงทวาร โรคเกาท์ กล้ามเนื้อตึง ฯลฯ

    ความเสี่ยง        

    การประคบเย็นเป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่มีบางโรคอย่างโรคข้ออักเสบจะตอบสนองต่อความร้อนได้ดีกว่า โดยทั่วไปแล้ว การบาดเจ็บที่คงอยู่เป็นเวลานานมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากการประคบร้อนมากกว่า อย่างไรก็ดี คุณสามารถจำกัดความเสี่ยงที่เกิดขณะประคบเย็นโดย

    • ไม่นำน้ำแข็งมาวางที่ผิวโดยตรง
    • ไม่ใช้วิธีประคบเย็นกับการบาดเจ็บที่รุนแรง
    • ไม่วางน้ำแข็งที่ผิวเป็นเวลานาน เพราะมันสามารถทำให้ผิวหรือเนื้อเยื่อถูกทำลายด้วยความเย็นจัด

    การประคบเย็นถือเป็นวิธีบรรเทาปัญหาสุขภาพต่างๆ เบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่าย และใครๆ ก็สามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่หากการประคบเย็นไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น หรือในกรณีที่การบาดเจ็บอยู่ในขั้นรุนแรง คุณก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ

    ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


    2 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    medicalnewstoday.com, Cold compress (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321950.php), May 29, 2018
    healthline.com, Cold compress (https://www.healthline.com/health/make-cold-compress), February 22, 2017

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    บทความต่อไป